สืบค้นงานวิจัย
โครงการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของการปลูกพืชผัก
เพชรดา อยู่สุข - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของการปลูกพืชผัก
ชื่อเรื่อง (EN): Trial on increasing vegetable production and quality.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพชรดา อยู่สุข
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีโครงการหลวงเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการปลูกพืชผัก มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีโครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูกพืชผัก และปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิสังคมของพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง รวมทั้งแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการผลิตพืชผักให้สอดคล้องกับการวางแผนการตลาดภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในปี พ.ศ. 2555 ดำเนินงานในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง 8 พื้นที่ ผลการทดสอบสาธิตสรุปได้ดังนี้ 1) โครงการขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย ทดสอบการจัดการผักกาดขาวปลีด้วยวิธีผสมผสาน และการใช้น้ำหมักชีวภาพ (ไข่ไก่) ผลการทดสอบพบว่า สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ 57.17 เปอร์เซ็นต์ 2) โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่สองและแม่สามแลบ ทดสอบในพริกกะเหรี่ยง โดยนำสารชีวภัณฑ์จากโครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อทดแทนสารเคมีบนพื้นที่สูงมาฉีดพ่นพริกกะเหรี่ยงตั้งแต่ระยะติดผลจนเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่า พริกกะเหรี่ยงยังแสดงอาการของโรคแอนแทรคโนส ในการตรวจวิเคราะห์สารอะฟลาทอกซิน ไม่พบสารอะฟลาทอกซินทั้งในพริกสดและพริกแห้ง และการเปรียบเทียบน้ำหนักสดและแห้งของพริกกะเหรี่ยง พบว่า พริกกะเหรี่ยงสด 3 กิโลกรัม สามารถตากแห้งได้ 1 กิโลกรัม สำหรับการทดสอบวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ พบว่าถุงพลาสติกมีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาดีที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ย 86.54 เปอร์เซ็นต์ 3) โครงการขยายผลโครงการหลวงขุนสถาน ทดสอบในมะเขือเทศพันธุ์โทมัสและพริกหวาน สีแดง สีเหลือง และสีเขียว ภายใต้สภาพโรงเรือนขนาด 23?30 เมตร พร้อมระบบน้ำหยด โดยมีการทดสอบประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B10 ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียว พบว่า มะเขือเทศแปลงควบคุม พริกหวานแปลงทดสอบและแปลงควบคุมไม่พบโรคเหี่ยวเขียว ในขณะที่มะเขือเทศแปลงทดสอบเกิดโรคเหี่ยวเขียว 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากน้ำที่ใช้ในการปลูกพืชมีเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวเขียว สำหรับการจัดการและการเพิ่มผลผลิตพริกหวานด้วยวิธีผสมผสาน พบว่า พริกหวานมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น 13.55 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร 30.95 เปอร์เซ็นต์ 4) โครงการขยายผลโครงการหลวงปางหินฝน ทดสอบในมะเขือเทศพันธุ์โทมัสภายใต้สภาพโรงเรือนขนาด 33?17 เมตร พร้อมระบบน้ำหยด โดยมีการทดสอบประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B10 ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียว พบว่า มะเขือเทศแปลงทดสอบและแปลงควบคุมไม่เกิดโรคเหี่ยวเขียว สำหรับการทดสอบการจัดการและการเพิ่มการเจริญเติบโตของมะเขือเทศด้วยน้ำหมักชีวภาพ (ไข่ไก่) พบว่าทำให้มะเขือเทศมีลำต้นแข็งแรง ใบสีเข้ม สามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของมะเขือเทศได้ 3.16 เปอร์เซ็นต์ 5) โครงการขยายผลโครงการหลวงแม่สลอง สาธิตการจัดการโรคและแมลงศัตรูบล็อคโคโลนีด้วยวิธีผสมผสาน และการใช้น้ำหมักชีวภาพ (ไข่ไก่) พบว่าการระบาดของโรค-แมลงศัตรูพืชลดลง 80 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ 6) โครงการขยายผลโครงการหลวงวาวี ทดสอบการจัดการโรคราแป้งในถั่วลันเตา โดยใช้ถั่วลันเตาพันธุ์ฝักเล็ก จากการทดสอบไม่พบโรคราแป้งและโรคใบจุดในถั่วลันเตาพันธุ์ฝักเล็ก แสดงว่าถั่วลันเตาพันธุ์ฝักเล็กสามารถต้านทานโรคราแป้งและใบจุดได้ดีกว่าพันธุ์ฝักใหญ่ซึ่งพบการระบาดของโรคราแป้งเมื่อถั่วลันเตาเริ่มติดดอก และถั่วลันเตาพันธุ์ฝักเล็กสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 6 ครั้ง ปริมาณผลผลิต 769.3 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่พันธุ์ฝักใหญ่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 2-3 ครั้ง ปริมาณผลผลิต 300-400 กิโลกรัม/ไร่ 7) โครงการขยายผลโครงการหลวงป่าแป๋ ทดสอบการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตผักกาดกวางตุ้ง และกะหล่ำปลีรูปหัวใจด้วยการใช้น้ำหมักชีวภาพ (ไข่ไก่) พบว่า น้ำหมักชีวภาพช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตผักกาดกวางตุ้งได้ 7.69 เปอร์เซ็นต์ และกะหล่ำปลีรูปหัวใจ 10.14 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผักกาดกวางตุ้ง 6.8 เปอร์เซ็นต์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของการปลูกพืชผัก
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพกุหลาบ โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์โครงการหลวง ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง โครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชในโรงเรือน การพัฒนาระบบคุณภาพและวิธีการทดสอบ เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตน้ำตาลด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์คุณภาพแบบรวดเร็ว ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลิตผลพืชผักในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี/องค์ความรู้โครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูก โครงการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนบนพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยการพัฒนาระบบการปลูกพืชผักแบบยั่งยืนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงป่ากล้วย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก