สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินชุดบ้านจ้อง (กลุ่มชุดดินที่ 29) เพื่อเพิ่มผลผลิตขิง ในพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
ศรัญณุพงศ์ ชัยวัฒนกุล - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินชุดบ้านจ้อง (กลุ่มชุดดินที่ 29) เพื่อเพิ่มผลผลิตขิง ในพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): The management of Ban Chong series (soil series group No.29) for increases ginger yield at Mae Suai district Chaing rai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรัญณุพงศ์ ชัยวัฒนกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลการศึกษาการการจัดการชุดดินหางดง (กลุ่มชุดดินที่ 5) เพื่อเพิ่มผลผลิตขิง บนพื้นที่ลุ่ม ในฤดูปลูกปี 2551 และการจัดการชุดดินบ้านจ้อง (กลุ่มชุดดินที่ 29) เพื่อเพิ่มผลผลิตขิง บนพื้นที่ดอน ในฤดูปลูกปี 2552, 2553 ดำเนินการที่บ้านโล๊ะ ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของดินก่อนและ หลังการทดลอง เพื่อศึกษาวิธีการจัดการดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของขิง และ เพื่อศึกษาวิธีการจัดการดินเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคเหี่ยวของขิงกับวิธีการป้องกันกำจัดโรคขิง โดยใช้สารเคมี วางแผนการทดลอง แบบ Randomized Complete Block Design มี 6 วิธีการ จำนวน 3 ซ้ำ วิธีการประกอบด้วย 1) วิธีเกษตรกร ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคชิง แบบเกษตรกร + ปุ๋ยเคมีเกรด 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่และ 13-13-21 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ 2) ใช้พด.3+ สารเคมีป้องกันกำจัดโรคชิงแบบเกษตรกร +ปุ้ยหมัก 1 ตันต่อไร่ 3) ใช้พด.3+สารเคมีป้องกันกำจัดโรค ขิงแบบเกษตรกร+ปุยหมัก 2 ตันต่อไร่ 4) ใช้พด.3+ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคชิง แบบเกษตรกร+ปุ้ย หมัก 1 ตันต่อไร่ + ปูน 5) ใช้พด.3+สารเคมีป้องกันกำจัดโรคชิง แบบเกษตรกร แต่ลดปริมาณการใช้ลง 50 เปอร์เซ็นต์+ปุยหมัก 1 ตันต่อไร่ +ปูนโดโล่ไมท์ 300 กิโลกรัมต่อไร่ :) ใช้พด.3 +สารเคมีป้องกัน กำจัดโรคขิงแบบเกษตรกรแต่ลดปริมาณการใช้ลง 50 เปอร์เซ็นต์ +ปุ้ยหมัก 2 ตันต่อไร่ +ปูนโดโลไมท์ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองการปลูกขิงบนพื้นที่นา ชุดดินหางดง (กลุ่มชุดดินที่ 5) ฤดูปลูกปี 2551 พบว่า การใช้จุลินทรีย์ป้องกันเชื้อสาเหตุรคพืช (พด.3) และสารเคมีป้องกันกำจัดโรคขิง แบบเกษตรกร หรือ ลดปริมาณการใช้ลง 50 เปอร์เซ็นต์ ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปูนโดโลไมท์ 300 กิโลกรัม ต่อไร่ การเจริญเติบโตของชิง ในด้านความสูงของลำต้นขิงไม่แต กต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลำต้นขิงมีความสูงของระหว่าง 65.55-68.40 เชนติเมตร และมีความสูงของลำต้นขิงใกล้เคียงกับวิธี ของเกษตรกร (64.96 เซนติเมตร) ในด้านผลผลิตขิงอ่อนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ให้ ผลผลิตชิงอ่อนระหว่าง 745-1,276 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลผลิตขิงอ่อนใกล้เคียงกับวิธีของเกษตรกร (1,064 กิโลกรัมต่อไร่ ) ขิงเริ่มเกิดโรค เหี่ยวในระยะที่ฝนเริ่มหนาแน่น จนถึงระยะเก็บเกี่ยวมีขิงที่ เสียหายจากโรคเหี่ยวถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขิงได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองการปลูกขิงบนพื้นที่ดอน ชุดดินบ้านจ้อง (กลุ่มชุดดินที่ 29) ฤดูปลูกปี 2552 และ 2553 ผลการทดลองพบว่า การใช้จุลินทรีย์ป้องกันเชื้อสาเหตุโรคพืช (พด.3) ร่วมกับสารเคมี ป้องกันกำจัดโรคชิงแบบเกษตรกร หรือลดปริมาณการใช้ลง 50 เปอร์เซ็นต์ ใส่ปุ้ยหมักอัตรา 1-2 ตัน ต่อไร่ และใส่ปูนโดโลไมท์ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านสมบัติทางเคมีของดิน ทำให้ค่าความเป็นกรดเป็น ด่างของดินมีค่าเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ มีค่าเพิ่มสูงขึ้น และปริมาณปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้มีค่าเพิ่มสูงขึ้น และสูงกว่าวิธีเกษตรกรอย่าง มีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ด้านกายภาพของดินทำให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลงและมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับวิธีเกษตรกร ในด้านความสูงของลำต้นชิงเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (67.57-71.49 เชนติเมตร) และใกล้เคียงกับวิธีของเกษตรกร (74.42 เชนติเมตร มีจำนวนต้นต่อกอเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (9.95-11.38 ต้นต่อกอ) และใกล้เคีย งกับวิธีของเกษตรกร (11.43 ต้นต่อกอ) ผลผลิตขิงอ่อนเฉลี่ย ใกล้เคียงกัน (3,470-4,667 กิโลกรัมต่อไร่) และใกล้เคียงกับวิธีของเกษตรกร (4,709 กิโลกรัมต่อไร่) สรุปวิธีการจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับสำหรับการปลูกขิงกับชุดดินหางดง (กลุ่มชุดดินที่ 5) และชุดดินบ้านจ้อง (กลุ่มชุดดินที่ 29) เพื่อเพิ่มผลผลิตขิงคือ การจัดการดินโดยการใช้จุลินทรีย์ ป้องกันเชื้อสาเหตุโรคพืช (พด.3) ร่วมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคชิงแต่ลดปริมาณการใช้ ลง 50 เปอร์เซ็นต์ ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ และใส่ปูนโดโลไมท์ 300 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้ สมบัติ ทางเคมีและกายภาพของดินมีศักยภาพในการผลิตของดินสูงที่สุด ส่งผลให้ดินมีความเหมาะสมและ เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของขิง และ การใช้จุลินทรีย์ป้องกันเชื้อสาเหตุโรคพืช (พด.3) ร่วมกับการปรับปรุงบำรุงดินด้วย การใช้ปุยหมัก 1-2 ตันต่อไร่ สามารถลดระดับความรุนแรง ของการแพร่ระบาดของโรคเหี่ยวขิง ได้ดีกว่าวิธีกษตรกร และสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการด้าน การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตขิงอ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ (EN): The result to studied of soil management Hane Done Soil Series : Hd (Soil Series Group No.5) to increase einger yield on the lowland. the erowing season of 2008. And soil management of Ban Chong Soil Series : Be (Soil Series Group No.29) to increase ginger yield on the upland. During the ginger growing season of 2009 and 2010. was conducted at Ban Loa, Tambon Sansalee, Wiang Pa Pao District, Chiang Rai Province. For the study of chemical and physical properties of soil before and after experiment. The appropriate soil management practices on growth and yield of ginger. The appropriate soil management to reduce the spread of the compared disease with the method of protection and exterminate bacterial wilt of ginger using chemical. The experiment was Randomized Complete Block Design with 3 replications, there were 6 treatment. 1) farmer practice method using chemical of protection and eliminate of ginger disease.+ fertilizer grade 15-15-15 at 25 kg/rai and 13-13-21 at 20 ke:/rai. 2) The usine microbial activator LDD. 3 + chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer method + the rate compost of 1 ton per rai. 3) The using microbial activator LDD. 3 + chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer method + the rate compost of 2 ton/rai. 4) The using microbial activator LDD. 3 + chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer method + the rate compost of 1 ton/rai.+ the dolomite lime 300 Ke:rai. 5) The using microbial activator LDD. 3 + chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer method but a 50 percentage reduction + the rate compost of 1 ton/rai.+ the dolomite lime 300 Kg/rai. 6) The using microbial activator LDD. 3 + chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer method but a 50 percentage reduction +the rate compost of 1 ton/rai.+ the dolomite lime 300 Kg/rai. The results showed that growing ginger on lowland of Hang Dong Soil Series : Hd (Soil Series Group No.5) the ginger growing season of 2008. The using microbial activator LDD. 3 and and chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer method or a 50 percentage reduction + the rate compost of 1-2 ton/rai, according to the dolomite lime 300 kg/rai. The average height of the stem ginger similar (65.55-68.40 cm) and a height of stem ginger, comparable to the farmer practice method (64.96 cm), ginger average yield similar (745-1276 kg/rai.) and comparable to the farmer practice method (1,064 kg/rai) The results showed that growing ginger on Upland of Ban Chong Soil Series : Bg (Soil ASeries Group No.29) During the ginger growing season of 2009 and 2010. The using microbial activator LDD. 3 and and the chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer method but a 50 percentage reductiontthe rate compost of 1-2 ton/rai according to the dolomite lime 300 kg/rai. The chemical properties of soil. The pH of the soil pH is increased. Organic matter in soil is increased. Phosphorus in soil is increased. And the potassium extracted is increased. Higher than the farmers and were statistically significant. The physical properties of soil and bulk density decreased and the difference is statistically significant with the farmer practice method. The average height of the stem ginger similar (67.57-71.49 cm) and a height of stem ginger, comparable to the farmer practice method (74.42 cm), the average number of tiller per hill (9.95-11.38 tillers). and similar methods farmer practice method (11.43 tillers) ginger average yield similar (3,470 -4,667 ke/rai) and comparable to the farmer practice method (4709 kg/rai) The appropriate soil management practices on growth and yield to growing singer of Hang Dong Soil Series : Hd (Soil Series Group No.5) to increase ginger yield on the lowland. And soil management of Ban Chong Soil Series : Bg (Soil Series Group No.29) to increase ginger yield on the upland. The using microbial activator LDD. 3 and and chemical protection and eliminate of ginger disease of farmer practice method but a 50 percentage reduction + the rate compost of 2 ton/rai, according to the dolomite lime 300 kg/rai. Result in physical and chemical properties of soil has the potential to produce the highest Soil. As a result, the soil is suitable and adequate for the growth and yield of ginger. The using microbial activator LDD. 3 together with the improvemnent of soil by using in the rate of compost 2 tons/rai, The reduce the severity of outbreaks of bacterial wilt of ginger was superior to the farmer practice method . And can replace chemical fertilizers in the growth and yield of ginger can be effective.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินชุดบ้านจ้อง (กลุ่มชุดดินที่ 29) เพื่อเพิ่มผลผลิตขิง ในพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
กรมพัฒนาที่ดิน
31 ธันวาคม 2554
ผลของสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินชุดบ้านจ้อง ( กลุ่มชุดดินที่ 29 ) ต่อการแพร่ระบาดของโรคเหี่ยวของขิงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อมีการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงในพื้นที่ อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย การจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของมันสำปะหลังในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน จังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มชุดดินที่ 35) การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาผลการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงอย่างยั่งยืน (กลุ่มชุดดินที่ 29) จ.พะเยา การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงปลอดสารเคมีในกลุ่มชุดดินที่ 29 ศึกษาการจัดการดินที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตลองกองในกลุ่มชุดดินที่ 53 การศึกษาทดสอบการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินในการย่อยสลายตอซังเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินห้างฉัตร กลุ่มชุดดินที่ 29 การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน กับการจัดการดินในกลุ่มชุดดินที่ 51 ชุดดินระนองในเขตพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร ยุทธวิธีในการกำจัดการโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรียของขิง การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน กับการจัดการดินในกลุ่มชุดดินที่ 51 ชุดดิน ระนองเพื่อปลูกปาล์มในเขตพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก