สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบเทคโนโลยีการเลี้ยงลูกโคนมเพศผู้ในสภาพขังคอกในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
ธำรงศักดิ์ พลบำรุง - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การทดสอบเทคโนโลยีการเลี้ยงลูกโคนมเพศผู้ในสภาพขังคอกในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่อง (EN): Verification Technology of Dairy Male Calf Feedlotting in Sakol Nakorn
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธำรงศักดิ์ พลบำรุง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การนำลูกโคนมเพศผู้หย่านมไม่ตอน รวบรวมจากฟาร์มโคนมในจังหวัดสกลนครมาเลี้ยงในสภาพขังคอกในสถานีอาหารสัตว์สกลนคร 1 ชุด และให้เกษตรกรทดสอบเลี้ยงโคในฟาร์ม 3 ชุด จำนวนโครวมทั้งสิ้น 33 ตัว ใช้อาหารผสมเสร็จ (Total Mixed Ration) ซึ่งมีพืชอาหารสัตว์แห้งเป็นส่วนประกอบหลักเลี้ยงโคแบบจำกัด(Restrict Feeding) ผลการทดสอบเลี้ยงโคในสภาพแตกต่างกัน ยืนยันว่า ลูกโคนมเพศผู้ซึ่งมีอยู่ในฟาร์มเกษตรกรรายย่อยทั่วไปนั้น สามารถนำมาเลี้ยงเพื่อการผลิตเนื้อได้ โดยโคมีอัตราการเจริญเติบโตระหว่าง 674 - 912 กรัมต่อวัน ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารอยู่ระหว่าง 6.20 - 8.10 กิโลกรัมวัตถุแห้งต่อน้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม และต้นทุนคำอาหารเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 23.77 - 28. 47 บาทต่อน้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม เทคโนโลยีที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ลูกโคนมเพศผู้เจริญเติบโตตามเป้าหมายและใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ ได้แก่ 1) การนำลูกโคนมเช้าเลี้ยงขังคอกแบบเข้าพร้อมกัน-ออกพร้อมกันเป็นชุด คัดโคขนาดใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน 2) การผลิตอาหารผสมเสร็จเลี้ยงโค โดยมีส่วนประกอบพืชอาหารสัตว์ในระดับสูงในสูตรอาหาร 3) การให้อาหารโคแบบจำกัดทั้งปริมาณและคุณภาพเพื่อให้โคเจริญเติบโตตามเป้าหมาย 4) การกำหนดอัตราการเจริญเติบโตและกำหนดน้ำหนักโคที่จะจำหน่ายให้เหมาะสม ในภาวะที่โคเนื้อราคาดีและความต้องการเนื้อโคเพื่อการบริโภคสูง ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมเพศผู้จำหน่าย เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพแก่เกษตรกร
บทคัดย่อ (EN): Four trials of dairy male calf feedlotting were carried out at Sakol Nakorn Animal Nutrition Station and 3 farms in Sakol Nakorn Province used 33 weaned- uncastrated male calves selected from dairy farms in the province. Total Mixed Ration (TMR) used fodder hay as main ingredient was formulated and fed to animal under feed restriction scheme. Result from repeated trials under different condition indicating that dairy male calves shown acceptable performance under feedlot feeding with average daily gain (ADG) between 674 - 912 gram, feed conversion ratio (FCR) between 6.20 - 8.10 kilogram drymatter and average feed cost was between 23.77 - 28.47 baht per kilogram body weight gain. Techniques need to be practice in order to archive targets and lowering production cost are: 1) Feedlotting animal in small groups, grouping animals according to body size and body condition, using all-in and all-out system. 2) Using Total Mixed Ration Feed which contain high proportion of fodder. 3) Practice restrict feeding to maintain target dairy gain and minimized lost. 4) Setting final weight and dairy gain in accordance with animal performance. During the time that demand and price of beef cattle is increasing, it is recommended to promote feedlotting of dairy male calf for beef production.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Research%20Report53-55/Research_Knowlage/RESEARCH/research_full/2547/R4731.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบเทคโนโลยีการเลี้ยงลูกโคนมเพศผู้ในสภาพขังคอกในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
กองอาหารสัตว์
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
เทคนิคการเลี้ยงโคนมทดแทน สภาพการเลี้ยงโคนมในแหล่งต่างๆ 1.2 เขตสหกรณ์นิคมวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี การสำรวจสภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา การพัฒนาปุ๋ยจากน้ำนมดิบเพื่อเพิ่มคุณภาพของหญ้าอาหารสัตว์ในการเลี้ยงโคนม 1. สภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในแหล่งต่าง ๆ 1.1 เขตสหกรณ์ปศุสัตว์เขาขลุงจำกัด จังหวัดราชบุรี การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร ศักยภาพการเลี้ยงโคขุนภาคใต้ ประเทศไทย 2557A17002123 ลักษณะทั่วไป และสภาพการเลี้ยงโคพื้นเมือง (วัวม้ง) ในอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน สภาพการเลี้ยงโคนมและการให้อาหารโคนมของเกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก