สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการใช้พืชปฏิปักษ์และผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ
อนันต์ หิรัญสาลี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการใช้พืชปฏิปักษ์และผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Potential use of antagonistic plants and plant products for control of root-knot nematodes in tomato
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนันต์ หิรัญสาลี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): ANAN HIRANSALEE
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Weerasak Saksirirat
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้พืชปฏิปักษ์มาปลูกหรือใช้ส่วนของพืชปฏิปักษ์ใส่ลงดินโดยตรงหรือพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมก่อนใส่ลงดิน เป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม ที่จะทดแทนการใช้สารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและธรรมชาติ การศึกษานี้เป็นการทดสอบเบื้องต้นที่จะคัดเลือกพืชปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาไปใช้อย่างเหมาะสมของเกษตรกร โดยเลือกพืชในวงศ์ Asteraceae 8 ชนิด/สายพันธุ์ ซึ่งได้แก่ดาวกระจาย (Cosmos sulphureus) 3 สายพันธุ์ (ดอกสีส้ม, ดอกสีเหลืองกลีบ 1 ชั้น, ดอกสีเหลืองกลีบ 2 ชั้น), แก่นตะวัน (Helianthus tuberosus) 2 สายพันธุ์ (KHEL 65 และ KJA89), ทานตะวัน (Helianthus annuus), ดาวเรือง (Tagetes erecta), และบานชื่น (Zinnia elegans) ปลูกทดสอบการต้านทานต่อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) เปรียบเทียบกับมะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) พันธุ์สีดา ซึ่งอ่อนแอ ปลูกพืชทดสอบอายุ 3 ใบจริง ในกระถางที่มีไข่ไส้เดือนฝอย 3,000 ไข่ ผลการทดสอบพบว่า ดาวกระจายทั้ง 3 สายพันธุ์, แก่นตะวัน 2 สายพันธุ์, ดาวเรือง, และ บานชื่น มีเปอร์เซ็นต์การเกิดปมราก, จำนวนไส้เดือนฝอยในราก (1 กรัม) ทั้งที่ 30 วัน และ 45 วัน การผลิตไข่ของไส้เดือนฝอยที่ 45 วัน, และจำนวนตัวอ่อนไส้เดือนฝอยในดินที่ 45 วัน ต่ำกว่าในพืชเปรียบเทียบ (มะเขือเทศ) ส่วนทานตะวันมีปฏิกิริยาใกล้เคียงกับมะเขือเทศ พืชทดสอบทั้ง 7 สายพันธุ์ข้างต้น (ไม่รวมทานตะวัน) จึงมีศักยภาพที่จะนำไปทดสอบเพิ่มเพื่อปลูกหมุนเวียนหรือปลูกร่วมกับพืชหลักเพื่อลดปริมาณไส้เดือนฝอยรากปมในดินต่อไป เมื่อนำพืชปฏิปักษ์ 4 สายพันธุ์ คือ ดาวเรือง (Tagetes sp.) พันธุ์พื้นเมือง, ดาวเรือง (Tagetes erecta) (สายพันธุ์การค้า), แก่นตะวัน 2 สายพันธุ์ (KHEL 65 และ KJA 89) มาปลูกเปรียบเทียบกับใช้มะเขือเทศพันธุ์สีดา ในแปลงปลูกขนาดเล็ก (microplot) ที่มีประชากรไส้เดือนฝอยรากปมอยู่แล้ว หลังจากปลูก 2 เดือน ปรากฎว่าแปลงที่ปลูกพืชปฏิปักษ์ทั้ง 4 สายพันธุ์ และแปลงที่ปล่อยพื้นที่ว่าง ความหนาแน่นของตัวอ่อนไส้เดือนฝอยในดินลดลงจากก่อนปลูก ขณะที่แปลงที่ปลูกมะเขือเทศมีความหนาแน่นของตัวอ่อนไส้เดือนฝอยเพิ่มขึ้น สำหรับการทดสอบการนำชิ้นส่วนพืชบางชนิดใส่ลงดินเพื่อลดความรุนแรงของโรครากปมนั้น ได้เลือกใช้พืช 6 ชนิดคือ ดาวเรือง (ต้น+ใบ, และราก), ยูคาลิปตัส (Eucalyptus meliodora) (ใบ), ขี้เหล็ก (Senna siamea) (ใบ), สะเดา (Azdirachta indica) (ใบ), มะละกอ (Carica papaya) (ใบ), และตะไคร้ (Cymbopogon citratus) (ต้น+ใบ) โดยนำชิ้นส่วนสับเป็นชิ้นเล็กๆปริมาณ 10 กรัม ใส่คลุกดินในกระถางขนาด 15 ซม ใส่ไข่ไส้เดือนฝอย 5,000 ไข่/กระถาง แล้วปลูกกล้ามะเขือเทศอายุ 3 ใบจริง เปรียบกับกระถางที่ไม่ใส่ชิ้นส่วนพืช เมื่อครบ 45 วัน พบว่าการใช้ใบยูคาลิปตัส ใบขี้เหล็ก ใบมะละกอ และต้นและใบของตะไคร้ ช่วยลดความรุนแรงการเกิดปมรากมะเขือเทศ โดยที่ใบยูคาลิปตัส และใบขี้เหล็กมีประสิทธิภาพมากที่สุด ขณะที่การใช้ชิ้นสวนพืชทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว ยังทำให้การผลิตไข่ไส้เดือนฝอยที่รากลดลงด้วย โดยที่ใบขี้เหล็กมีประสิทธิภาพสูงสุด การใช้ดาวเรือง ไม่ว่าต้น+ใบ หรือใช้ราก ไม่สามารถลดความรุนแรงของโรคและปริมาณไส้เดือนฝอยได้
บทคัดย่อ (EN): Use of antagonistic plant either for direct planting or incorporating its parts or formulated products into soil to control nematode is appropriate for safe and sustainable agriculture. Preliminary evaluation of 8 plant varieties in Asteraceae family: comos (Cosmos sulphureus) (orange petal, yellow petal, yellow double-petal), Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus) (KHEL 65, KJA89), sunflower (H. annuus), marigold (Tagetes erecta), and zinnia (Zinnia elegans) for resistance to root-knot nematode (Meloidogyne incognita) compared with susceptible tomato (Lycopersicon esculentum) (var. Sida) was made in a greenhouse. Plants at 3-true-leaf stage were inoculated with 3,000 eggs of the nematode and kept for 45 days. The results showed that comos, Jerusalem artichoke, marigold, and zinnia had low root galling, nematode in root (1 g), and egg production compared to tomato, whereas sunflower produced similar reaction to tomato. These 7 plant varieties (except sunflower) had potential to re-examine for rotating or intercropping with main crops to reduce nematode population in field soil. In microplot test, marigold (native var., and hybrid) and Jerusalem artichoke (KHEL 65, KJA89) were planted in M. incognita infested soil, compared to Sida tomato, for 2 months to evaluate nematode density change. The results indicated that both marigold and Jerusalem artichoke helped reducing nematode density in soil from preplanting, whereas tomato increase nematode density. Parts of 6 plant species were evaluated, when incorporated into soil, to control root-knot nematode. The plant parts were marigold (stem + leaf; root), Eucalyptus (Eucalyptus meliodora) (leaf), Siamese cassia (Senna siamea) (leaf), neem (Azdirachta indica) (leaf), papaya (Carica papaya) (leaf), and lemon grass (Cymbopogon citratus) (stem + leaf). Potted soil was mixed with 10 g of chopped plant part, added with 5,000 eggs of the nematode, planted with 3-leaf Sida tomato seedling, and kept for 45 days in a greenhouse. The results showed that Eucalyptus leaf, Siamese cassia leaf, papaya leaf, and lemon grass stem plus leaf could reduce root galling of tomato and nematode egg production.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการใช้พืชปฏิปักษ์และผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2556
ผลของสารสกัดจากดาวเรืองในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมมะเขือเทศ การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การจัดจำแนกชนิดของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne) ในพื้นที่เพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การคัดเลือกพืชทดสอบเพื่อใช้ประเมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน ผลของอัลลีโลพาทีในวัชพืชที่ปลูกร่วมกับมะเขือเทศต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) การคัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของพืชผักบางชนิด การค้นหาไส้เดือนฝอยตัวห้ำเพื่อใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita สาเหตุโรครากปมพริกในแปลงปลูกพืชขนาดเล็ก การเพิ่มคุณภาพของมะเขือเทศจากการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม meloidogyne incognita (Kofoid & White) Chitwood ศัตรูพริกโดยวิธีปลูกพืชหมุนเวียน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก