สืบค้นงานวิจัย
คุณภาพซาก องค์ประกอบเคมี และค่าเสถียรภาพออกซิเดชั่นของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองของไทยกับไก่ไข่ ไก่พื้นเมืองไทย ไก่ไข่ และไก่กระทง
ชลธี แก้วคต - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: คุณภาพซาก องค์ประกอบเคมี และค่าเสถียรภาพออกซิเดชั่นของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองของไทยกับไก่ไข่ ไก่พื้นเมืองไทย ไก่ไข่ และไก่กระทง
ชื่อเรื่อง (EN): Carcass Quality, Chemical Composition, and Oxidative Stability of Meat of Crossbreds (Thai Indigenous Chickens Layer Breed), Thai Indigenous, Layer, and Broiler Chickens
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชลธี แก้วคต
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chonlathee Kaewkot
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผสมข้ามพันธุ์ของไก่พื้นเมืองไทยกับไก่พันธุ์ไข่เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อเมื่อเทียบกับชนิดไก่พันธุ์แท้และไก่เนื้อในเชิงพาณิชย์ ใช้ไก่อายุ 1 วันทั้งหมด 200 ตัว พันธุ์ละ 50 ตัว คือ พันธุ์พื้นเมืองไทย (PA) พันธุ์โรดไอแลนด์เรด (RR) พันธุ์ลูกผสม (CB = PA × RR) และไก่เนื้อ (Ross; BR) โดยแบ่งเป็น 20 คอก คอกละ 10 ตัว ไก่จะถูกฆ่าเมื่อมีอายุครบ 120 วัน (PA, CB และ RR) หรือ 45 วันสำหรับไก่เนื้อ (BR) น้ำหนักมีชีวิต น้ำหนักซากและปริมาณกล้ามเนื้ออกมีปริมาณสูงที่สุดในไก่พันธุ์ BR และและมีปริมาณต่ำสุดในกลุ่ม PA และ RR (P<0.05) และระดับปานกลางสำหรับไก่พันธุ์ CB ไก่พันธุ์ PA, CB และ RR มีสัดส่วนของกล้ามเนื้อขา สูงกว่าไก่พันธุ์ BR (P<0.05) ไก่พันธุ์ RR มีไขมันช่องท้องที่สูงที่สุด (P<0.05) กล้ามเนื้ออกไก่พันธุ์ PA และ CB มีค่า a* สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับไก่พันธุ์ RR และ BR แต่มีค่า L* และ b* ที่ต่ำ กล้ามเนื้ออกของไก่พันธุ์ BR มีไขมันแทรกกล้ามเนื้อสูงที่สุดขณะที่ปริมาณโปรตีนของไก่พันธุ์ PA, CB และ RR มีปริมาณมากกว่าไก่พันธุ์ BR (P<0.05) กล้ามเนื้ออกไก่ BR มีค่า drip loss สูงที่สุด (P<0.05) ขณะที่มีค่า shear force ต่ำสุดเมื่อเทียบกับไก่พันธุ์ PA, CB และ RR (P<0.05) ค่า malondialdehyde มีค่าสูงสุด (P<0.05) มีค่าสูงสุดในไก่พันธุ์ BR เทียบกับไก่พันธุ์ RR, CB และ PA หลังจาก 3 วันเป็นต้นไป กล่าวสรุปได้ว่าไก่พันธุ์ลูกผสมมีประโยชน์ในด้านลักษณะซากดีกว่าพันธุ์แท้ที่มีขนาดตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ ด้านคุณภาพเนื้อ เช่น องค์ประกอบทางเคมี สีของเนื้อและ ค่าความหืนของเนื้อไก่ลูกผสมไม่มีความแต่ต่างจากไก่พันธุ์แท้แต่มีคุณภาพเนื้อที่ดีกว่าไก่เนื้อเชิงพาณิชย์
บทคัดย่อ (EN): It was investigated whether crossbreeding of Thai native chickens with a layer chicken type improves carcass and meat quality in comparison to the respective purebred types and a commercial broiler type. Two-hundred 1-day old birds, 50 each of Pradu Hang Dam (Thai indigenous; PA), Rhode Island Red (RR), crossbred (CB = PA×RR), and broiler (Ross; BR) were kept in 20 pens per ten chickens. Birds were slaughtered either after 120 days (PA, CB and RR) or 45 days (BR). Body and carcass weight and breast proportion were highest for BR and lowest for PA and RR (P<0.05), and intermediate with CB. The PA, CB and RR chickens had a higher leg proportion than BR (P<0.05). The RR had most abdominal fat (P<0.05). The breast meat of PA and CB chickens were highest in a* value when compare with RR and BR chickens, but lower L* and b* value (P<0.05). The breast meat of BR had the highest (P<0.05) intramuscular fat content, whereas the protein content of PA, CB and RR was higher than in BR (P<0.05). The breast meat of BR had the highest (P<0.05) drip loss percentage, while the lower shear force when compare with PA, CB and RR chickens (P<0.05).The content of malondialdehyde was higher (P<0.05) in breast meat of BR when compared with RR, CB and PA from day 3 of storage onwards. In conclusion, crossbreeding was beneficial with respect to carcass traits, even though the advantage over the pure lines was small compared with the difference to the commercial broilers. In the meat quality traits, inclusive of chemical, meat color, and oxidative stability, crossbreds did not differ from the pure lines, but all extensive types were superior to broilers in this trait.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/176505/125893
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คุณภาพซาก องค์ประกอบเคมี และค่าเสถียรภาพออกซิเดชั่นของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองของไทยกับไก่ไข่ ไก่พื้นเมืองไทย ไก่ไข่ และไก่กระทง
ชลธี แก้วคต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ อายุและขนาดที่เหมาะสมในการเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่เหมาะสมสำหรับบริโภคในครัวเรือน ผลของสถานที่ การศึกษา สายพันธุ์ และวัตถุประสงค์การผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อรายได้ของเกษตรกรในวังทอง เมือง บางระกำ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก การศึกษาคุณภาพเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมือง (ชี) โครงการวิจัยพันธุ์ไก่ไข่เพื่อทดแทนการนำเข้า 2. อิทธิพลของพันธุ์ต่อลักษณะคุณภาพไข่และค่าสหสัมพันธ์ปรากฎในไก่ การใช้แหนใหญ่เลี้ยงไก่พื้นเมือง การทดสอบและสาธิตการเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมือง-เซี่ยงไฮ้เพื่อการค้า การศึกษาการผสมพันธุ์ไก่พื้นเมืองและใช้ตู้ฟักไข่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมือง การศึกษาความหลากหลายของยีน HSP 70 ในไก่พื้นเมืองไทยสายพันธุ์ต่างๆ ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก