สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงหอยแครง (Anadara sp.)ในบ่อดิน
กฤตพล ยังวนิชเศรษฐ, นิธิวัฒน์ วงศ์วิวัฒน์, เกียรติศักดิ์ เกษมพันธ์กุล, เชาวลิต เพชรน้อย, เชาวลิต เพชรน้อย, กฤตพล ยังวนิชเศรษฐ, นิธิวัฒน์ วงศ์วิวัฒน์, เกียรติศักดิ์ เกษมพันธ์กุล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงหอยแครง (Anadara sp.)ในบ่อดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Cockle (Anadara sp.) Culture in the Earthen Pond.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: คำนำ อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งที่มีการเลี้ยงหอยแครงที่สำคัญของประเทศ โดยศูนย์สารสนเทศ (2548) รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณผลผลิตหอยแครงรวมทั้งประเทศ เท่ากับ 67,359 ตัน มีส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่สูงมากถึง 56.2 เปอร์เซ็นต์ (37,855 ตัน) ในส่วนของอ่าวที่บริเวณอำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นแห่งหนึ่งที่นิยมเลี้ยงหอยแครงกันมาก เนื่องจากใช้เวลาเลี้ยงน้อย จัดการได้ง่าย และสร้างรายได้ค่อนข้างดี แต่ปัญหาที่ประสบ คือ การขาดแคลนพื้นที่ในการขยายเขตการเลี้ยง สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และการขาดแคลนพันธุ์หอยที่เพียงพอ กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้มีการสร้างแหล่งพ่อแม่พันธุ์ในหลายพื้นที่ เช่น ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ปัตตานี สตูล เป็นต้น ดังนั้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสุราษฎร์ธานี มีความเห็นว่าในปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงหอยแครงในทะเลนั้น มีขีดจำกัดในการส่งเสริมในการเลี้ยงหอยแครงเพิ่มเติม และพื้นที่ดังกล่าวได้มีการจับจองโดยกลุ่มนักธุรกิจเป็นส่วนใหญ่เกษตรกรรายย่อยมีน้อยลง เนื่องจากการเลี้ยงในทะเลลงทุนสูงมาก เกษตรกรที่มีรายได้น้อยจึงไม่มีโอกาสที่จะได้ประกอบอาชีพนี้ และอีกเหตุผลประการสำคัญ พื้นที่บริเวณรอบอ่าวบ้านดอนมีนากุ้งร้างมากมาย คิดเป็นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่นากุ้งทั้งหมด และเกษตรกรยังมองหาอาชีพที่เหมาะสมมาทดแทนยู่การเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน เป็นอาชีพที่น่าสนใจที่สามารถนำมาส่งเสริมให้มีการเลี้ยงในพื้นที่ว่างดังกล่าวและจากการศึกษาเบื้องต้นของการเลี้ยงหอยแครงในบ่อกุ้งร้างในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ พบว่าหอยแครงขนาด 300-400 ตัว/กิโลกรัม สามารถเจริญเติบโตเป็นหอยแครงขนาด 120-150 ตัว/กิโลกรัมได้นั้นใช้ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน (ศพช.สุราษฎร์ธานี,2547 ข้อมูลไม่ได้เผยแพร่) แต่การทดลองดังกล่าวอาศัยปัจจัยจากธรรมชาติเป็นหลัก และมีการจัดการไม่ดีพอ ทำให้หอยชะงักการเจริญเติบโตในระยะเวลาการเลี้ยงเดือนที่ 4 และ 5 ดังนั้นการทดลองศึกษาในครั้งนี้จึงได้เกิดขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลที่สมบูรณ์ของการเลี้ยงในบ่อดิน ในบริเวณพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งทะเลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสุราษฎร์ธานี อีกครั้งหนึ่ง โดยปรับปรุงรูปแบบและวิธีการการจัดการใหม่ เพื่อความสมบูรณ์อย่างแท้จริงและสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงหอยแครง (Anadara sp.)ในบ่อดิน
กรมประมง
31 มีนาคม 2554
กรมประมง
ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน สภาวะการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดตราด ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ การวิเคราะห์ทางการเงินของการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ในบ่อดิน: กรณีศึกษาคลองวาฬโมเดล ดุลไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของการเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1970) ในบ่อดิน ระบบการเลี้ยงปลาบึกอายุ 1 - 2 ปี ร่วมกับปลาเผาะในบ่อดินเพื่อการค้า ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ประมงในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของจังหวัดตาก การประเมินผลการดำเนินการกิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อดินโครงการช่วยเหลือราษฎร ตำบลโคกปรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลาพลวงหินร่วมกับปลากาดำในบ่อดินแบบพัฒนาบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก