สืบค้นงานวิจัย
ผลของแมงกานีสต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่
มัลลิกา วารีรัตน์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของแมงกานีสต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Manganese on Growth and Development of Lychee
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มัลลิกา วารีรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Mallika Wareerat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ตระกูล ตันสุวรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Tragool Tunsuwan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลของแมงกานีสต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ พันธุ์จักรพรรดิ อายุ 2 ปีที่ปลูกในถังซีเมนต์ที่มีปริมาตร 100 ลิตร โดยใช้ทรายละเอียดเป็นวัสดุปลูก ได้ทำการทดลองที่เรือนเพาะชำ ภาควิชาพืช สวนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2538 ถึงเดือนมีนาคม 2540 ทำการศึกษาผลของแมงกานีสที่มีความเข้มข้น 2.18, 4.18, 6.18, 8.18 และ 10.18 ส่วนต่อล้าน ปรากฏว่าแมงกานีสทั้ง 5 ระดับความเข้มข้น ไม่มีผลแตกต่างกันทางสถิติต่อปริมาณดอกสมบูรณ์เพศ และดอกเพศผู้ต่อช่อ แต่มีผลต่อปริมาณการสะสมธาตุอาหารในใบลิ้นจี่ แมงกานีสที่ระดับความเข้มข้นสูง จะทำให้มีปริมาณไนโตรเจนสูง และทำให้ปริมาณโปแตสเซียมที่สะสมอยู่ในใบมีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อการสะสมปริมาณฟอสฟอรัสแมงกานีส และเหล็ก จากการศึกษา และการสังเกต พบว่า แมงกานีสที่ระดับสูงทำให้ต้นลิ้นจี่เกิดอาการผิดปกติขึ้น โดยที่ระดับ 6.18 ส่วนต่อล้าน ทำให้ใบแคระแกรน บิดงอ ใบหนา มีขนที่ท้องใบ และที่ระดับ 10.18 ส่วนต่อล้าน มีอาการใบเหลืองซีด และมีจุดสีน้ำตาลบนแผ่นใบ
บทคัดย่อ (EN): The effect of manganese on growth and development of lychee (Litchi chinensis Sonn.) cv. Jakrapad were conducted. The two years old lychee trees were grown in 100 liter pot filled with fine sand during October 1995 to March 1997 at the Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University. In this study, the concentrations of manganese were 2. 18 , 4. 18 , 6.18 , 8.18 and 10.18 ppm. It revealed that manganese at all treatments showed no significant difference in number of both perfect and male flowers per inflorescence. Manganese affected the mineral content of the leaves, at higher rate of concentration caused an increase of nitrogen and thus potassium content accumulated significantly. But at any rates there were no influence on phosphorus, manganese and iron contents. The observations of this studies were found that the high concentrations of manganese caused in toxicity on lychee trees. At 6.18 ppm. reduced leaf size, curled and thick leaves, hairy leaves on the lower surface. Whereas at 10.18 ppm,, caused chlorosis and necrosis on the leaves.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2542
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247294/169161
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของแมงกานีสต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2542
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการออกดอกติดผลของลิ้นจี่ ผลกระทบของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก ผลของอัตราการให้ปุ๋ยทางดินต่อการเจริญเติบโตของวานิลลา ผลของขนาดหัวต่อการเจริญเติบโตของ Globba rosea Gangnep. ผลของต้นตอต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวาญี่ปุ่น ผลของกรดจิบเบอเรลลิกต่อการเจริญเติบโตของปทุมมา ผลของสารสกัดหยาบจากข่าต่อการงอกและการเจริญเติบโต ของพืชปลูกและวัชพืชบางชนิด ผลของปุ๋ยมูลไก่ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง สรีรวิทยาการเจริญเติบโตและผลผลิตของทานตะวันลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก