สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลูกยางพารา การผลิตน้ำยางพาราและการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพารา
สุดประสงค์ สุวรรณเลิศ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลูกยางพารา การผลิตน้ำยางพาราและการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development for increasing productivity of Para rubber plantation and latex production and Para rubber wood production.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดประสงค์ สุวรรณเลิศ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลูกยางเริ่มตั้งแต่ขบวนการผลิตกล้ายางพาราชำถุงคุณภาพสูง การเพิ่มเทคโนโยลีการใช้ปุ๋ยและการให้น้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิตจากการผลิตน้ำยางพาราโดยการพัฒนาระบบกรีดแบบใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิตน้ำยางจากวิธีการผสมผสานการใช้เฟินร่วมกับการปลูกยางพารา ตลอดจนการพัฒนาระบบปลูกยางพาราเพื่อใช้ประโยชน์จากไม้ยางพาราสำหรับเป็นวัสดุชิ้นไม้สับในอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการผลผลิต ความสมดุลของธาตุอาหารพืชและสร้างรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรไทย ไฟล์แนบ Proposal ไฟล์แนบ ProgressObjective1. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการผลิตกล้ายางพาราของประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการปลูกยางพาราโดยใช้ต้นยางพาราเป็นวัสดุสำหรับชิ้นไม้สับเพื่ออุตสาหกรรม 3. เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบกรีดยางแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราของประเทศไทย 4. เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการจัดการน้ำและปุ๋ยเพื่อลดระยะเวลาการเปิดกรีดยางพารา ผลผลิตและคุณภาพของน้ำยางพารา 5. เพื่อศึกษาและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำยางและรายได้เสริม โดยวิธีการประยุกต์การปลูกเฟินร่วมกับยางพาราStatusโครงการวิจัยเสร็จสิ้น (ต่อเนื่องปีถัดไป)Expected BenefitGoal Result : 1. ทราบแนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เมล็ดยางพาราเพื่อเพาะต้นตอ (stock) และแนวทางการจัดการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยางพาราในระดับเกษตรกรและระดับห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพสูงสู่เกษตรกร 2. ทราบแนวทางการผลิตกล้ายางพาราชำถุงและยางตาเขียวคุณภาพสูงโดยลดต้นทุนการผลิตและเป็นแนวทางที่เกษตรกรปฏิบัติได้จริง 3. ทราบระบบการปลูกยางพาราที่เหมาะสมสำหรับการผลิตชิ้นไม้สับเพื่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ โดยระบบปลูกที่ใช้ระยะเวลาสั้น 3 – 4 ปี ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวจะทำให้เกิดประโยชน์ 2 ด้าน คือ ประโยชน์จากการได้น้ำยางตามระบบปกติ และระบบที่ได้ชิ้นไม้สับหรือเนื้อไม้ยางพาราสับในระยะสั้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รายได้เพิ่มมากขึ้นและเป็นแนวทางเลือกใหม่สำหรับระบบการปลูกยางพาราที่ใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เป็นการพัฒนาระบบกรีดยางพาราแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีการศึกษาองค์ประกอบชีวเคมีต่างๆ ในน้ำยาง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงควบคู่ไปกับคุณภาพน้ำยางที่ได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยศึกษาในพันธุ์ยางชั้น 1 เพื่อเป็นทางเลือกและคำแนะนำสำหรับเกษตรกรในอนาคต 5. ได้เทคโนโลยีการจัดการน้ำและปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ยางพาราที่สามารถลดระยะ       การเปิดกรีดยาง ได้เร็วขึ้น ประมาณ 1-2 ปี 6. ทราบต้นทุนและผลตอบแทนเชิงเศรษฐศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดน้ำและปุ๋ยเพื่อลดระยะเวลาการเปิดกรีดหน้ายางพาราได้ 7. เกษตรกรชาวสวนยางพาราทราบวิธีปฏิบัติเพื่อเพิ่มรายได้จากปริมาณน้ำยางเนื่องจากเพิ่มจำนวนวันกรีดยางจากการใช้เฟินชายผ้าสีดาเป็นร่มป้องกันน้ำฝนเหนือรอยกรีดยาง และรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายเฟินในรูปแบบไม้ประดับหรือวัสดุปลูก 8. เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงเฟินชายผ้าสีดาจำหน่ายโดยตรงเป็นไม้ประดับ โดยลดการนำเฟินชายผ้าสีดาจากธรรมชาติ 9. เมื่อมีการนำผลงานวิจัยไปใช้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการปลูกยางพาราซึ่งมีผลให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สวนยางเพิ่มมากขึ้นทั้งในแง่การจัดการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ องค์ความรู้ใหม่ที่ช่วยเสริมให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลูกยางพารา การผลิตน้ำยางพาราและการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพารา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2556
การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา การวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพเพื่อสนับสนุนการเพิ่ม ศักยภาพการผลิตยางพาราของประเทศ อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี การศึกษาแนวทางและมาตรการเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ยางพาราภายในประเทศ การตรวจสอบการกระจายตัวของเอนไซม์และคาร์โบไฮเดรตในเปลือกและเนื้อไม้บนลำต้นยางพาราต่อการผลิตน้ำยาง การวิจัยและพัฒนาไม้ยางพารา โครงการวิจัย และพัฒนาระบบการปลูกสตรอเบอรี่เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตบนพื้นที่สูงของจังหวัดเพชรบูรณ์ การพัฒนานักวิจัยเพื่อผลิตงานวิจัยยางพาราที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูกยางพารา ศึกษาปริมาณการผลิตไม้ยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก