สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์, แจ่มจันทร์ เพชรศิริ - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic variation of Clarias nieuhofii using Random Amplified Polymorphic DNA(RAPD) Technique
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปลาดุกลำพันถูกจัดเป็นปลาที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ การลดลงของจำนวนปลาดุกลำพันอาจ มีผลทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีผลต่อความอยู่รอด การศึกษาครั้งนี้ จึงศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันจากธรรมชาติ จำนวน 3 ประชากรคือ สุราษฏร์ธานี (SU) นราธิวาส (NA) และพัทลุง (PT) รวมทั้งหมด 149 ตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี คัดเลือกไพรเมอร์ซึ่งมีขนาด 10 นิวคลีโอไทด์ จำนวน 14 ไพรเมอร์ คือ AA 03, AA 10, AA 17, AA 18, AA 19, AB 07, AB 09, AB 14, AB 18, AC 03, AC 04, OPC 05, OPC 06 และ OPE 11 ผลการศึกษาพบรูปแบบของแถบดีเอ็นเอเหมือนเดิมเมื่อทำซ้ำ จำนวน 105 ตำแหน่ง ซึ่งมีขนาดอยู่ในช่วง 400-3000 คู่เบส เปอร์เซ็นต์โพลิมอร์ฟิค และค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (H) จากทุกประชากรมีค่าเท่ากับ 98.10% และ 0.3171?0.1533 ตามลำดับ ประชากรพัทลุง มีเปอร์เซ็นต์โพลิมอร์ฟิค (96.25%) และความหลากหลายทางพันธุกรรม 0.3371?0.1450) สูงที่สุด ประชากรสุราษฏร์ธานี มีเปอร์เซ็นต์โพลิมอร์ฟิค (75%) และความหลากหลายทางพันธุกรรม (0.2252?0.1925) ต่ำที่สุด ระยะห่างทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันทั้ง 3 ประชากร มีค่าอยู่ระหว่าง 0.1381 – 0.2213 ประชากรสุราษฏร์ธานี กับประชากรนราธิวาส มีระยะห่างทางพันธุกรรมมากที่สุด (0.2213) รองลงมาคือ ประชากรสุราษฏร์ธานี กับประชากรพัทลุง (0.2063) ส่วนประชากรนราธิวาส กับประชากรพัทลุง มีระยะห่างทางพันธุกรรมน้อยที่สุด (0.1381) ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์ปลาดุกลำพัน เพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ และเพื่อรักษาพันธุกรรมของ ปลาดุกลำพันในแหล่งน้ำธรรมชาติมิให้สูญเสียลักษณะทางพันธุกรรมต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Clarias nieuhofii has been recently identified as vulnerable to extinction. Little is known about the population genetics of Clarias nieuhofii. Genetic diversity of the Clarias nieuhofii from Surattanee (SU), Narathiwat (NA) and Phatthalung (PT) was studied based on Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) analysis. One hundred and five RAPD fragments were generated from 149 individuals of Clarias nieuhofii using AA 03, AA 10, AA 17, AA 18, AA 19, AB 07, AB 09, AB 14, AB 18, AC 03, AC 04, OPC 05, OPC 06 and OPE 11 primers. The percentage of polymorphic (%P)and genetic diversity (H) across the overall samples were 98.10% and 0.3171?0.1533 respectively. The population from Phatthalung showed the highest percentage of polymorphic (96.25%) and genetic diversity (0.3371?0.1450), whereas the population from Surattanee had the lowest percentage of polymorphic (75%) and genetic diversity (0.2252?0.1925). The mean genetic distance between samples across all primers was 0.1381 – 0.2213. The UPGMA dendogram indicated that the Phatthalung population closely related to the Narathiwat population. This information would be useful for genetic improvement and sustainable management of Clarias nieuhofii.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2552
การจำแนกความหลากหลายทางพันธุกรรมในข้าวโพดข้าวเหนียวโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานและเครื่องหมายอาร์เอพีดี การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของทานตะวันโดยเครื่องหมายโมเลกุลชนิดเอสเอสอาร์และอาร์เอพีดี ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุล Diospyros ในภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะม่วงหิมพานต์ ในภาคใต้ ด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลเทียม และเครื่องหมายอาร์เอพีดี การจำแนกพันธุ์สบู่ดำโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคไอดีอาร์เอพีดี การจำแนกกล้วยไม้ไทยสกุลหวายโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมของประชากรปลาโมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การตรวจสอบพันธุ์และความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวโดยใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก