สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาป่นระบบประกันคุณภาพ
พูลศรี ทัตจำนงค์, รัชดา ตังคณานุกุลชัย, พูลศรี ทัตจำนงค์, รัชดา ตังคณานุกุลชัย - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาป่นระบบประกันคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): A Study on Good Manufacturing Practices : GMP production fishmeal system
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาป่นระบบประกันคุณภาพ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนของโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพ GMP และโรงงานปลาป่นทั่วไปของภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งปัญหาการผลิตและการตลาดปลาป่น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการที่จะนำไปปรับปรุงให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้านการพัฒนาคุณภาพการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร ผลการศึกษาพบว่า ปลาป่นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ที่ได้รับจากปลาเป็ดปลาชนิดอื่นและเศษก้างปลาหัวปลาจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง คือจากปลาเป็ดร้อยละ 55.31 จากก้างปลาหัวปลาและเศษซูริมิ โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำทะเล ร้อยละ 44.69 ราคาวัตถุดิบถูกกำหนดจากการคิดทอนค่าราคารับซื้อปลาป่นของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปรายใหญ่ที่ประกาศในแต่ละช่วงเวลามากำหนดราคารับซื้อปลาเป็ดอีกทอดหนึ่งในราคาปลาป่นต่อราคาปลาเป็ดประมาณ 1 ต่อ 4 ราคาวัตถุดิบจะกำหนดโดยโรงงานผลิตปลาป่น ผู้ผลิตปลาป่นมีจำนวนมากกว่าผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งมีฐานะการเงินที่มั่นคงกว่า ราคาซื้อขายปลาป่นจึงขึ้นอยู่กับ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปรายใหญ่ของประเทศไทย ในปี 2552 ต้นทุนการผลิตปลาป่นของโรงงานที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP ของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.67 บาท เป็นต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด 31.35 บาท คิดเป็นร้อยละ 98.99 ของ ต้นทุนรวมทั้งหมดเป็นค่าวัตถุดิบ 26.08 บาท หรือร้อยละ 82.35 รองลงมาเป็นค่าเชื้อเพลิง ค่าดอกเบี้ย และค่าเสียโอกาสเงินทุน และค่าแรงงาน ตามลำดับ มีต้นทุนคงที่ 0.32 บาท หรือร้อยละ 1.01 โดยเป็นค่าเสื่อมเครื่องจักรและรถยนต์ ค่าปรับปรุงโรงงานสุขลักษณะโรงงาน ขายปลาป่นโปรตีน 55 %ได้กิโลกรัมละ 31.50 บาท ได้รับผลตอบแทนขาดทุนกิโลกรัมละ 0.17 บาท หากพิจารณาต้นทุนที่เป็นเงินสดรวม 30.24 บาท จะได้กำไรกิโลกรัมละ 1.26 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.17 ของกำไรสุทธิต่อต้นทุนที่เป็นเงินสด อัตราการแปรรูปเฉลี่ยใช้ปลาเป็ดและเศษหัวปลาวัตถุดิบ 3.99 กิโลกรัม ได้ปลาป่น 1 กิโลกรัม แต่สำหรับปลาป่นที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP แล้วจะได้ Premium อีกกิโลกรัมละ 0.50 – 1.00 บาท ทำให้ได้กำไรประมาณกิโลกรัมละ 0.33-0.83 บาท ส่วนต้นทุนการผลิตปลาป่นของโรงงานทั่วไป เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.37 บาท เป็นต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด 30.09 บาท คิดเป็นร้อยละ 99.08 เป็นค่าวัตถุดิบ 24.26 บาท รองลงมาได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสเงินทุน และค่าแรงงาน ตามลำดับ มีต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นเงินสด 0.28 บาท ขายปลาป่นเฉลี่ยโปรตีน 55 % กิโลกรัมละ 30.25 บาท ได้รับผลตอบแทนขาดทุนกิโลกรัมละ 0.12 บาท หากพิจารณาต้นทุนที่เป็นเงินสดรวม กิโลกรัมละ 28.25 บาท จะได้กำไรกิโลกรัมละ 2.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.08 ของกำไรสุทธิต่อต้นทุนที่เป็นเงินสด อัตราการแปรรูปเฉลี่ยปลาเป็ดและเศษก้างปลาหัวปลาวัตถุดิบ 3.90 กิโลกรัมได้ปลาป่น 1 กิโลกรัม ส่วนวิถีการตลาด ผู้ผลิตปลาป่นขายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ร้อยละ 94.85 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด และขายให้ตัวแทนหรือนายหน้าร้อยละ 3.03 ส่งออกร้อยละ 1.65 และที่เหลืออีกร้อยละ 0.47 ขายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ไก่ กุ้ง ผลการศึกษายังพบว่า ผู้ประกอบการที่มีการปรับปรุงโรงงานเข้าสูระบบ GMP ซึ่่งส่วนใหญ่ได้การรับรองระบบ GMP ในปี 2552 สามารถทำให้ปลาป่นเป็นที่ยอมรับของตลาดในประเทศและต่างประเทศ และพบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐเจรจาให้เอกชนไปทำการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาปลาป่นมีสิ่งเจือปน เสนอแนะให้มีการฝึกอบรมชาวประมงในการปรับปรุงคุณภาพปลาเป็ด ปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เสนอแนะให้มีการวิจัยและพัฒนาวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาป่นระบบประกันคุณภาพ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2553
เศรษฐกิจการผลิตการตลาดผลิตภัณฑ์ปลาป่นภาคใต้ตอนบน ปี 2550 การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลาสวยงาม เศรษฐกิจการผลิตการตลาดปลากระพงขาวในกระชัง เศรษฐกิจการผลิตการตลาดกุ้งก้ามกราม เศรษฐกิจการผลิตและการตลาดหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล ในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โครงการวิจัยศึกษาเศรษฐกิจการผลิตยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศักยภาพการผลิตการตลาดกระบือนม การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชันและไพล การศึกษาการผลิต การตลาด ชาอินทรีย์และชาทั่วไป

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก