สืบค้นงานวิจัย
การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
วาสนา ภานุรักษ์, เนตรชนก คงทน, เอนก ศรีสุวรรณ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง: การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Local Upland Rice Logistics and Supply Chain Management in Nakhon Ratchasima Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: การจัดการโลจิสติกส์
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ได้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง จังหวัดนครราชสีมาตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาอุปสรรคของการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการพัฒนาในโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ร่วมกับภาคีเครือข่ายเกษตรกรข้าวไร่ และผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มระดมสมอง ผลการศึกษา พบว่า 1. สถานการณ์ปัจจุบันของการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองใน จังหวัดนครราชสีมามีผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเกษตรกร 2) กลุ่มผู้แปรรูป ได้แก่ โรงสีข้าว หรือสหกรณ์การเกษตร และ 3) กลุ่มผู้ค้าปลีกจำหน่ายข้าวสาร และผู้บริโภค ต่างมีบทบาทในกิจกรรมห่วงโซ่อุปทานแตกต่างกันไป สำหรับกิจกรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1) การจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ที่มีคุณภาพ เป็นกิจกรรมแรกของระบบโดยการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพสู่กระบวนการ 2) กิจกรรมการเพาะปลูกข้าวไร่ที่มีคุณภาพ 3) กิจกรรมการแปรรูปข้าวเปลือกเพื่อเพ่ิมมูลค่า และ 4) การขนส่งสินค้าสู่ตคลาดผู้บริโภคเพื่อเกิดรายได้ 2. สภาพปัญหาและอุปสรรคของการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมาตลอดกระบวนการ มี 5 ประเด็น คือ 1) องค์ความรู้ในการปลูกข้าวไร่ 2) พันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองที่มีเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 3) คุณภาพของกระบวนการผลิต 4) การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ของข้าวไร่ และ 5) การรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อข้าวไร่ 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการพัฒนาในโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมามี 6 ประเด็น คือ 1) พันธุ์ข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2) ความรู้เกษตรกรที่ปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง 3) การพัฒนาโรงสีชุมชน 4) มาตรฐานการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง 5) เงินทุนและการบริหารต้นทุนในการผลิต 6) การตลาดและการประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถแข่งขันในตลาดข้าวได้
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research was to 1) study the current situation of logistics management and supply chain of native rice varieties. 2) To study and analyze the problems of logistics management and rice supply chain in indigenous varieties in Nakhon Ratchasima. 3) To propose policies, guidelines for development in the area of ??Nakhon Ratchasima province. Logistics and supply chain of native rice varieties in Nakhon Ratchasima This research utilizes the research process. Engaging Participatory Action Research with the Rice Farmers Network. And people involved The instrument used to collect data was a questionnaire. Participatory Observation And brainstorming sessions.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
30 กันยายน 2560
ศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไปยังจีนตอนใต้ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา การจัดการโซ่อุปทานกุ้งขาวแวนาไมในจังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้สัก ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในแขวงเซกองประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การศึกษาความต้านทานต่อโรคไหม้ของข้าวไร่พื้นเมือง 50 พันธุ์ การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก