สืบค้นงานวิจัย
การติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์เมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโต
รัตนาภรณ์ กุลชาติ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์เมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโต
ชื่อเรื่อง (EN): Aspergillus flavus infection and aflatoxin contamination of six peanut genotypes grown under terminal drought
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนาภรณ์ กุลชาติ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ช่วงปลายของการเจริญเติบโตของถั่วลิสง เป็นช่วงของการเติมเต็มเมล็ดและการสุกแก่ การกระทบแล้งในช่วง นี้ นอกจากทำให้ผลผลิตลดลงแล้วยังเพิ่มโอกาสการติดเชื้อราที่สร้างสารอะฟลาทอกซินในเมล็ด ซึ่งถั่วลิสงพันธุ์ที่ทนแล้ง สามารถลดการติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบแล้งในระยะสร้างฝักถึงเก็บเกี่ยวต่อการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในเมล็ดถั่วลิสง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินของถั่วลิสง และเพื่อหาความ สัมพันธ์ระหว่างลักษณะสรีรวิทยาการทนแล้งกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์ ทำการทดลองในสภาพไร่ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize complete block design (RCBD) มี 4 ซ้ำ ปลูกทดสอบ 2 ปี ระหว่างปี 2547/2548 และ ปี 2548/2549 ทำการปลูกเชื้อรา A. flavus ทั่วทั้งแปลงทดลอง เมื่อถั่วลิสงอายุ 30 วันหลังปลูก และควบคุมความชื้นดินที่ 1/3 ของความจุสนาม เมื่อ 80 วัน หลังปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว บันทึกข้อมูลลักษณะการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ข้อมูลผลผลิต และข้อมูลทางด้านสรีรวิทยา (SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) และ Specific leaf area (SLA)) ผลการศึกษา พบว่าถั่วลิสงพันธุ์ที่ต่างกันเมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโตในแต่ละปีมีการติดเชื้อรา A. flavus และ การปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยพบว่าพันธุ์ KKU 60 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus และปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินต่ำสุด (14% และ 553 ppb ตามลำดับ) ขณะที่พันธุ์ KKU 72-1 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus มากที่สุด (30%) และพันธุ์ KKU 1 มีปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมากที่สุด (898 ppb) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อรา A. flavus กับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบระหว่าง SCMR กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง SLA กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อน สารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือก พันธุ์ถั่วลิสงให้ทนแล้งและลดการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=210.pdf&id=573&keeptrack=23
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์เมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2549
เอกสารแนบ 1
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ผลของสารเทอราคอตเต็มและสารดูดน้ำโพลิมเมอร์ต่อการเจริญเติบโตและความทนแล้งของกล้าไม้ยืนต้น ศึกษาการสกัดสารแอนโธไซยานินจากซังข้าวโพดสีม่วงเพื่อควบคุมเชื้อรา อะฟลาทอกซินในถั่วลิสงและข้าวโพด ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การยับยั้งอะฟลาทอกซิน บี 1 โดยการใช้สายพันธุ์ไม่ผลิตสารพิษของเชื้อรา Aspergillus flavus การศึกษาและพัฒนาอ้อยสายพันธุ์ทนแล้ง การประยุกต์ใช้วิธีพื้นผิวตอบสนองในการทำนายอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillus section Flavi ที่สร้างสารอะฟลาทอกซิน: ผลของปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลของความร้อนคลื่นความถี่วิทยุต่อการควบคุมเชื้อรา Aspergillus flavus สารพิษอะฟลาทอกซินบี 1 และคุณภาพการหุงต้มของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 บรรจุถุงที่มีความหนาแน่นต่างกัน ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 23 เรื่อง การปนเปื้อนเชื้อราและอะฟลาทอกซินในถั่วและผลิตภัณฑ์ถั่วพร้อมบริโภค การพัฒนาจุลินทรีย์หัวเชื้อต้นแบบสำหรับผลิตชีวภัณฑ์เพื่อใช้ควบคุมการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ของ Aspergillus flavus ในไซเลจข้าวโพด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก