สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
นางสาววิลาสลักษณ์ ว่องไว - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Test on Appropriated Technologies for Para Rubber (Hevea brasiliensis) Production in the Upper North
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางสาววิลาสลักษณ์ ว่องไว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิลาสลักษณ์ ว่องไว
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนดำเนินการที่ สวนยางของเกษตรกร จังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ ระหว่างปี 2554-2556 เพื่อหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสำหรับยางพาราทั้งช่วงก่อนเปิดกรีด และหลังเปิดกรีด คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานวิจัย จังหวัดละ 8 ราย รวม 24 ราย เป็นยางก่อนเปิดกรีด จังหวัดละ 4 ราย หลังเปิดกรีด จังหวัดละ 4 ราย สำรวจสภาพพื้นที่ การปลูกยาง การจัดการปุ๋ยยางพาราของเกษตรกร เก็บตัวอย่างดิน วิเคราะห์สมบัติทางเคมี นำไปประเมินระดับธาตุอาหารและทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง อัตราตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง (2554) เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร จากผลการดำเนินงานในยางพาราก่อนการเปิดกรีดพื้นที่จังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ พบว่า การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้ยางมีการเจริญเติบโต วัดจากเส้นรอบลำต้น เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลอง 14.87 เซนติเมตรหรือเฉลี่ย 7.44 เซนติเมตรต่อปี มากกว่าการใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 1.8 แต่ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ ร้อยละ 16.2 หรือไร่ละ 202 บาทต่อปีส่วนยางหลังการเปิดกรีด การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจะให้ผลผลิตยางสูงกว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกรทั้ง 2 ปีการทดลอง โดยได้ผลผลิตสูงกว่า ร้อยละ 10.1 4.11 และ 4.6 สำหรับจังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ตามลำดับ ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 6.27 รายได้เพิ่มขึ้น 2,060 บาทต่อไร่ ผลผลิตยาง ปี 2555 ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตมากกว่าในปี 2554 โดยแปลงปลูกยางพันธุ์ RRIT 251 ให้ผลผลิตสูงสุด 627 กิโลกรัม/ไร่/ปี เมื่อใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เปรียบเทียบกับ 563 กิโลกรัม/ไร่/ปีเมื่อใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร สามารถพัฒนาเป็นแปลงตัวอย่างการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับยางพารา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรได้ ผลผลิตยางจาก จังหวัดพะเยามีค่าเฉลี่ยมากกว่า ผลผลิตยางจาก จังหวัดน่าน และ จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของพืช โดยทำการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อน พิจารณาใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับค่าวิเคราะห์ดินเพื่อทำให้ยางมีการเจริญเติบโตดี ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วย
บทคัดย่อ (EN): The testing of appropriate techniques for rubber tree (Hevea brasiliensis) in the upper north of Thailand were conducted in Prayao, Nan, and Chiangmai provinces from 2011 to 2013. The aim of this study was to increase the effectiveness of fertilizer for both young rubber and tapped rubber. Data were collected from 24 plantations (8 plantations per province) in Prayao, Nan, and Chiangmai. The testing sites were divided as follows: (1) four plantations were the young rubber tree areas, (2) four plantations were the tapping rubber tree. The data for the survey area, planting, and fertilizer management according to soil nutrient analysis were collected. The chemical fertilizer was applyied according to soil nutrient analysis and the recommendations of the Rubber Research Institute of Thailand (RRIT) compared to the conventional practice (CP). The results showed that, in the section of the young rubber experiment, the girth of rubber trees which were treated with RRIT recommended fertilizer was increased 1.8% (7.44 cm/year) compared to trees treated with conventional fertilizer. The cost of chemical fertilizer was decreased by 16.2% (202 baht/rai/year). In addition, for the tapped rubber experiment, the latex rubber product also increased when compared to that of the conventional fertilizer treated trees by 10.1, 4.11, and 4.6% in Prayao, Nan, and Chiangmai, respectively. These results increased rubber yield 6.27% (income increased 2,060 bath/rai). The rubber dry sheet yield in 2012 was higher than that of 2011. Moreover, the maximum latex rubber product was also showed by RRIT 251 verity (627 kg/rai/year) and treated with chemical fertilizer following RRIT method compared to that of CP (563 kg/rai/year). The rubber product of Prayao had maximum yield followed by Nan, and Chiangmai. Consequently, farmers should select the appropriate way of applying chemical fertilizer according to the results of soil mineral analysis for the maximum profit.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2556
การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา พื้นที่ภาคเหนือตอนบน การใช้สื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก