สืบค้นงานวิจัย
การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์
วิจิตร ชูวา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิจิตร ชูวา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การผลิตข้าวอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร 2) ศึกษาสภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะและความต้องการในการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 231 คน ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดสุรินทร์ที่สมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุดของข้อมูล ค่าสูงสุดของข้อมูล และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยการผลิตข้าวอินทรีย์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มทำเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2547 และเริ่มทำนาอินทรีย์เฉลี่ย 17.1 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ทำนาอินทรีย์ เฉลี่ย 21.5 ไร่ ส่วนใหญ่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ทำนาอินทรีย์โดยวิธีการหว่านและนาดำ เกษตรกรทุกคนไม่เผาตอซัง แต่ไถกลบ ตอซัง เฉลี่ย 15.5 ไร่ เกษตรกร ปลูกพืชปุ๋ยสด เฉลี่ย 6.9 ไร่ โดยนิยมปลูกถั่วพร้ามากที่สุด ซึ่งจะปลูกในเดือน มกราคม - มีนาคม และไถกลบเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน การใส่ปุ๋ยคอก พบว่าเกษตรกรใส่ปุ๋ยคอกเฉลี่ย 4.7 ตัน/ปี ซึ่งส่วนใหญ่มีปุ๋ยคอกไม่เพียงพอสำหรับการทำนาอินทรีย์ ส่วนใหญ่จะใส่ปุ๋ยคอกในเดือน เมษายน - มิถุนายน และมีการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพในอัตรา 2.5 ตัน/ปี โดยนิยมใส่ในเดือน เมษายน - มิถุนายน ส่วนการใช้น้ำหมักชีวภาพ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้น้ำหมักชีวภาพเฉลี่ย 216.5 ลิตร/ปี โดยนิยมใส่เดือน กรกฎาคม - กันยายน เกษตรกรมีการปลูกพืชเสริมก่อนและหลังเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 4.1 ไร่ การระบาดของโรคแมลงศัตรูพืชพบเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น เกษตรกรเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานและเครื่องนวด เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ต่อไร่เฉลี่ย 1,362.2 บาท ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 380.6 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายข้าวอินทรีย์ต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 9.5 บาท เกษตรกรมีรายได้สุทธิต่อไร่เฉลี่ย 2,134.5 บาท ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตข้าวอินทรีย์ พบปัญหาที่สำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ ขาดสระน้ำหรือ แหล่งน้ำ ขาดความมั่นใจในผลผลิตข้าวอินทรีย์ ปัญหาการไถกลบตอซังและการรับรองมาตรฐาน ข้อเสนอแนะของการวิจัย ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุนการปรับรูปแปลงนา ขุดสระน้ำในไร่นา มีการส่งเสริมด้านการตลาดข้าวอินทรีย์ ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ควรมีการสนับสนุนปุ๋ยพืชสดและจัดทำฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสุรินทร์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตข้าวอินทรีย์ ของจังหวัดสุรินทร์
วิจิตร ชูวา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ตำบลตั้งใจ อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์กับเกษตรกรที่ผลิตข้าวเคมีในจังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี การผลิตข้าวอินทรีย์ปี 2546 ของเกษตรกรตำบลเกาะ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ความเป็นไปได้ของการผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตนาชลประทาน สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจของการผลิตข้าวอินทรีย์ การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก