สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชังด้วยอาหารที่ใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน
สุริยัน เสมา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชังด้วยอาหารที่ใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน
ชื่อเรื่อง (EN): Pangasius bocourti) Feed with Different Rate of Soybean meal as a Replacement for Fish Meal in Diet
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุริยัน เสมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suriyan Sema
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ราวี แสงทอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): RaVee Sangthong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Pangsius hypophthalmmus X Pangasius bocourti
บทคัดย่อ: การเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชังด้วยอาหารที่ใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอัตราส่วนต่าง ๆกันคือ 0, 20, 30, 40 และ 50 เปอร์เซ็นต์ อาหารทดลองมีโปรตีนในอาหาร 30 เปอร์เซ็นต์และพลังงานรวม (gross energy, GE) 280 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม ปลามีนํ้าหนักเริ่มต้น เฉลี่ย 39.91+1.23กรัม ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 16.52+1.60 เซนติเมตร เลี้ยงในกระชังขนาด 1.5X1.5X1.5 เมตร จำนวน 100 ตัวต่อกระชัง ให้อาหารปลากินจนอิ่ม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 9 เดือน ผลการทดลองพบว่า ปลาสวายโมงที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่น ที่ระดับ 0 และ 30 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการเจริญเติบโต นํ้าหนักสุดท้ายเฉลี่ย และความยาวสุดท้ายเฉลี่ย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับของการแทนที่โปรตีนจากปลาป่น 20, 40 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่านํ้าหนักเพิ่มต่อวัน เปอร์เซ็นต์นํ้าหนักเพิ่ม ประสิทธิภาพของโปรตีน และโปรตีนที่เพิ่มขึ้นในตัว พบว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับของการแทนที่โปรตีนจากปลาป่น 40 เปอร์เซ็นต์ มีค่าน้อยที่สุด (p<0.05) ขณะที่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับของการแทนที่โปรตีนจากปลาป่น 0, 20, 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ค่าอัตราแลกเนื้อพบว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับของการแทนที่โปรตีนจากปลาป่น 40 เปอร์เซ็นต์ มีค่ามากที่สุด (p<0.05) ส่วนค่า condition factor และอัตรารอด ของปลาที่ได้รับอาหารทุกชุดการทดลองมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อย่างไรก็ตามพบว่าแนวโน้มของค่า hepatosomatic index และ intraperitoneal fat มีค่าน้อยที่สุดที่ระดับการแทนที่โปรตีนจากปลาป่น 50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตพบว่าไม่มีกำไรจากการเลี้ยง การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารสำหรับเลี้ยงปลาสวายโมงที่ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลา
บทคัดย่อ (EN): The experiment on replacement of fish meal protein with soybean meal protein in diet of Stripped Catfish Thai Panga (Pangasius hypophthalmmus x Pangasius bocourti) at level of 0, 20, 30, 40 and 50% was conducted. All diets were formulated isonitrogenous with protein of 30% and isocaloric with gross energy of 280 kcal per 100 g of diet. Fish with initial body weight 39.91±1.23 g and total length 16.52±1.60 cm were cultured in 1.5x1.5x1.5 m polyethelene cage at the stocking rate of 100 fish per cage. They were fed to apparent satiation twice daily for 9 months. The results showed that fish fed with using soybean meal protein substituted at the levels of 0 and 30% of fish meal protein had better (p<0.05) of final body weight and final length than those fed with diets substitututed at the levels of 20, 30 and 50%. The values of average daily weight gain, percentage weight gain, protein efficiency ratio and apparent net protein retention were lowest (p<0.05) for fish fed with diet substituted at the level of 40% whilst the other groups were not different (p>0.05). The values of feed conversion rate seem to be poorest for fish fed with diet substitututed at the level of 40%.There were no differences (p>0.05) among treatments on the values of survival rate and condition factor (k). However hepatosomatic index and intraperitoneal fat seem to be poorest for fish fed with diet substitututed at the level of 40%. While the production cost found that cannot get the benefit from culture. The study concluded that replacement of fish meal protein with soybean meal protein at the level of 30% was optimum for promoting growth performances of fish.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชังด้วยอาหารที่ใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน
กรมประมง
31 ธันวาคม 2551
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
การอนุบาลลูกปลาสวายโมงในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน การใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาเทโพ การใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาเทโพ (เปลี่ยนชื่อโครงการ การใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาเทโพ) การใช้ยีสต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาหารในการเลี้ยงปลาชะโอนในกระชัง ผลของการใช้กากถั่วเหลืองในสูตรอาหารปลาช่อนต่อการเจริญเติบโตของและต้นทุนการผลิต การทดแทนปลาป่นด้วยเนื้อและกระดูกป่นและกากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันชนิดไม่กะเทาะเปลือกในอาหารปลากะพงขาว การใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอาหารกบนา การใช้กากยีสต์แห้ง (dried brewer’s yeast) และกากสาโท (rice wine residual) เป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาสวายโมง (Thai Panga) ถั่วเหลือง : อาหารธรรมดาแต่คุณค่ามหาศาล ทดแทนปลาป่นด้วยใบหม่อนป่นในสูตรอาหารปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก