สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation
รัฐพร จันทร์เดช - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation
ชื่อเรื่อง (EN): Preliminary study of gene transfer into rubber tree by using Agrobacterium transformation technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัฐพร จันทร์เดช
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รัฐพร จันทร์เดช
คำสำคัญ: ยางพารา
บทคัดย่อ: วิธีการชักนำให้เกิดแคลลัสและการส่งถ่ายยีนด้วยเชื้อ Agrobacterium เข้าสู่เมล็ดอ่อนของยางพารา โดยทำการเพาะเลี้ยงเมล็ดอ่อนบนสูตรอาหารไม้เนื้อแข็ง (WPM) ที่เติม kinetin (0.5-4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร) และ 2,4- D (1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร) สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้บนสูตรอาหาร WPM ที่เติม kinetin 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 2,4- D 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร จากนั้นนำเมล็ดอ่อนมาส่งถ่ายยีนด้วยเชื้อ A. tumefaciens สายพันธุ์ LBA4404 ที่บรรจุ pStart, pBI121 และ pBInMYB ที่ประกอบด้วย neomycin phosphotransferase (nptII) เป็นยีนคัดเลือก, ?-glucuronidase (gus) เป็นยีนรายงานผล โดยมีประสิทธิภาพในการส่งถ่ายพลาสมิด pStart (60%,), pBI121 (55%) และ pBInMYB (65%) และพบการแสดงออกของยีน gus ในยางพาราดัดแปลงพันธุกรรมที่เจริญบนอาหารคัดเลือก ระบบการส่งถ่ายยีนนี้สามารถนำมาใช้ในการส่งถ่ายยีนที่สนใจเข้าสู่ยางพาราเพื่อดัดแปลงพันธุกรรม คำสำคัญ: ยางพารา การส่งถ่ายยีน แคลลัส GUS assay
บทคัดย่อ (EN): A protocol for callus induction and Agrobacterium-mediated genetic transformation was established for Hevea brasiliensis using young seed as explants. Young seed explants were cultured on woody plant medium (WPM) supplemented with kinetin (0.5 mg/l to 4.0 mg/l), and 2, 4- D (1.0 mg/l). Callus initiation was observed in WPM medium supplemented with 2.0 mg/l kinetin and 1.0 mg/l 2,4- D. Young seed was transformed with A. tumefaciens strain LBA4404 harboring the binary vector, pStart, pBI121 and pBInMYB containing the sequence coding for neomycin phosphotransferase (nptII) as the selectable marker gene, ?-glucuronidase (gus) as the reporter gene. A transformation frequency of pStart (60%), pBI121 (55%) and pBInMYB (65%) were achieved. The transgenic of H. brasiliensis was shown by transient gus expression, their ability to survive in the selection medium. This transformation system can be used to introduce genes of interest into H. brasiliensis lines for genetic improvement. Key words: rubber tree, genetic transformation, callus, gus assay
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2557
การศึกษายีนต้านทานโรคในยางพาราเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ยาง ศึกษาสมบัติทางเทคนิคยางแผ่นดิบคุณภาพชั้นต่าง ๆ จากตลาดกลางยางพารา หาดใหญ่ การศึกษาการแสดงออกของกลุ่มยีนที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยเอทธีลีนของยางพารา โอกาสและความสามารถของอุตสาหกรรมยางพาราไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การศึกษาโครงสร้างธุรกิจการแปรรูปยางพาราและอุตสาหกรรมยางพาราใน จ.สุราษฎร์ธานี การศึกษาการแสดงออกของยีนทั้งระบบเพื่อค้นหายีนที่มีความเกี่ยวข้องกับผลผลิตน้ำยางสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ยางพาราที่ให้ผลผลิตสูง การจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคยางพาราโดยเทคนิค Polymerase Chain Reactio การศึกษาศักยภาพตลาดธุรกิจแปรรูปยางพาราและอุตสาหกรรมยางพาราในจ.สุราษฎร์ธานี การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง กรณีดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจสอบปริมาณความชื้นของไม้ยางพาราแปรรูปด้วยเทคนิคแบบไม่ทำลาย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก