สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์
สมทรง โชติชื่น - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Rice Genetic Resources Database for Conservation and Breeding
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมทรง โชติชื่น
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์           ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานวิจัยและพัฒนาข้าว ดังนั้น จึงมีการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวจากทั่วประเทศ นำมาเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ภายในบริเวณศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เชื้อพันธุกรรมข้าวที่เก็บรวบรวมอนุรักษ์ไว้ดังกล่าวมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 24,000 ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมไว้ไม่ให้สูญหายไป และสามารถที่จะนำเชื้อพันธุกรรมข้าวเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การนำทรัพยากรพันธุกรรมข้าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางนั้น จำเป็นทีจะตัองมีระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมข้าวที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสมต่อการใช้งานในระดับต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการอนุรักษ์ คุ้มครองพันธุ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมข้าว วิธีการดำเนินงานประกอบด้วยการศึกษาดูงานระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชที่เป็นมาตรฐานสากล สำรวจความต้องการของผู้ใช้งานฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมข้าวโดยจัดประชุมระดมความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าว โครงการนี้มีกำหนดระยะเวลา 2 ปี มีความก้าวหน้าของการดำเนินงานในปีที่ 1 ดังนี้ คือ 1) การศึกษาระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมข้าวของสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ พบว่า ใช้ระบสารสนเทศทรัพยากรพันธุกรรมซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ได้แก่ การนำเข้าเมล็ดเชื้อพันธุ์ การขยายเมล็ดเชื้อพันธุ์ การจำแนกลักษณะพันธุ์ การจัดการเมล็ดเชื้อพันธุ์ และการจัดการระบบฐานข้อมูล 2) การจัดประชุมกลุ่มผู้ใช้งานฐานข้อมูล ได้รับข้อเสนอแนะว่า ควรกำหนดชั้นความลับของข้อมูล โดยกำหนดการเข้าถึงข้อมูลเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคลทั่วไปและระดับสมาชิกของฐานข้อมูล ข้อมูลควรมีเนื้อหาที่น่าสนใจตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยมีความถูกต้องสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน และสามารถค้นหาได้อย่างสะดวก ควรออกแบบฐานข้อมูลให้เลือกแสดงผลได้ตามตัองการทั้งหมดหรือบางส่วนจากผลลัพธ์ของการสืบค้น และต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การสำรองข้อมูล และระบบการกู้คืนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และ 3) การออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล โดยดำเนินการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลประกอบด้วยระบบสมาชิก วิธีการค้นหา การแสดงผล การเตรียมสภาวะแวดล้อมเพื่อการนำเข้าข้อมูล การนำเข้าข้อมูลผ่านหน้าจอ และการนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ Excel การตรวจสอบแก้ไขตามข้อกำหนดของระบบใหม่อัตโนมัติ การพัฒนาส่วนบันทึกผลของข้อมูลตามกำหนด และการพัฒนาส่วนแสดงผลสำหรับผู้ใช้งานระดับต่างๆ สำหรับงานที่จะต้องดำเนินการต่อไป ได้แก่ การตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้างฐานข้อมูล การนำเข้าข้อมูล การจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย การทดสอบระบบ การแก้ไขปัญหา และการอบรมผู้ใช้งานฐานข้อมูล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-09-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์
กรมการข้าว
14 กันยายน 2558
กรมการข้าว
การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมข้าวเพื่อการอนุรักษ์และการปรับปรุงพันธุ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลข้าวเหนียวเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ถูกใจเกษตรกร การพัฒนาเครื่องหมาย EST-SSR จากฐานข้อมูล Expressed sequence tag เพื่อการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำ การพัฒนาพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดเพื่อบริโภคผลสด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก