สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูผักของเกษตรกรบ้านเสริมสุข ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
พินิจ เชาวน์ตระกูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูผักของเกษตรกรบ้านเสริมสุข ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พินิจ เชาวน์ตระกูล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: จากการศึกษา เรื่อง การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูผักของเกษตรกรบ้านเสริมสุข ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร สภาพการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูผักของเกษตรกร สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการที่มีผลต่อการปฏิบัติ โดยใช้สารเคมีของเกษตรกร ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกผัก ขนาดพื้นที่ปลูกผัก จำนวนครั้ง ที่ปลูกผักในรอบปี แรงงานในครัวเรือน รายได้ การเป็นหนี้สิน ประสบการณ์ในการใช้สารเคมี และการเข้ารับการฝึกอบรม ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ เกษตรกรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 93.6 มีอายุเฉลี่ย 43 ปี ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 68.8 มีประสบการณ์ในการปลูกผักเฉลี่ย 3 ปี มีพื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 3.8 ไร่ และปลูกผัก 1 ครั้งในรอบปี ร้อยละ 77.6 จำนวนแรงงาน พบว่า เกษตรกรใช้แรงงานเฉลี่ย 4 คนต่อครอบครัว มีรายได้ทั้งหมดในครอบครัวเฉลี่ย 66,288 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 63,844.80 บาท รายได้จากการปลูกพืช แบ่งเป็นรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 8,800 บาท รายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 18,530 บาท รายได้จากการปลูกพืชไร่เฉลี่ย 46,090.16 บาท และรายได้จากการปลูกพืชอื่น ๆ เฉลี่ย 20,250 บาท เกษตรกรมีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 8,254.05 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการค้าขายเฉลี่ย 16,000 บาท และรายได้จากการรับจ้างเฉลี่ย 2,570.37 บาท การกู้เงิน พบว่า เกษตรกรไม่ได้กู้เงิน ร้อยละ 63.2 และมีการกู้เงินเฉลี่ย 16,391.30 บาท และมีการกู้เงินจากแหล่งอื่น ๆ ร้อยละ 86.9 ประสบการณ์ในการใช้สารเคมี พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการใช้สารเคมีเฉลี่ย 8 ปี เกษตรกรได้รับความรู้จากตัวแทนจำหน่ายสารเคมี ร้อยละ 98.4 จากเอกสารคำแนะนำ ร้อยละ 85.6 และจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 77.6 และไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม ร้อยละ 92.0 ชนิดผักที่เกษตรกรปลูก พบว่า ปลูกผักชี ร้อยละ 63.2 ผักกาดขาวปลี ร้อยละ 33.6 ปลูกกะหล่ำปลี ร้อยละ 14.4 และปลูกผักกาดหัว ร้อยละ 10.4 การปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูผัก พบว่า เกษตรกรไม่ปฏิบัติมากกว่า ร้อยละ 80 ใน 9 หัวข้อ จาก 30 หัวข้อ และใน 9 หัวข้อที่เกษตรกรไม่ปฏิบัติมากกว่า ร้อยละ 80 คือ 1) หัวข้อร่างกายเปียกหรือเปื้อนสารเคมีรีบล้างออกด้วยสบู่ทันที 2) หัวข้อการใส่หน้ากากขณะพ่นสารเคมี 3) หัวข้อการสวมเสื้อผ้ามิดชิดเพื่อป้องกันละอองสารเคมี 4) หัวข้อการสวมหมวกป้องกันละอองสารเคมี 5) หัวข้อการพ่นสารเคมีในช่วงเช้าหรือตอนเย็น 6) หัวข้อการอยู่เหนือทิศทางลมขณะพ่นสารเคมี 7) หัวข้อไม่พ่นสารเคมีเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยมีการหยุดพัก 8) หัวข้อไม่ผสมสารเคมีหลายชนิดในการฉีดพ่นแต่ละครั้ง 9) หัวข้อการนำภาชนะสารเคมีที่ใช้หมดแล้วนำฝังหรือเผา การพิสูจน์สมมติฐาน พบว่า เกษตรกรที่มีสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไปนี้ต่างกัน คือ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกผัก ประสบการณ์ในการใช้สารเคมี และการเข้ารับการฝึกอบรมต่างกัน จะมีการปฏิบัติในการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องต่างกัน ปัญหาของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีปัญหาสารเคมี ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง ร้อยละ 30.4 การใช้สารเคมีหลายชนิดมากเกินไป ร้อยละ 23.2 ขาดเงินทุน ร้อยละ 21.6 ขาดความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 12.8 ข้อเสนอแนะ พบว่า เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้มีการอบรมเรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ร้อยละ 31.2 ให้มีแปลงสาธิตการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ร้อยละ 24.8 และให้มีการสนับสนุนน้ำหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ และสอนวิธีการทำ ร้อยละ 23.2
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านเสริมสุข ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูผักของเกษตรกรบ้านเสริมสุข ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2552
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกร ตำบลสีมุม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมืองอุบลราชธานี การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดลำปาง สภาพการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักในตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สภาพการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงขยายพันธุ์ข้าวของเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรจังหวัดนครพนม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก