สืบค้นงานวิจัย
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการสำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ
อมรา นาคสถิตย์ - มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่อง: การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการสำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อเรื่อง (EN): Learning Exchange in Exploration, Collection and Database for Conservation and Utilization on Biodiversity of arthropods in Plant Protected Area, Amnatcharern Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อมรา นาคสถิตย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นพื้นที่ติดต่อระหว่างพื้นที่ป่ากับชุมชน ทำให้เป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์และสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดิน ผู้วิจัยและนักวิจัยอาสาสมัครจากชุมชนร่วมกันสำรวจความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์โดยวิธีสำรวจและเก็บตัวอย่างลูกน้ำยุงตามแหล่งน้ำต่างๆที่พบ และการเก็บตัวอย่างยุงตัวเต็มวัยโดยการใช้คนและสัตว์เป็นเหยื่อล่อเพื่อเก็บตัวอย่างยุงที่ออกหากินเวลากลางวันและเวลากลางคืนตามลำดับ ผลจากการสำรวจระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม รวม 8 ครั้ง สามารถจำแนกชนิดตัวอย่างยุงได้ 6 จีนัส 17 ชนิด โดยยุงที่ออกหากินเวลากลางวันส่วนใหญ่เป็นยุงลายสวนส่วนยุงที่หากินเวลากลางคืนส่วนใหญ่เป็นยุงรำคาญ พบยุงก้นปล่อง 8 ชนิดและยุงเสือ 2 ชนิดในมุ้งที่กางให้วัวที่ใช้เป็นเหยื่อล่อจับยุงที่ออกหากินในตอนกลางคืนนอกจากนี้ยังพบลูกน้ำยุงยักษ์ มวนกรรเชียง และแมลงปอ ที่เป็นแมลงที่ทำหน้าที่ควบคุมประชากรยุงในธรรมชาติ และแมลงที่หายากและมีจำนวนลดลงมากคือแมลงทับ และแมลงช้างตัวเต็มวัยอีกด้วย สำหรับการสำรวจความหลากหลายสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินทำการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ในทุกเส้นทางสำรวจแล้วนำมาสกัดเอาตัวอย่างสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินด้วย Berlese Tullgren Funnel จากการเก็บตัวอย่างดินรวม 3 ครั้ง แต่ละครั้งเก็บตัวอย่างดิน มากกว่า 20 จุด แต่จำนวนสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินที่พบบริเวณเส้นทางที่สำรวจ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นเพียง 246 ตัว สัตว์ขาปล้องฯที่พบมากที่สุดคือเห็บและไร (Order Acari) (26.06 %) และแมลงในอันดับ Diptera (19.3 %)
บทคัดย่อ (EN): Biodiversity of medically important arthropods and soil micro arthropods in Plant Protected Area, Amnatcharern Province has been studied in cooperation with local researchers. There were 6 genus and 17 species of mosquitoes collected by human and animal baiting together with mosquito larvae collected from natural breeding places. The most abundant diurnal mosquito was the Asian tiger mosquito, (Aedes albopictus). Culex spp. was the most abundant nocturnal mosquito. There were 8 species of Anopheline mosquito and 2 species of Mansonia spp. have been found in the mosquito net of animal baiting. Natural predators of mosquito such as Toxorhynchites larvae, water boatman and dragonflies were found in the area. The primary vector of Dengue fever, Aedes aegypti, has not been collected in the study area. More than 60 soil samples were extracted for soil micro arthropods using Berlese Tullgren Funnel. The majority of soil micro arthropods were acari (26.06 %) and dipteran (19.3%).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการสำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ
มหาวิทยาลัยมหิดล
30 กันยายน 2555
การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขาวังเขมร จังหวัดกา ความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขาวังเขมร จังหวัดกาญจนบุรี ความหลากหลายของเชื้อราจากดิน ซากพืชและการนำไปใช้ประโยชน์ การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการสำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่าไม้ใน พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ รูปแบบทำการเกษตรผสมผสานกิจกรรมพืชและสัตว์ การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการสำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ด้านอนุกรมวิธาน ความหลากหลาย และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่พบในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวั การสำรวจและรวบรวมความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชใน Genus Antidesma เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาใช้ประโยชน์ต่อไป การสำรวจความหลากหลายของสัตว์ขาข้อขนาดเล็กในดิน บริเวณแนวกันไฟ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก