สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการตรึงเซลล์ในการแยกสาหร่ายขนาดเล็กในระหว่างการเพาะเลี้ยงเพื่อการสะสมน้ำมันและการผลิตไบโอดีเซล
ผกาวดี แก้วกันเนตร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการตรึงเซลล์ในการแยกสาหร่ายขนาดเล็กในระหว่างการเพาะเลี้ยงเพื่อการสะสมน้ำมันและการผลิตไบโอดีเซล
ชื่อเรื่อง (EN): Use of cell immobilization technology in separation of microalgae during cultivation for oil accumulation and biodiesel production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผกาวดี แก้วกันเนตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pakawadee Keawkannetra
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สามารถ มูลอามาตย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Samart Mool-armart
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็ก (Scenedesmus obliguus TSITR 8522) ภายใต้ภายใต้สภาวะแบบมิกโชโทรฟิค (Mixotrophic cultivation: MC) โดยใช้เทคนิค การตรึงเซลล์ เพื่อชักนำให้มีการสะสมไขมันไว้ภายนเชลล์และเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล โดยทำการ เพาะเลี้ยงในอาหาร BG11 (Blue Green Medium) โดยให้แสงที่ความเข้มแสง 3000 ลักซ์ เป็นเวลา 18 ชั่วโมง และไม่ให้แสง 6 ชั่วโมง โดยใช้น้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 30 รัมต่อลิตร เป็นแหล่งอินทรีย์คาร์บอน โดยแบ่ง การทดลองออกเป็น 3 สภาวะ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายแบบเซลล์อิสระ แบบตรีงเซลล์อย่างเดียวและแบบ ตรีงเชลล์ร่วมกับน้ำตาล พบว่าสาหร่ายมีการเจริญสูงสุดในวันที่ 7, 5 และ 4 โดยให้จำนวนเซลล์สูงสุดเท่ากับ 5.86 x 10 , 3.84 x 10 และ 4.59 x 10 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และมีน้ำหนักแท้งสูงสุดเท่ากับ 0.075, 0.064 และ 0.067 กรัมเชลล์ต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเจริญจำเพาะสูงสุด 0.82, 0.59 และ 0.66 ต่อวัน ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบภายในเชลล์สาหร่ายภายหลังจากการอบแห้ง พบว่าเมื่อทำ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายแบบเชลล์อิสระ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายแบบตรึงเซลล์อย่างเดียวและการเพาะเลี้ยงสาหร่าย แบบตรีงเซลล์ร่วมกับน้ำตาล สาหร่ายมีปริมาณโปรตีนเท่ากับ 52.50%, 48.05%, 42.32% มีปริมาณ คาร์โบไฮเดรตเท่ากับ 21.33%, 23.39%, 27.54% มีปริมาณเถ้าเท่ากับ 3.87%, 6.10%, 5.80% มีปริมาณ ความชื้นเท่ากับ 0.35%, 0.47%, 0.53%, และมีปริมาณน้ำมัน 23.219%6, 16.70%, 21.16% ตามลำดับ ซึ่ง งานวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่าสภาวะการเพาะเลี้ยงสาหร่ายแบบเชลล์อิสระ ภายใต้สภาวะการเพาะเลี้ยงแบบมิกโซโทร พิคจะทำให้สาหร่ายมีการเจริญและมีการสะสมน้ำมันได้เพิ่มมากขึ้นและความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตไบโอดีเซลต่อไป ในขณะที่การตรึงเชลล์สาหร่ายในระหว่างการเพาะเลี้ยงนั้น จะมีส่วนช่วยให้ กระบวนการเก็บเกี่ยวภายหลังจากการเพาะเลี้ยงสาหร่ายดีขึ้นเท่านั้นแต่ผลได้ทั้งในแง่ของปริมาณซลล์และ น้ำมันที่สะสมอยู่จะน้อยกว่าวิธีการเพาะเลี้ยงแบบเซลล์อิสระ
บทคัดย่อ (EN): This research work aims to study the cultivation of microalga, Scenedesmus obliguus TSITR 8522 under mixotrophic cultivation (MC) by using cell immobilization technique for inducing the accumulation of lipid in its cell and to be used as raw material for biodiesel production. The cultivations were performed in Blue Green 11 Medium (BG11) by supplying light intensity at 3,000 lux and dark-light duration at 6 hr: 18 hr. Sucrose concentration at 30 g/l was used as carbon source. The cultivations were separated into 3 conditions as free cell, immobilized cell and immobilized cell with sugar. The results were revealed that the alga showed maximum growth rate at days 7, 5 and 4. The maximum cells were achieved at 5.86 x 106 , 3.84 x 106 and 4.59 x 106 cell/ml and equivalent to the dry cell mass at 0.075, 0.064 and 0.067 gram cell/ml, respectively. The maximum specific growth rates were achieved at 0.82, 0.59 and 0.66 per day, respectively. When the composition of intracellular algal cells was characterized after drying, It was found that the cultivation conditions of free cell, immobilized cell and immobilized cell with sugar showed in different compositions contents such as protein contents (52.50%, 48.05%, 42.32%) carbohydrate contents (21.33%, 23.39%, 27.54%) Ash contents (3.87%, 6.10%, 5.80%) moisture content (0.35%, 0.47%, and 0.53%) and oil contents at 23.21%, 16.70%, 21.16%, respectively. It can be concluded that the cultivation of free cell under MC resulted in maximum growth and oil accumulation. It was suitable to cultivate for increasing algal biomass and further using as raw material for biodiesel production. Meanwhile, the both conditions of immobilized cell and immobilized cell with sugar during cultivations could be only a feasible to simplify the separation step of algal biomass recovery from water.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 250,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการตรึงเซลล์ในการแยกสาหร่ายขนาดเล็กในระหว่างการเพาะเลี้ยงเพื่อการสะสมน้ำมันและการผลิตไบโอดีเซล
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2558
การศึกษาศักยภาพของสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อการผลิตไบโอดีเซล การเพาะเลี้ยงและการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลที่ยั่งยืน การศึกษาการเจริญและการสะสมน้ำมันของสาหร่ายขนาดเล็กที่คัดแยกได้จากแหล่งน้ำจืดและทะเลสาบในภาคใต้ของประเทศไทยและการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงในน้ำทิ้งจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อการผลิตไบโอดีเซ ศึกษาการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายท้องถิ่นในแหล่งน้ำ จังหวัดสกลนคร การผลิต 1, 3-propanediol โดยกระบวนการตรึงเซลล์จากกลีเซอรอล ที่เป็นผลพลอยได้ของการผลิตไบโอดีเซล การใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายขนาดเล็ก การเพาะเลี้ยงกบจาน การศึกษาเพื่อผลิตสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทน โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว การเพิ่มผลผลิตไขมันในสาหร่ายน้ำมัน Botryococcus braunii KMITL2 และ Scenedesmus dimorphus KMITL โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการเพาะเลี้ยง เพื่อผลิตไบโอดีเซล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก