สืบค้นงานวิจัย
โครงการย่อยที่ 2 โครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมในพื้นที่โครงการหลวง
อดิเรก ปัญญาลือ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการย่อยที่ 2 โครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมในพื้นที่โครงการหลวง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อดิเรก ปัญญาลือ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาระบบนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุม ในพื้นที่โครงการหลวง บทคัดย่อ โครงการการนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ ภายใต้ระบบการควบคุมในพื้นที่โครงการหลวง ประจำปี 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบระบบการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ ภายใต้ระบบการควบคุมแก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 7 มกราคม 2552 จนถึง 3 ตุลาคม 2552 ซึ่งดำเนินการในเขตรับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวง 8 พื้นที่ ในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สถานีวิจัยเกษตรหลวงอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อ.ปง จ.พะเยา และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ การดำเนินการขออนุญาตปลูกเฮมพ์ ประจำปี 2552 จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยได้ยื่นแบบคำขอพร้อมเอกสารโครงการวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ไปแล้วในวันที่ 22 มกราคม 25 ซึ่งทางอนุกรรมการยาเสพติดของกองควบคุมวัตถุเสพติด ได้เข้ามาตรวจสอบการปลูก ตามโครงการที่ได้ยื่นขอเรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2552 และ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดส่งเอกสารใบอนุญาตที่ 63/2552 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 การจัดทำระบบการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้การควบคุมนั้น โดยจะระบบทั้งหมดจะประกอบด้วย ระบบการพิจารณาผู้ขออนุญาตปลูกเฮมพ์ ระเบียบการพิจารณาผู้ขออนุญาตปลูกเฮมพ์ ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลของกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ที่จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเข้ามาพิจารณาในเรื่องทั้ง 2 นี้ ส่วนระบบการส่งเสริม ภายใต้การควบคุม ซึ่งมีขั้นตอนทั้งหมด 13 ขั้นตอน ในการดำเนินงาน มีหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามารับผิดชอบในขั้นตอนของการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ในประเทศไทยทั้งหมด 6 หน่วยงาน และจัดทำสัญญา/ข้อตกลง ของเกษตรกรในการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ ภายใต้การควบคุม ทั้งหมด 16 ข้อ เพื่อเป็นหลักฐานในเข้าระบบการควบคุมดังกล่าว โดยดำเนินการนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ ให้แก่เกษตรกร ใน 8 พื้นที่นั้น ได้ดำเนินการจัดประชุมชี้แจงเกษตรกร เพื่อกำหนดข้อตกลง ระบบการควบคุม มาตรการในการตรวจสอบและติดตามร่วมกับเกษตรกร ใน 8 พื้นที่ ที่ดำเนินการ รวมทั้งหมด 12 ครั้ง ส่วนการดำเนินการจัดทำทะเบียนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ ในการควบคุมของมูลนิธิโครงการหลวง ดำเนินการทั้งหมด 7 พื้นที่ ได้แก่ ศูนย์ฯ แม่แฮ 10 ราย ศูนย์ฯ แม่สาใหม่ 7 ราย สถานีฯ ปางดะ 6 ราย ศูนย์ฯ ขุนวาง 11 ราย สถานีฯ อินทนนท์ 7 ราย ศูนย์ฯ ปางอุ๋ง 5 รายศูนย์ฯ ปังค่า 5 ราย ซึ่งรวมเกษตรกรเข้าร่วมทั้งหมด 51 ราย โดยมีจำนวนแปลงส่งเสริมและแปลงสาธิตการปลูกลูกทั้งหมด 13 แปลง ได้แก่ ศูนย์ฯ แม่สาใหม่ 3 แปลง ศูนย์ฯ ปังค่า 1 แปลง ศูนย์ฯ ปางอุ๋ง 3 แปลง สถานีฯ ปางดะ 2 แปลง ศูนย์ฯ แม่แฮ 1 แปลง ศูนย์ฯ ขุนวาง และสถานีฯ อินทนนท์ 2 แปลง รวมมีพื้นที่ปลูกรวมทั้ง 7 ศูนย์ รวม 27,742 ตารางเมตร (17.33 ไร่) ซึ่งโครงการนี้ จะทำให้ได้ระบบควบคุมการปลูกที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการส่งเสริมปลูก เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเส้นใยของเฮมพ์ได้อย่างสูงสุดและปลอดภัยจากการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมาย จะทำให้เฮมพ์เป็นพืชที่จะมีความสำคัญได้ในอนาคต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการย่อยที่ 2 โครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมในพื้นที่โครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2552
โครงการย่อยที่ 7 โครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อย 3: การวิจัยและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม โครงการย่อยที่ 1 การเจริญเติบโตและคุณภาพของหนามแดงภายใต้การปลูกในถังควบคุม โครงการย่อย 6: โครงการศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ โครงการย่อยที่ 2 : โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสีย้อมสำหรับเส้นใยเฮมพ์ ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวที่เข้าร่วม โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงเครื่อง THC test kit ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 5: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องลอกเปลือกเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 6 โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์สายพันธุ์ THC ต่ำ การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก