สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายของไก่เหลืองหางขาวตามลักษณะอุดมทัศนีย์ในจังหวัดพิษณุโลก
อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายของไก่เหลืองหางขาวตามลักษณะอุดมทัศนีย์ในจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง (EN): Diversity of Thai Indigenous Leuang Hang Kao Chicken Follow Standard of Perfection in Phitsanulok Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Usaneeporn Soipeth
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะภายนอกของไก่เหลืองหางขาวตามลักษณะอุดมทัศนีย์ในพื้นที่ อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก โดยการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างไก่พื้นเมืองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกจำนวน 56 ตัว เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างไก่เหลืองหางขาวตามมาตรฐานของสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย 5 ลักษณะ ได้แก่ หน้างาม, สีงาม, รูปงาม, แข้งงาม และกิริยาชั้นเชิงงาม ในไก่เพศผู้พบร้อยละ 71.43, 71.43, 57.14, 60.71 และ 78.57 ตามลำดับ ส่วนในไก่เพศเมียพบร้อยละ 73.08, 88.46, 34.62, 76.92 และ 88.46 ตามลำดับ ส่วนการจำแนกลักษณะ ทั่วไปของไก่เหลืองหางขาว พบว่า ไก่เหลืองหางขาวเพศผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18-36 เดือน มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.27+0.56 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 62.21+4.76 เซนติเมตร (วัดจากปลายหงอนผ่านดวงตาตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) ความยาวลำตัวเฉลี่ย 24.03+3.14 เซนติเมตร ความกว้างลำตัวเฉลี่ย 31.82+4.47 เซนติเมตร ความยาวปีกเฉลี่ย 44.95+3.85 เซนติเมตร ความยาวแข้ง เฉลี่ย 13.05+1.03 เซนติเมตร และความยาวเท้าเฉลี่ย 9.19+0.77 เซนติเมตร ไก่เหลืองหางขาวเพศเมียที่มีอายุตั้งแต่ 18-36 เดือน มีน้ำหนักเฉลี่ย 2.43+0.42 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 51.72+4.12 เซนติเมตร, ความยาวลำตัวเฉลี่ย 19.89+1.42 เซนติเมตร, ความกว้างลำตัวเฉลี่ย 24.78+1.99 เซนติเมตร, ความยาวปีกเฉลี่ย 37.28+5.94 เซนติเมตร, ความยาวแข้ง เฉลี่ย 11.11+0.74 เซนติเมตร และความยาวเท้าเฉลี่ย 7.92+0.75 เซนติเมตร จากการศึกษาสรุปได้ว่า ไก่เหลืองหางขาว ในจังหวัดพิษณุโลกมีลักษณะภายนอกและลักษณะทั่วไปตรงตามลักษณะอุดมทัศนีย์แต่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากมี การผสมสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองในปัจจุบัน
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study the phenotype of Leuang Hang Kao Chicken in Phitsanulok Province as basic information of physical characteristics. The 56 samples of native chickens in the Phitsanulok were calculated. Comparison of Leuang Hang Kao Chicken with standards of the Association for Preservation and Development of Thai native chicken as 5 characteristics as head, color, size, leg and mannerism in male Leuang Hang Kao chickens had 71.43 %, 71.43 %, 57.14 %, 60.71 % and 78.57 % respectively. Female Leuang Hang Kao chickens had 73.08 %, 88.46 %, 34.62 %, 76.92 % and 88.46 % respectively. General classification of Leuang Hang Kao chickens shown that cock; 18-36 months of age was 3.27+0.56 kilogram of body weight, high 62.21+4.76 cm, body long 24.03+3.14 cm, body width 31.82+4.47 cm, wing length 44.95+3.85 cm, legs 13.05+1.03 cm and toes 9.19+0.77 cm and hen; 18-36 months of age was 2.43+0.42 kilogram of body weight, high 51.72+4.12cm, body long 19.89+1.42cm, body width 24.78+1.99 cm, wing length 37.28+5.94 cm, legs 11.11+0.74 cm and toes 7.92+0.75 cm, respectively. The study concluded that Leuang Hang Kao chicken in Phitsanulok had phenotype and general characteristics corresponded with standard of perfection but not exhaustive. Due to a combination of other breeds that represents a change of Thai indigenous chicken.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://www.researchgate.net/profile/Rangsun-Charoensook/publication/321972970_Diversity_of_Thai_Indigenous_Leuang_Hang_Kao_Chicken_Follow_Standard_of_Perfection_in_Phitsanulok_Province/links/5a3ba9df4585158a1bbd914b/Diversity-of-Thai-Indigenous-Leuang-Hang-Kao-Chicken-Follow-Standard-of-Perfection-in-Phitsanulok-Province.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายของไก่เหลืองหางขาวตามลักษณะอุดมทัศนีย์ในจังหวัดพิษณุโลก
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาความหลากหลายของลักษณะภายนอกที่ปรากฏในสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยตามลักษณะอุดมทัศนีย์ในจังหวัดพิษณุโลก โครงการศึกษาความหลากหลายของลักษณะภายนอกที่ปรากฏในสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยตามลักษณะอุดมทัศนีย์ในจังหวัดพิษณุโลก การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยน้ำว้า ในจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้เครื่องหมายชีวโมเลกุล การตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอและประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยน้ำว้าในจังหวัดพิษณุโลกด้วยเครื่องหมายโมเลกุล การเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการทางนิเวศวิทยาวิศวกรรมต่อความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในระบบนิเวศข้าวนาที่ราบลุ่มน้ำ จ. พิษณุโลก 2555A17002067 การเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการทางนิเวศวิทยาวิศวกรรมต่อความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในระบบนิเวศข้าวนาที่ราบลุ่มน้ำ จ. พิษณุโลก การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา ความหลากหลายของแมลงและแมงมุมในนาข้าวเขตชลประทานจังหวัดพิษณุโลก ลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายของจุลชีพที่อาศัยอยู่ร่วมกับฟองน้ำทะเล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความหลากหลายของลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองในจังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก