สืบค้นงานวิจัย
ผลของการควั่นกิ่ง และการรัดกิ่ง ที่มีผลต่อการ ออกดอก ติดผล และ คุณภาพของผลเม่าหลวง
สุจิตรา เจาะจง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: ผลของการควั่นกิ่ง และการรัดกิ่ง ที่มีผลต่อการ ออกดอก ติดผล และ คุณภาพของผลเม่าหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Cincturing and Tightening on Flowering Fruit Settinand Quality of Antidesma thwaitesianum Muell.Arg
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุจิตรา เจาะจง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลของการควั่นกึ่ง รัดกึ่ง ควั่นพร้อมรัดกึ่ง และไม่ควั่นและ ไม่รัดกิ่ง (ตัวควบคุม) ต่อการออก ดอก ติดผล และคุณภาพของผลเม่าหลวงสายต้นฟ้าประทาน ทำการทคลองระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนพฤยภาคม 2551 ในแปลงเกษตรกร ตำบลสร้างค้อ อำภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และคณะ ทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาขตสกลนคร วางแผนการทคลอง แบบ Randomized Complete Block Design RCBD) พบว่าหลังจากทำการ ควั่นกึ่ง รัดกิ่ง ควั่นพร้อมรัด กึ่ง และ ไม่ควั่นและไม่รัดกึ่ง ในเดือนกันยายน 2550 ทั้ง 4 วิธีการมีผลต่อเปอร์เซ็นต์การแทงช่อดอก และผลผลิตเฉลี่ยต่อกึ่งที่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P-0.05) โดยวิธีการรัดกึ่งมีเปอร์เซ็นต์ การแทงช่อดอก และผลผลิตเฉลี่ยต่อกึ่งสูงที่สุดเท่า 94.81 % และ 1,623.16 กรัมต่อกึ่งตามลำดับ อย่างไรก็ตามกลับพบว่าทั้ง 4 วิธีการไม่มีผลต่อจำนวนดอกต่อช่อ น้ำหนักช่อดอก และความยาวช่อคอก น้ำหนักช่อผล จำนวนผลต่อช่อ น้ำหนักผล เปอร์เซ็นต์การสุกของผล เปอร์เซ็นต์การติดของผล ปริม าณ แทนนิน ปริมาณกรด ปริมาณวิตามินซี และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (TSS) เมื่อทำการเปรียบเทียบปริมาณการสะสม total nitrogen (TN) และ total nonstiructural carbohydrate (TNC) ในใบและกึ่งของทั้ง 4 วิธีการทดลองพบว่า การไม่ควั่นและไม่รัดกิ่ง (ตัวควบคุม) มีปริมาณการสะสมในโตรเจน (total nitrogen ; TV)ในใบ สูงสุด และ วิธีการรัดกิ่งมีปริมาณการสะสม ในโตรเจน (total nitrogen ; TN) ในกึ่งสูงที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีการควั่นกึ่ง รัดกึ่ง และ ควั่นพร้อมรัดกึ่ง ส่วนปริมาณการสะสมคาร์โบไฮเดรต (total nonstructural carbobydrate ; TNC) ในใบและกึ่งพบว่า วิธีการรัด และ ควั่นพร้อมรัดกิ่ง มีปริมาณการสะสมคาร์ โบไฮเดรต (total nonstructural carbobydrate ; TNC) สูงกว่าการควั่น และ ไม่ควั่นและ ไม่รัดกิ่ง (ตัวควบคุม)
บทคัดย่อ (EN): Effect of cincturing, tightening, cincturing together with tightening and not cincturing and do not tightening (control) on flowering fruit setting and quality of Mao laung (Antidesma thwaitesianum Muell.Arg.) Phapatan accessions, during October 2006 - May 2008. In located plant plot at a private orchard in Sang Kho Phu Phan District, Sakon Nakhon Province and Faculty of Natural Resources Rajamangala University of Technology ISAN Sakon Nakhon campus. The experiment was in ramdomized complete block design (RCBD). The result shown that 4 methods had effected significant on percentage of flowering and average fruit yield per branch (p<0.05). Tightening of method was highest percentage of flowering and average fruit per branch (94.81% and 1,623.16 g., respectively). However 4 methods were no effected on number of flower per inflorescence , inflorescence weight, inflorescence long, infructescence weight , fruit per infructescence, of fruit weight, percentage of fruit setting, percentage of maturation fruit, tannin, acids, vitamin C and total soluble solids (TSS) When compared to the accumulation of total nitrogen (TN) and total nonstructural carbohydrate (TNC) in leaves and shoot of four methods. The result showed that not cincturing and do not tightening (control) has the highest of total nitrogen (TN) accumulation in leaves. And tightening has the highest of total nitrogen (TN) accumulation in shoot when compared with the cincturing, tightening, and cincturing together with tightening. For accumulation of total nonstructural carbohydrate (TNC) in leaves and shoot, the results showed the both of tightening and cincturing together with tightening has total nonstructural carbohydrate (TNC) accumulation higher than cincturing and not cincturing and do not tightening (control)
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการควั่นกิ่ง และการรัดกิ่ง ที่มีผลต่อการ ออกดอก ติดผล และ คุณภาพของผลเม่าหลวง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2551
ผลของการควั่นกิ่งต่อการออกดอกของลำไยพันธุ์เพชรสาครทะวาย ผลกระทบของการให้น้ำต่อการออกดอกและติดผลของลำไย การศึกษาวิธีการควบคุมการออกดอกของลำไย ผลของอุณหภูมิ และภาชนะบรรจุที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง คุณภาพของผลเม่าหลวง การศึกษาวิธีการควบคุมการติดผลและพัฒนาคุณภาพของผลลำไย ผลของไนโตรเจนต่อคุณภาพของมะนาว ผลผลิตและคุณภาพของท้อในต่างพื้นที่ ผลของการลดความชื้นต่อการคงคุณภาพของน้ำผึ้งชันโรง ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของผลสตรอเบอรี่หลังการเก็บเกี่ยว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก