สืบค้นงานวิจัย
การประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง
นันทชัย บุญจร - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: การประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Purse Seine Fisheries in the Middle Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นันทชัย บุญจร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nantachai Boonjorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: ศึกษาการประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนกลางจากเครื่องมือประมงอวนล้อมจับ 3 ประเภท ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2553 ได้แก่ อวนดำ (Thai purse seine) อวนล้อมจับปั่นไฟ (light luring purse seine) และอวนล้อมซั้ง (purse seine with fish aggregating devices) เรือประมงอวน ล้อมจับทั้ง 3 ประเภท อาจเป็นเรือลำเดียวกันแต่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำประมงตามสัตว์น้ำเป้าหมายและฤดูทำ ประมง เรือประมงที่ใช้มีขนาดความยาว 16-25 เมตร เครื่องยนต์ขนาด 250-800 แรงม้า จำนวนลูกเรือ 20-45 คน ใช้อวนไนลอนสีดำขนาดช่องตาอวน 2.5 เซนติเมตร ความยาวอวน 400-1,200 เมตร ความลึกอวน 40-144 เมตร อวนล้อมจับมีการทำประมงตลอดทั้งปี โดยมีระดับการลงแรงประมงต่ำลงในช่วงฤดูมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม ส่วนอวนดำ ใช้เครื่องมือเอคโคซาวเดอร์หรือโซนาร์ใน การหาฝูงปลาทำประมงเฉลี่ย 1.01 วันต่อเที่ยว อัตราการจับเฉลี่ย 2,616.94 กิโลกรัมต่อวัน มีอัตราการจับ สูงสุดในเดือนพฤษภาคมเท่ากับ 4,560.00 กิโลกรัมต่อวัน และต่ำสุดเท่ากับ 700.00 กิโลกรัมต่อวัน ในเดือน กรกฎาคม องค์ประกอบสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มปลาผิวน้ำ กลุ่มปลาหน้าดิน กลุ่มปลาหมึก กลุ่มปลาเป็ด และกลุ่ม กุ้งปู คิดเป็นร้อยละ 96.56 1.94 0.67 0.59 และ 0.24 ของปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมด ตามลำดับ อวนล้อมจับ ปั่นไฟ ใช้เรือปั่นไฟจำนวน 3-4 ลำ ต่อเรืออวนล้อมจับปั่นไฟ 1 ลำ ทำประมงเฉลี่ย 1.30 วันต่อเที่ยว อัตราการ จับเฉลี่ย 2,590.83 กิโลกรัมต่อวัน มีอัตราการจับสูงสุดในเดือนพฤษภาคมเท่ากับ 3,804.17 กิโลกรัมต่อวัน และต่ำสุดเท่ากับ 750.00 กิโลกรัมต่อวัน ในเดือนธันวาคม องค์ประกอบสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มปลาผิวน้ำ กลุ่มปลา หน้าดิน กลุ่มปลาหมึก กลุ่มปลาเป็ด และกลุ่มกุ้งปู คิดเป็นร้อยละ 82.68 10.96 4.00 2.31 และ 0.05 ของปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมด ตามลำดับ พบทำประมงตลอดทั้งปีในเขตน้ำลึก 30-50 เมตร อวนล้อมซั้ง ทำประมง โดยทิ้งซั้งล่อสัตว์น้ำและเข้าทำประมงในเวลากลางคืนโดยใช้เรือปั่นไฟร่วมด้วย ทำประมงเฉลี่ย 4.25 วันต่อเที่ยว มีอัตราการจับเฉลี่ย 3,204.78 กิโลกรัมต่อวัน มีอัตราการจับสูงสุดในเดือนมิถุนายนเท่ากับ 5,363.64 กิโลกรัม ต่อวัน และต่ำสุดเท่ากับ 2,250.00 กิโลกรัมต่อวัน ในเดือนตุลาคม องค์ประกอบสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มปลาผิวน้ำ กลุ่มปลาหน้าดิน กลุ่มปลาหมึก และกลุ่มปลาเป็ด คิดเป็นร้อยละ 86.54 8.21 2.94 และ 2.31 ของปริมาณ สัตว์น้ำทั้งหมด ตามลำดับ มีแหล่งประมงที่สำคัญบริเวณกลางอ่าวไทยและบริเวณแนวซั้งใกล้ฝั่งหน้าจังหวัด ชุมพร ในเขตน้ำลึก 40-60 เมตร สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จับจากอวนล้อมจับทั้ง 3 ประเภท มีขนาดใกล้เคียงกันและ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์
บทคัดย่อ (EN): The study on 3 types of purse seine fisheries in the Middle Gulf of Thailand was conducted during January to December in 2010, namely; Thai purse seine, light luring purse seine and purse seine with fish aggregating devices. Their used same fishing vessel which was change fishing practices depend on the target species and fishing season.Fishing vessel length ranged from 16 to 25 m which were equipped with 250 to 800 horse-power engine. Number of crews per vessel was 20 to 45 persons. Mesh size of purse seine net was 2.50 cm made from black nylon, with length 400 to 1,200 m and depth 40 to 144 m. Purse seine fisheries in the Middle Gulf of Thailand operated throughout the year but fishing effort was low during monsoon season (October to December). Regarding, Thai purse seine equipped with sonar or echo sounder to find fish school. Fishing day per trip was 1.01 day/trip in average. The average catch per unit effort (CPUE) was 2,616.94 kg/day, the highest CPUE was 4,560.00 kg/day in May and the lowest CPUE was 700.00 kg/day in July. Species composition comprised with 96.56% pelagic fish, 1.94% demersal fish, 0.67% cephalopod, 0.59% trash fish and 0.24% shrimp and crab. Light luring purse seine operated with 3 to 4 light luring vessels. Fishing day per trip was 1.30 day/trip in average. CPUE was 2,590.83 kg/day, the highest CPUE was 3,804.17 kg/day in May and the lowest CPUE was 750.00 kg/day in December. Species composition comprised with 82.68% pelagic fish, 10.96% demersal fish, 4.00% cephalopod, 2.31% trash fish and 0.05% shrimp and crab. Fishing operation was found throughout the year at 30 to 50 m water depth. Purse seine with fish aggregating devices operated at night around fish aggregating devices and light luring for accumulated fish. Fishing day per trip was 4.25 day/trip. CPUE was 3,204.78 kg/day, the highest CPUE was 5,363.64 kg/day in June and the lowest CPUE was 2,250.00 kg/day in October. Species composition comprised with 86.54% pelagic fish, 8.21% demersal fish, 2.94% cephalopod and 2.31% trash fish. Fishing grounds were found at 40 to 60 m depth around the Middle of the Gulf and off Chumphon coastal areas. Sizes of economic species catches from three types of purse seine were smaller than first size at mature.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 55-0409-55012
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
พื้นที่ดำเนินการ: อ่าวไทยตอนกลาง
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-25T09:33:11Z No. of bitstreams: 1 17-61 ารประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง นันทชัย.pdf: 667087 bytes, checksum: a6eac84db86e1abd068e8c1932881781 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงอวนล้อมจับบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2555
ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งแชบ๊วยบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำการประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ในเขตน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย การทำการประมงและการควบคุมการทำการประมงอวนล้อมจับ ที่แจ้งเข้าออกต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกชุมพร ปี 2561 สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย ทรัพยากรประมงจากเรืออวนล้อมจับปลากะตักบริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย องค์ประกอบของอาหารในกระเพาะปลาทูน่าที่จับได้ด้วยเครื่องมืออวนล้อมจับในบริเวณมหาสมุทรอินเดียตะวันออก
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก