สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับความรุนแรงของโรคเมล็ดด่างต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดข้าวพันธุ์หลัก
อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับความรุนแรงของโรคเมล็ดด่างต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดข้าวพันธุ์หลัก
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of grain discoloration severity on seed storability
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anchalee Prasertsak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของโรคเมล็ดด่างต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดคุณภาพของเมล็ดที่จะใช้ทำพันธุ์ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี 2542-2545 แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองแรกเป็นการศึกษาระดับความรุนแรงของโรคเมล็ดด่าง 6 ระดับ โดยแบ่งตามพื้นผิวของเมล็ดที่ถูกทำลาย คือ 0%, 1-5%, 6-25%, 26-50%, 51-75%, และมากกว่า 75% ต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดข้าวพันธุ์หลัก 3 พันธุ์ ที่เก็บเกี่ยวในปี 2542-2543 คือ ขาวดอกมะลิ 105 กข 27 และสุพรรณบุรี 90 ซึ่งมีความชื้นในเมล็ด 10.4-11.2% พบว่าระดับความรุนแรงของโรคเมล็ดด่างยิ่งมากขึ้น มีผลทำให้ความงอกและอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ระดับความรุนแรงของโรคมากกว่า 25% จะมีผลทำให้อายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวลดลงอย่างรวดเร็ว (ใช้ความงอกต่ำกว่า 80% เป็นเกณฑ์) ส่วนที่ระดับความรุนแรงของโรค 0% และ 1-5% เมล็ดพันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 กข27 และสุพรรณบุรี 90 มีอายุการเก็บรักษานานใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 15 13 และ 9 เดือน ตามลำดับ สำหรับการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาอายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีระดับความรุนแรงของโรคเมล็ดด่างปนอยู่ในสัดส่วนต่าง ๆ กัน โดยทำการผสมเมล็ดพันธุ์ที่มีระดับการเป็นโรคเมล็ดด่าง น้อยกว่า 25% และมากกว่า 25% ในสัดส่วนต่าง ๆ กัน 8 ระดับ (โดยน้ำหนัก) คือ 100:0 90:10 80:20 70:30 60:40 50:50 40:60 และ 0:100 กรัม ใช้พันธุ์ข้าวที่เป็นโรคเมล็ดด่างในปี 2543 และ 2545 คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ ปทุมธานี 1 ซึ่งมีความชื้นในเมล็ด 10.5-11.9% ทั้งนี้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลควบคู่กับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้แยกลักษณะการทำลายแต่ทราบสัดส่วนการปนของโรคเมล็ดด่างที่ระดับความรุนแรงต่างๆ จากทั้ง 2 การทดลอง (เมล็ดพันธุ์ปกติ) พบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 และ สุพรรณบุรี 90 ที่มีระดับการเป็นโรครุนแรงกว่า 25% ปนอยู่ในสัดส่วนของปริมาณเกิน 40% มีผลทำให้อายุการเก็บรักษาลดลง ส่วนพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข27 อายุการเก็บรักษาเริ่มลดลงเมื่อมีกลุ่มที่เป็นโรครุนแรงมากกว่า 25% ปนอยู่เกิน 50% ของปริมาณข้าวทั้งหมด สำหรับเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดส่วนใหญ่ที่พบคือ Trichoconis padwickii, Curvularia sp. และ Dreschera oryzae
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328686
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับความรุนแรงของโรคเมล็ดด่างต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดข้าวพันธุ์หลัก
กรมการข้าว
2545
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย การศึกษาชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่ออายุการเก็บรักษาข้าวซ้อมมือ การยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หลักในสภาพควบคุมอากาศและความชื้น ผลกระทบของโรคเมล็ดด่างต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Curvularia lunata สาเหตุโรคเมล็ดด่างข้าวด้วย การวิเคราะห์ดีเอ็นเอบริเวณ ITS rDNA และเครื่องหมาย ISSR อายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หญ้าที่ระดับความชื้นต่างๆกันในกระป๋องสังกะสีผนึกด้วยขี้ผึ้ง คุณภาพเมล็ดข้าวเมื่อปลูกในดินเค็มและน้ำกร่อยที่ระดับความอุดมสมบูรณ์ต่างกัน การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมและความรุนแรงในระดับโมเลกุลของเชื้อรา Erynia neoaphidis Remaudiere and Hennebert (Entomophthorales: Entomophthoraceae) ซึ่งใช้ประโยชน์ในการควบคุมเพลี้ยอ่อนศัตรูพืชผัก การเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อประเมินอายุการเก็บรักษาในเขตร้อนชื้น การลดความรุนแรงของโรคไหม้ของข้าวโดยการปลูกแบบรวมเมล็ดพันธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก