สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดการกินสำหรับการแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบจากพืชในอาหารกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)
ปิยารมณ์ คงขึม, จีรรัตน์ แก้วประจุ, สกนธ์ แสงประดับ, จีรรัตน์ แก้วประจุ, สกนธ์ แสงประดับ, ปิยารมณ์ คงขึม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดการกินสำหรับการแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบจากพืชในอาหารกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)
ชื่อเรื่อง (EN): Utilisation of protein hydrolysate from shrimp waste as attractant in partial replacement of protein by some plant protein ingredients diets for black tiger prawn, Penaeus monodon (Fabricius, 1798)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลของการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดการกินสำหรับการแทนที่ปลาป?นด?วยวัตถุดิบจากพืชในอาหารกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798) ปิยารมณ์ คงขึม1 ธนิกานต์ บัวทอง2 จีรรัตน์ เกื้อแก้ว3 สกนธ์ แสงประดับ1 ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงกระบี่1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำชลบุรี2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสุราษฏร์ธานี 3 บทคัดย่อ ศึกษาการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดการกินในอาหารกุ้งกุลาดำที่แทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบจากพืชและเสริมโปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งในอัตรา 1-8 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 8 สูตร เปรียบเทียบกับอาหารที่มีปลาป่นเป็นหลัก (positive control) และอาหารที่ไม่มีปลาป่น (negative control) อาหารทดสอบมีระดับโปรตีนอยู่ในช่วง 39.6-42.3% และไขมันอยู่ในช่วง 8.8-9.5% ทดลองในตู้กระจกที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่หนึ่งสำหรับใส่อาหารอาหารทดลองโดยแบ่งเป็น 3 ช่อง และส่วนที่สองสำหรับใส่กุ้งทดลอง ใช้กุ้งขนาด 4-5 กรัม จำนวน 10 ตัวต่อการทดสอบหนึ่งครั้ง พักไว้ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นใส่อาหารทดลองในช่องใดช่องหนึ่ง แล้วยกที่กั้นขึ้น วัดผลโดยการวัดค่าการดึงดูดการกินอาหารจากร้อยละของจำนวนกุ้งที่เข้าหาอาหาร ณ นาทีที่ 1,2, 5 และ 10 นาที และปริมาณอาหารที่กุ้งกิน ผลการทดลองพบว่าร้อยละของจำนวนกุ้งที่เข้าหาอาหารแต่ละสูตร ณ นาทีที่ 1, 2, 5 และ 10 นาที ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) เช่นเดียวกับปริมาณอาหารที่กุ้งกินแต่ละสูตรไม่แตกต่างกัน (p>0.05) คำสำคัญ : กุ้งกุลาดำ, โปรตีนไฮโดรไลเสต, เศษทิ้ง, การเจริญเติบโต, สารดึงดูดการกิน ผู้รับผิดชอบ : ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำชลบุรี ๔๑/๑๔ หมู่ ๙ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๑๐ โทรศัพท์/โทรสาร ๐-๓๘๓๒-๖๕๑๒ E-mail : poungchor@hotmail.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเพื่อเป็นสารดึงดูดการกินสำหรับการแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบจากพืชในอาหารกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)
กรมประมง
31 มีนาคม 2559
กรมประมง
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798) การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้น้ำนึ่งปลาทูน่าเข้มข้นเป็นสารดึงดูดการกินอาหารที่ใช้พืชเป็นแหล่งโปรตีนหลักสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798) การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนปลาป่นในอาหารสำเร็จรูปของกุ้งขาว Litopenaeus vannamei (Boone, 1931) การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การพัฒนาอาหารสำเร็จรูปเพื่อกระตุ้นการเจริญพันธุ์ของกุ้งกุลาดำเพศผู้ ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารสำหรับปลากระดี่หม้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก