พันธกิจและขอบเขต

  คลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย เป็นคลังข้อมูลที่จัดเก็บและรวบรวมผลงานงานวิจัยและองค์ความรู้ด้านการเกษตร ในรูปแบบดิจิทัลตามมาตรฐานสากล ที่ได้รับการอนุญาตสิทธิ์ในการเผยแพร่จากเจ้าของผลงาน สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้บริการข้อมูลความรู้งานวิจัยแบบ ณ จุดเดียว หรือ Single window ในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ด้านการเกษตรแบบเชื่อมโยง สำหรับนำไปสู่การผลิตการเกษตรบนพื้นฐานความรู้ การพัฒนานวัตกรรม และวิจัยต่อยอด ตลอดจนนำองค์ความรู้ไปพัฒนาธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และยกระดับรายได้ของเกษตรกรด้วยการทำเกษตรบนความรู้และข้อมูลข่าวสาร

 

ความเป็นมา

  คลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย หรือระบบ TARR (Thailand Agricultural Research Repository) อยู่ภายใต้โครงการ “การพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศ” ได้ดำเนินการตาม พรฎ. จัดตั้ง สวก. ที่กำหนดให้ สวก. “เป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลและสารสนเทศในด้านการเกษตร ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนา ตลอดจนการเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ” รวมทั้งในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานวิจัยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 มีมติมอบให้ สวก. เป็นแกนหลักในการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยด้านการเกษตร และเชื่อมโยงระบบเบื้องต้นเกี่ยวกับบทคัดย่อ (Abstract)

  การพัฒนาคลังข้อมูลงานวิจัยการเกษตรไทย เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา เป็นงานความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำความตกลงและลงนามความร่วมมือในการพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัลร่วมกัน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560 ในการพัฒนา นำเข้า ข้อมูลงานวิจัยตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยการเกษตรและที่เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศ

 

วัตถุประสงค์

  - เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของการบริหารจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้การเกษตรทั้งในกรม กอง ต่างๆ ภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) เครือข่ายสารสนเทศการเกษตร ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ คลังความรู้ดิจิทัลด้านการเกษตร เป็นต้น

  - เพื่อวิเคราะห์ความต้องการในการบูรณาการข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์ ในแต่ละกลุ่มผู้ใช้งานได้แก่ นักวิจัย ผู้ประกอบการ เกษตรกร และนักวิชาการ ตลอดจน ผู้บริหารซึ่งมีการนำไปใช้ในลักษณะที่ต่างกัน

  - เพื่อออกแบบ Metadata โครงสร้างข้อมูลฐานความรู้ และสถาปัตยกรรมระบบ เพื่อบริหารจัดเก็บข้อมูลความรู้ที่สามารถนำไปสู่การบูรณาการ โดยคำนึงถึงมาตรฐาน เพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจน ฐานข้อมูลอื่นที่มีข้อตกลงร่วมกันในการเชื่อมโยง

  - เพื่อพัฒนาแพล็ตฟอร์มสำหรับการเป็นศูนย์กลางข้อมูลการวิจัย และเครื่องมือบริหารจัดการความรู้ นับตั้งแต่ นำเข้า จัดกลุ่มความรู้ เชื่อมโยง และสืบค้น สำหรับนำความรู้มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจต่อยอด และให้บริการความรู้ด้านการเกษตรและที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่ม

 

เป้าหมาย/ผลที่ได้รับ

  - ได้ระบบศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศ ที่ประกอบด้วย ข้อมูลกำกับความรู้ที่เหมาะสมกับชนิดหรือประเภทความรู้ และเพียงพอต่อการนำไปใช้งาน โดยมีการบูรณาการข้อมูลความรู้ที่มีอยู่เดิม และที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงาน/สถาบันที่มีข้อตกลงความร่วมมือ

  - ได้ระบบบริการความรู้ เพื่อให้บริการข้อมูลด้านการวิจัยและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย search engine หรือระบบสืบค้น ที่ยืดหยุ่นต่อผู้ใช้ที่แตกต่างกัน นับตั้งแต่ ผู้บริหาร นักวิจัย ผู้ให้บริการความรู้ และผู้ใช้ทั่วไป และระบบแสดงผลงานวิจัยในรูปแบบที่สามารถนำไปประกอบ การตัดสินใจ

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

ระดับประเทศ

  - เป็นศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศ หรือ Hub ในการเข้าถึงความรู้ด้านการเกษตรทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

  - มีแหล่งข้อมูลความรู้ ที่สามารถนำไปพัฒนาวิเคราะห์ในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศบนพื้นฐาน ด้วยข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลสิทธิบัตร ข้อมูลนักวิจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ระดับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  - สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาด้านการเกษตรขององค์กร

  - เป็น Research Portfolio ให้กับนักวิจัยของกระทรวง และเครือข่าย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นเส้นทางการพัฒนาของนักวิชาการ

  - กระทรวงฯ สามารถทราบทิศทางการวิจัยด้านการเกษตร เพื่อนำไปสู่การส่งเสริม พัฒนาด้านการผลิต ต่อยอด และให้บริการทั้งผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาธุรกิจ และเกษตรกร

  - ลดความซ้ำซ้อนและต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูลด้านการเกษตร โดยร่วมมือกับเครือข่ายที่ผลิต องค์ความรู้ด้านการเกษตร

ระดับบุคคล

  - เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ที่สามารถเข้าถึงและง่ายต่อการติดตามความรู้แบบจุดเดียว

 เกษตรกร : สามารถพัฒนาการผลิต บนพื้นฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง สามารถติดตามองค์ความรู้ใหม่ นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต รับมือการการเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด

นักวิชาการและนักวิจัย : สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้วิจัย เพื่อนำไปพัฒนาการวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

ผู้ประกอบการขนาดย่อยและขนาดกลาง : สามารถเข้าถึงความรู้ งานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจ นับตั้งแต่การแปรรูป ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูป เป็นต้น

 

โครงสร้างการดำเนินงาน

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับการมอบหมายจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ให้มีภารกิจในการรวบรวมและจัดทำคลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย ประกอบด้วยงานต่าง ๆ 4 งาน ได้แก่

1. งานวิจัย พัฒนา ข้อมูล และสารสนเทศด้านการเกษตร

ทำหน้าที่ พัฒนาโปรแกรม เพื่อใช้ในการบริหารทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน

2. งานเผยแพร่และจัดการความรู้ด้านการเกษตร

ทำหน้าที่ จัดทำฐานข้อมูล บริหารจัดการ ส่งเสริมการใช้และเผยแพร่ข้อมูลคลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย

3. งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทำหน้าที่ พัฒนา บำรุงรักษา และดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบคลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย

4. งานบริหารทั่วไป

ทำหน้าที่ กำกับ ติดตาม และประสานฝ่ายต่าง ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมงานโครงการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ

 

รวบรวมและเผยแพร่ผลงานโดย

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ 0-2579-7435 โทรสาร 0-2579-7235
อีเมล tarr@arda.or.th

Mission

  Thailand Agricultural Research Repository (TARR) is a digital repository organization providing agricultural research knowledge and related information by international standards. All publications have been granted license for data reuse by the owner. Users have access to the database from anywhere at any time, free of charge. The repository acts as the ‘single-window’ service access point for research-based networks in agriculture. The aims are to promote knowledge-based agricultural activities, innovations and further research projects; to strengthen the economic potentials through development of strong allied networks and agriculture information exchange.

 

Background

  Thailand Agricultural Research Repository (TARR) works under “the national agricultural research information center” development project of the Agricultural Research Development Agency (Public Organization). Under the royal decree for the Agency establishment, the office should act as “a center of agricultural information services which supports research and development and promotes networking among educational institutions within the country and abroad.” Furthermore, during the general meeting of the research panel of the Ministry of Agriculture and Cooperatives on 15th June 2016, the Agency shall be the core organization compiling the agricultural researches and collecting links to the research abstracts.

  The Ministry of Agriculture and Cooperatives, through collaborative agreements and partnership with the external organizations, initiated the development project for Thailand agricultural research repository in 2013. They agreed on 8th March 2017 to co-create a digital repository. They cooperated in collecting and gathering research papers from related organizations, storing them within the same database, and connecting relevant agricultural research to its system for the purpose of a national research information center.

 

Objectives

  - To examine the current trend of knowledge administration within the work units of the Ministry of Agriculture and Cooperatives and related organizations such as, Thailand National Research Repository (TNRR), the agricultural information networks from Thailand and abroad, and the digital agricultural repositories, etcetera.

  - To analyze the demand for data integration and the specific needs of various users, such as researchers, entrepreneurs, farmers, scholars and relevant industry leaders.

  - To describe the suitable metadata for an integrated knowledge management structure and system architecture by adopting appropriate standards to connect with various research databases within the country and abroad, including other partnering databases.

  - To develop a central platform for research information and knowledge management; from the point of submission, collection, connection and searching of the information; for benefits of economic development and agricultural information service for all groups of users.

 

Goals / Achievements

  - To establish a national agricultural research information center which is equipped with intuitive and appropriate labels of knowledge type. The Ministry of Agriculture and Cooperatives with partner organizations and institutions work to integrate the existing information with the emerging research knowledge and academic findings that are related to Thailand’s agriculture.

  - To build a research knowledge database and related information service system with flexible search engine to cater various user needs - from executives, researchers, educators and general users. The search result interface should help with user’s decision making.

 

Expected Gains

National Benefits

  - To have a national research information center or a Knowledge Hub to pave access to agricultural research knowledge in Thailand and abroad.

  - To have a reference knowledge source that can be used in national economic developments through research papers, patents, researchers directory, and other related information.

Ministry Benefits

  - To manage the agricultural intellectual properties that belong to the Ministry.

  - To collect research portfolios of the Ministry’s researchers and their networks for the purpose of academic development.

  - To forecast the agricultural research trends which could lead to the promotion of production development for both farmers and business entrepreneurs.

  - To minimize complications and costs in agricultural data collection by collaborating with the agriculture knowledge networks.

Personal Benefits

  - To refer only to the single point of knowledge and information.

Farmers can develop agricultural productions based on the proven knowledge and news information. With constant updates, they can mitigate the costs of production and the risks of market change.

Researchers and Scholars can access the most updated research resource in order for their further study to reflect the real needs and trends of the country.

Medium-scaled Business Owners and Entrepreneur can access the knowledge and research papers that may be referenced for the business development, such as, processing methods or processing experts, etc.

 

Operational Structure

  The Office of Information Technology has been assigned by the Agricultural Research Development Agency (Public Organization) for the mission to compile, collect and create a national agricultural research repository. There are four operation departments within Thailand Agricultural Research Repository (TARR) including as follows.

1. A department of agricultural research and information development

Duty: To develop softwares for internal and external utilities.

2. A department of agricultural knowledge management and dissemination

Duty: To create and manage database, and promote the use of Thailand Agricultural Research Repository

3. A department of information technology system development

Duty: To develop and maintain system security of Thailand Agricultural Research Repository

4. A department of general administration

Duty: To keep track and follow up the correspondence across departments in order to ensure timely operation.

 

Compilate and disseminate by

The Office of Information Technology, Agricultural Research Development Agency (Public Organization)
2003/61 Paholyothin Rd., Ladyao, Chatujak, Bangkok, Thailand 10900
Tel : +66-2579-7435 Fax : +66-2579-7235
Email: tarr@arda.or.th