สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
รจเร นพคุณวงศ์, สุธาสินี ชัยชนะ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: เครือข่ายการเรียนรู้
บทคัดย่อ: การดำเนินงานของโครงการหลวงในปัจจุบัน อยู่ในภาวะที่ต้องแข่งขันด้านการตลาดค่อนข้างสูง ในอดีตการถ่ายทอดความรู้ หรือการต่อยอดทางเทคโนโลยีมักเป็นการถ่ายทอดความรู้แบบพี่สอนน้อง แต่ในภาวะปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวอาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงมีการรวมศูนย์พัฒนาโครงการหลวง เป็นกลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ซึ่งสามารถรวมเพื่อเป็นสมาชิกได้ทั้งหมด 8 กลุ่มศูนย์ฯ เพื่อช่วยกันพัฒนางาน และต่อยอดงานด้านการพัฒนาพื้นที่สูงในประเทศไทย จากการดำเนินการวิจัยที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการประชุมจัดตลาดนัดความรู้กลุ่มศูนย์ฯ เพื่อร่วมกันจัดทำ Mind map และ Road map ของกลุ่มศูนย์ฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานของกลุ่มศูนย์ฯ ได้ Mind map และ Road map กลุ่มศูนย์ฯ จำนวน 5 กลุ่มศูนย์ฯ คือ กลุ่มศูนย์ฯ 1 3 4 5 และ 8 นอกจากนี้ยังได้จัดการประชุมตลาดนัดความรู้เครือข่ายกลุ่มศูนย์ฯ จำนวน 2 ครั้งเพื่อให้กลุ่มศูนย์ฯ ได้ร่วมกันเสนอปัญหา และร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งอยู่ภายใต้บริบทที่ต่างกัน โดยอาศัยวิธีการ และประสบการณ์จากหัวหน้าศูนย์ฯ ที่เข้าร่วมโครงการ จากการประชุม หัวหน้าศูนย์ฯ ได้นำเรื่องมานำเสนอ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งหมด 6 เรื่อง และได้องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการ จำนวน 7 เรื่อง ได้กลุ่มศูนย์ฯ ที่เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ด้านการพัฒนา จำนวน 2 กลุ่มศูนย์ คือกลุ่มศูนย์ 1 และ 4 ได้เครือข่ายกลุ่มศูนย์ฯ ที่จะดำเนินงานร่วมกันในปีต่อไป 1 เครือข่าย คือเครือข่ายของกลุ่มศูนย์ 3 4 และ 8 นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาของกลุ่มศูนย์ฯ เช่นการดูงาน การอบรมเพื่อพัฒนาการทำงานของเจ้าหน้าที่ และการทดลองเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการจัดตลาดนัดความรู้ ไม่ค่อยได้ผลในการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น แต่การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาระงานของเจ้าหน้าที่ กลับช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ได้ดีกว่าการจัดตลาดนัดความรู้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รู้สึกเหมือนการเพิ่มภาระงานนั่นเอง จากการวิจัยยังพบว่าการมีผู้นำ กลุ่มศูนย์ฯ ที่ดี มีความสำคัญต่อการพัฒนางานของกลุ่มศูนย์ฯ มาก เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบาย และวางแผนการดำเนินงานภายในศูนย์ฯ ว่าจะสามารถขับเคลื่อนได้ในทิศทางใด การดำเนินการวิจัยในครั้งต่อไปจึงควรเริ่มจากการพัฒนาผู้นำกลุ่มศูนย์ฯ ให้เข้มแข็ง เพื่อช่วยให้การพัฒนางานของมูลนิธิให้เข้มแข็งตามไปด้วยนั่นเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2551
โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในเขตลุ่มน้ำมูล การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลิตผลพืชผักในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี/องค์ความรู้โครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูก การประเมินสายพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์ถั่วแดงหลวง ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง โครงการพัฒนาระบบบริหารงานศึกษาวิเคราะห์ การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่เพื่อใช้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก