สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการใช้ไบโอชาร์ต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม มวลชีวภาพและสังคมของ จุลินทรีย์ดินในพื้นที่ปลูกผักระบบปลอดสารพิษ (GAP)
ฎานุภา อยู่อุ่นพะเนา, มนต์ระวี พีราวัชร, ดารารัตน์ โฮตาก้า - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการใช้ไบโอชาร์ต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม มวลชีวภาพและสังคมของ จุลินทรีย์ดินในพื้นที่ปลูกผักระบบปลอดสารพิษ (GAP)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of biochar utilization on soil microbial activities, biomass and community for vegetable production in good agricultural practice
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบสังคมของจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ กิจกรรมเอนไซม์ และการใช้คาร์บอน เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และความชุกชุมของจุลินทรีย์ ในการใช้ถ่านชีวภาพที่ผลิตจากถ่านแกลบในอัตรา 1,000 1,500 และ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับปรุงดิน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งธาตุคาร์บอนให้กับจุลินทรีย์ในพื้นที่การเกษตรแบบระบบปลอดสารพิษ ณ ตำบล ดอนแร่ อำเภอ เมือง จังหวัด ราชบุรี ในการปลูกแตงกวาปีที่ 1 วันที่ 24 เมษายน - 11 มิถุนายน 2558 และปีที่ 2 วันที่ 30 พฤษภาคม - 21 กรกฎาคม 2559 ซึ่งมีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย วิธีและการแปลผลวิเคราะห์ได้แก่ การนับและจำแนกในอาหารเลี้ยงเชื้อ การวัดค่ากิจกรรมเอนไซม์ ?-glucosidase การวัดการใช้คาร์บอนของจุลินทรีย์จากการใช้แหล่งอาหารชนิดต่างๆ การวัดปริมาณมวลชีวภาพคาร์บอน และจากค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพต่างๆ ผลที่ได้ปรากฎว่าทุกวิธีวิเคราะห์ให้ผลสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน คือการใช้ถ่านชีวภาพมีผลต่อทั้งกลุ่มของจุลินทรีย์ และปริมาณจุลินทรีย์ในระยะยาว โดยตำรับการทดลองที่มีการใส่ถ่านชีวภาพจะมีความหลากหลายของจุลินทรีย์ และปริมาณมากกว่าตำรับการทดลองที่ไม่มีการใส่ถ่านชีวภาพ โดยจะเห็นผลมากที่สุดในตำรับการทดลองที่ 6 ที่ใส่ปริมาณถ่านชีวภาพมากที่สุด และจะมีผลในระยะยาว โดยในปีที่ 2 จะมีความแตกต่างชัดเจนว่าการใส่ถ่านชีวภาพมีผลต่อความหลากหลายของจุลินทรีย์ และปริมาณ แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมี ส่งผลกระทบต่อกลุ่มของจุลินทรีย์ และปริมาณจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน เนื่องจากจะพบว่าในตำรับการทดลองที่ 2 มีความหลากหลายของจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์แตกต่างจากตำรับการทดลองที่ 1 ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ระยะการเจริญเติบโตของพืช (ช่วงอายุ) ที่แตกต่างกัน อายุ 15 30 45 และ 60 วัน และจำนวนครั้งที่ทำการปลูก (ปีที่ 1 และ 2) มีผลต่อกลุ่มของจุลินทรีย์ และปริมาณ ทำให้มีโครงสร้างสังคมจุลินทรีย์แตกต่างกันในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งปริมาณจุลินทรีย์ในปีที่ 2 มีค่าต่ำกว่าปีที่ 1 แต่การใส่ถ่านชีวภาพจะช่วยบรรเทาไม่ให้ปริมาณจุลินทรีย์ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงพบว่าปริมาณจุลินทรีย์ในตำรับการทดลองที่ 3-6 ลดลงน้อยกว่าการไม่ใส่ถ่านชีวภาพในตำรับการทดลองที่ 1
บทคัดย่อ (EN): The comparisons of the differences of microbial community, relative abundance, enzyme activity and carbon utilization were analysed to study microbial diversity by using biochar made from rice husk at 1,000, 1,500 and 2,000 kg.rai-1 and association with chemical fertilizer in good agricultural practice area. Biochar was used for improving soil and being microbial habitat and C sources for soil microorganisms. Treatments were proceeded to plant cucumber at Tambon Don Rae Amphoe Muang Ratchaburi Province during 24 April - 11 June 2015 for crop 1 and 30 May-21 July 2016 for crop 2. The analysis were measured and interpreted by various methods, including plate counting, ?-glucosidase activity assay, multiple induced respiration, biomass C and diversity indices. The results analysed from all methods demonstrated similar trend that was using biochar affected microbial community and abundance in the long term. Therefore treatments treated by biochar performed higher microbial community and abundance than non-using biochar. Treatment 6 added the highest biochar showed the best result in the long term. At 2nd year, there were clearly difference that biochar enchanced microbial diversity and more abundance. However, the supply of chemical fertilizer could affect analytical values too according to the results of treatment 2 which were different from treatment 1. In addition, the growth stage (15, 30, 45 and 60 day) and number of crop caused difference of microbial community and abundance at various time periods. Those analytical values in 2nd crop were lower than 1st crop nevertheless, biochar utilization could retrieve the reduction of microorganisms consequently, microbial abundance in treatment 3-6 were decreased less than treatment 1.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-07-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการใช้ไบโอชาร์ต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม มวลชีวภาพและสังคมของ จุลินทรีย์ดินในพื้นที่ปลูกผักระบบปลอดสารพิษ (GAP)
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ผลของการปรับปรุงดินกรดด้วยถ่านชีวภาพต่อชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ในการปลูกข้าว การพัฒนาคาร์บอนชีวภาพ (ถ่านชีวภาพที่ตรึงด้วยจุลินทรีย์) สำหรับการย่อยสลายสารเคมีปราบศัตรูพืชในน้ำ ศึกษาการใช้ไบโอชาร์ต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม มวลชีวภาพและสังคมของจุลินทรีย์ดินในพื้นที่ปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์ ความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินในพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอไพรบึงจังหวัดศรีสะเกษ ความสัมพันธ์ของการใช้สารอินทรีย์ต่างคุณภาพเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมกับจุลินทรีย์ดิน การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ภาคใต้ของประเทศไทย ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผักและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดปทุมธานี ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผัก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดนครนายก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก