สืบค้นงานวิจัย
การผลิตน้ำมันจุลินทรีย์ด้วยการเพาะเลี้ยงเชื้อผสมของสาหร่ายขนาดเล็กและยีสต์ไขมันสูงเพื่อผลิตไบโอดีเซลด้วยวิธีทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นแบบตรง
รัตนาภรณ์ ลีสิงห์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การผลิตน้ำมันจุลินทรีย์ด้วยการเพาะเลี้ยงเชื้อผสมของสาหร่ายขนาดเล็กและยีสต์ไขมันสูงเพื่อผลิตไบโอดีเซลด้วยวิธีทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นแบบตรง
ชื่อเรื่อง (EN): Microbial oil production from mixed-cultures of microalgae and oleaginous yeast for biodiesel production via direct transesterification
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนาภรณ์ ลีสิงห์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ratanaporn Leesing
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ขนิษฐา เฟียล่า
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Khanittha Fiala
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการเพาะเลี้ยงเชื้อผสมสาหร่ายขนาดเล็ก Chlorella sp. KKU-52 และยีสต์ Torulaspora malece Y30, Torulaspora gtobosa YU5/2 เพื่อผลิตลิปิดด้วยการหมักแบบกะป้อน ด้วยสภาวะมิกโชโทรฟิคที่มี Fermented rice noodle wastewater hydrolysate (FRNWH) เป็น แหล่งคาร์บอนและ NANO, เป็นแหล่งไนโตรเจน พบว่าเชื้อผสมเจริญและสะสมลิปีตลิปิดในปริมาณสูง เมื่อเติมแหล่งคาร์บอนเพียงอย่างเดียวภายใต้การให้แสง 12 ชั่วโมงและไม่มีแสง 12 ชั่วโมง ในวันที่ 6 ของการเพาะเลี้ยง โดยเชื้อผสม Chlorella sp. KKU-S2 กับ T. globosa YU5/2 ได้ปริมาณเชลล์ 15.18g/L อัตราการผลิตเซลล์ 2.539/1/d ปริมาณลิปิด 1.349/L อัตราการผลิตลิปิด 0.224g/L/d ภายใต้การเพาะเลี้ยงที่มีการพ่นอากาศ และปริมาณชลล์ 10.34g/L อัตราการผลิตเซลล์ 1.72/L/d ปริมาณลิปิด 0.8449/L และอัตราการผลิตลิปิด 0.1419/1/d เมื่อเพาะเลี้ยงในสภาวะที่ไม่มีการพ่น อากาศ ส่วนเชื้อผสม Chlorella sp. KKU-52 กับ T. maleae Y30 ได้ปริมาณเซลล์ 17.07g/L, Qx เท่ากับ 2.84 9/1/d ปริมาณลิปิด 0.596g/L, Qp 0.099g/1/d ได้ปริมาณเซลล์ 7.68g/L, Qx เท่ากับ 1.28 g/1/d ปริมาณลิปิด 0.1979/L, Qp 0.0339/1/d เมื่อเพาะเลี้ยงในสภาวะที่มีการพ่นอากาศและไม่มี การพ่นอากาศตามลำดับ การศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากเซลล์เปียกของเชื้อผสมด้วยวิธี direct transesterification ใน รูปของ fatty acid methy! ester (FAME) เมื่อใช้ NaOH เป็นตัวเร่งปฏิริยาโดยให้ความร้อนจากคลื่น ไมโครเวฟที่กำลังไฟ 480 วัตต์ เป็นเวลา 3 นาที ได้ FAME ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไบโอดีเซลจากน้ำมัน ปาล์มจากค่า Rf ของ TLC chromatogram โดยมีหมู่ฟังก์ชั่นคือ carbonyl group peaks ที่ 1742 cm1 แล ะ methyl ester group ที่ 1435-1461 cm1 จ1ก Fourier Transform InfraRed Spectroscopy (FTIR) spectrum โดยค่าความเหมือนจาก FTIR spectrum อยู่ระหว่าง 97-99% เมื่อ เปรียบเทียบกับไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม
บทคัดย่อ (EN): In this work, mixed cultures of microalgae Chlorella sp. KKU-S2 and yeasts Torulaspora maleae Y30, Torulaspora globosa YU5/2 using fermented rice noodle wastewater hydrolysate (FRNWH) as carbon substrate and NaNO3 as nitrogen source were investigated under fed-batch mixotrophic cultivation for 10 days at room temperature. Optimum growth and lipid accumulation was obtained by fed-batch mixotrophic cultivation with FRNWH fed under 12hrs light and 12 hrs dark with ambient aeration at day 6 of cultivation time. A biomass of 15.18 g/L with biomass productivity (QX) of 2.53g/L/d, lipid of 1.34g/L with lipid productivity (QP) of 0.224g/L/d was obtained from the mixed cultures of Chlorella sp. KKU-S2 with T. globosa YU 2/5 under aeration condition, while, a biomass of 10.34g/L with QX of 1.72g/L/d, lipid of 0.884g/L with QP of 0.141g/L/d without aeration. The mixed cultures of Chlorella sp. KKU-S2 with T. maleae Y30 gave 17.07g/L biomass with QX of 2.84g/L/d, 0.596g/L lipid with QP 0.099g/L/d under aeration condition, whereas, a biomass of 7.68g/L with QX of 1.28 g/L/d, lipid of 0.197g/L with QP of 0.033g/L/d was obtained without aeration condition. Biodiesel as fatty acid methyl ester (FAME) production by microwave-assisted direct transesterification from mixed cultures wet cell was carried out using 0.5N NaOH as catalyst and n-hexane as solvent at 480W, 3 min. The TLC chromatogram and Rf value showed that FAME from mixed cultures was close to palm oil-based biodiesel. Then functional groups of FAME was studies by FTIR technique, the same peaks of carbonyl group peaks at 1742 cm-1 and methyl ester group at 1435-1461 cm-1 were observed from FAME of mixed culture and palm oil based-biodiesel. The similarity of FTIR spectrum of FAME and palm oil based-biodiesel of 97-99% was observed.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 250,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตน้ำมันจุลินทรีย์ด้วยการเพาะเลี้ยงเชื้อผสมของสาหร่ายขนาดเล็กและยีสต์ไขมันสูงเพื่อผลิตไบโอดีเซลด้วยวิธีทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นแบบตรง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2558
สร้างและทดสอบ เครื่องผลิตไบโอดีเซลแบบใช้จุลินทรีย์ การคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำมันสูงเพื่อการผลิตไบโอดีเซล การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันยีสต์โดยใช้ไลเปสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ ศึกษาการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายท้องถิ่นในแหล่งน้ำ จังหวัดสกลนคร ผลของระดับไขมันในอาหารต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหารและองค์ประกอบทางเคมีของปลาโมง การใช้เทคโนโลยีการตรึงเซลล์ในการแยกสาหร่ายขนาดเล็กในระหว่างการเพาะเลี้ยงเพื่อการสะสมน้ำมันและการผลิตไบโอดีเซล กรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบและสมบัติของน้ำมันศรีทองและเมทิลเอสเทอร์ การผลิตชีวมวลและการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานปาล์มน้ำมันด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก การคัดกรองเอนไซม์ไลเปสเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ในน้ำพุร้อนบางแหล่งในภาคเหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก