สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาและพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร : กรณีกลุ่มเกษตรกรลำน้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
ระพีพรรณ ประจันตะเสน - มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาและพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร : กรณีกลุ่มเกษตรกรลำน้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Study and Development on Chemically Free Vegetable Production System by Farmers’ Participation: The Case Study of Lum-Num-Pao Farmers in Kalasin Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ระพีพรรณ ประจันตะเสน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กลุ่มเกษตรกรชุมชนดอนสวรรค์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรโดยการปลูกผักชนิด ต่าง ๆ เกษตรกรส่วนมากเป็นผู้สูงอายุจึงต้องใช้เวลามากในการรดน้ำผัก และขาดองค์ความรู้ด้านการผลิตผักปลอดสารพิษ ดังนั้นคณะนักวิจัยจึงเข้ามาช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการพัฒนาระบบน้ำ การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และการทำสารสกัดไล่แมลง ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช และให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนดอนสรรค์ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการให้น้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกผักปลอดสารพิษ 3) เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตสารอินทรีย์สำหรับการปลูกผักปลอดสารพิษ 4) เพื่อศึกษาการผลิตผักปลอดสารพิษโดยกระบวนการกลุ่ม 5) เพื่อศึกษาและเพิ่มทักษะการบริหารกลุ่มของเกษตรกร จากการศึกษาพบว่าชุมชนดอนสวรรค์มีพื้นที่ติดกับลำน้ำปาวตลอดแนวชุมชน จึงมีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดปี ชาวบ้านส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวน ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น มะลิ ดาวเรือง และปลูกผักต่างๆ ก่อนเริ่มโครงการเกษตรกรต้องใช้บัวรดน้ำผักซึ่งใช้แรงงาน 11 คน/วัน ในพื้นที่ 1.5 ไร่ ใช้เวลารดผัก 5-6 ชั่วโมง/วัน และมีรายได้จากการขายผักเฉลี่ย 1,800-2,000 บาท/เดือน หลังจากการเข้าร่วมโครงการพบว่าเกษตรกรได้สร้างระบบให้น้ำแบบสปริงเกอร์ โดยมีต้นทุนค่าอุปกรณ์ 25,000 บาท ใช้แรงงานในการรดน้ำ 1 คน/วัน ในพื้นที่ 1.5 ไร่ ซึ่งใช้เวลารดผัก 5-10 นาที/วัน จ่ายค่าไฟฟ้าที่สูบน้ำ 30 บาท/เดือน แต่ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4,400 บาท/เดือน การพัฒนาการผลิตสารอินทรีย์สำหรับใช้ในการผลิตผักปลอดสารพิษพบว่าเกษตรกรมีการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้จำนวน 3 สูตร ได้แก่ 1) สูตรลำต้นกล้วย 2) สูตรเปลือกสับปะรด และ 3) สูตรเศษผักชนิดต่างๆ ซึ่งสูตรเศษผักมีค่าการนำไฟฟ้า (17.45 ds/m) สูงกว่าปุ๋ยน้ำหมักสูตรเปลือกสับปะรด (14.66 ds/m) และสูตรลำต้นกล้วย (13.76 ds/m) ซึ่งเกษตรกรทำการฉีดพ่นเฉลี่ย 1 ครั้ง / สัปดาห์ อัตรา 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร สำหรับสารสกัดไล่แมลงโดยใช้พืชสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่นทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ ยูคาลิปตัส ตะไคร้หอม มะกรูด บอระเพ็ด ข่า ขี้เหล็ก และสะเดา ซึ่งเกษตรกรใช้ป้องกันแมลงโดยผสมสารสกัดไล่แมลงพร้อมปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพผ่านระบบการให้น้ำ ส่งผลให้ผักได้รับสารอินทรีย์ที่ใช้ไล่แมลงและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอทำให้สามารถผลิตผักปลอดสารพิษได้โดยปราศจากการใช้สารเคมี สำหรับด้านการพิ่มทักษะการบริหารกลุ่มของเกษตรกรพบว่าสมาชิกกลุ่มได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม โดยได้มีการทดลอง และค้นคว้าเองจนเกิดองค์ความรู้ที่นำไปแก้ไขปัญหาของตนเองและกลุ่มได้ ซึ่งสมาชิกและคณะกรรมการแต่ละคนก็มีองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ด้านการจัดการน้ำแบบระบบพ่นฝอย การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การผลิตสารสกัดไล่แมลง การตลาดผักปลอดสารพิษ และการบริหารกลุ่ม องค์ความรู้ดังกล่าว ได้รับการถ่ายทอดผ่านสมาชิกกลุ่มผักปลอดสารพิษ สู่เกษตรกร หน่วยงานต่าง ๆ นักเรียน และผู้สนใจรายอื่น ๆ นอกจากนี้เกษตรกรยังได้พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมและการบริหารกลุ่มของเกษตรกร โดยสมาชิกกลุ่มได้จัดโครงสร้างขององค์กรที่ชัดเจน ประกอบด้วยประธาน รองประธาน คณะกรรมการและสมาชิก มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ มีการกำหนดกฏระเบียบประจำกลุ่มที่ชัดเจน ได้แก่การสมัครเข้าเป็นสมาชิก กฏเกณฑ์ในการคัดเลือกคณะกรรมการของกลุ่ม กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการออมทรัพย์และเงินกู้ของสมาชิก และมีคณะกรรมการในกลุ่มมีการควบคุมการทำงานของสมาชิกโดยการจดบันทึกการทำงานของสมาชิก มีการควบคุมและตรวจสอบผลผลิตตลอดเวลา เช่นการใช้ปุ๋ย การให้น้ำ ตรวจสอบวัชพืชและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ อีกด้วย
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาและพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร : กรณีกลุ่มเกษตรกรลำน้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
30 กันยายน 2553
การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตผักปลอดสารพิษระหว่างสมาชิกกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป ในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตผักปลอดสารพิษกับการผลิตผักโดยใช้สารเคมีของเกษตรกรชุมชนวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร การจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์ กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อผลิตข้าวเหลือง 11 ปลอดสารพิษ บ้านโคกล่าม ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต แรงจูงใจและผลด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านสว่าง ตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น สภาพการผลิตผักปลอดสารพิษ : กรณีศึกษาในบ้านหม้อ ตำบลคูคำ กิ่งอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์และปลอดสารพิษในตลาดเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชางานเกษตรแบบมีส่วนร่วม ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน : กรณี โรงเรียนวัดสุขบุญฑริการาม กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษชุมชนบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก