สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานโรคไหม้แบบผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
รื่นฤดี แก้วชื่นชัย - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานโรคไหม้แบบผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ชื่อเรื่อง (EN): Improving blast resistance in rice variety Bahng Taen by using marker-assisted backcrossing
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รื่นฤดี แก้วชื่นชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Reunreudee Kaewcheenchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรคไหม้ เป็นโรคที่มีความสำคัญและสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวทั่วโลก การป้องกันกำจัดโรคไหม้สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด คือ การใช้พันธุ์ต้านทาน โดยศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ได้รับรองพันธุ์ข้าว พันธุ์บางแตน ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ในเขตภาคตะวันออก รวมทั้งเป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น และให้ผลผลิตสูง แต่ในปัจจุบันความต้านทานลดลงเป็นอย่างมาก จึงต้องการเพิ่มความต้านทานจากสายพันธุ์ SL’07F6No.2 และ PSL’07F6 No.5 (สายพันธุ์ให้) ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมที่ได้จากคู่ผสม Jao Hom Nin (JHN) และ IR64 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล ชนิด SSR ช่วยในการคัดเลือก เริ่มจากผสมพันธุ์จำนวน 2 คู่ผสม ระหว่างพันธุ์บางแตนกับ PSL’07F6No.2 และ PSL’07F6No.5 เมื่อได้ประชากรชั่วที่ 1 (F1) แล้วจึงผสมกลับไปยังพันธุ์บางแตนได้เป็น BC1F1 คัดเลือกโดยใช้เครื่องหมาย โมเลกุล ชนิด SSR ที่มีต าแหน่งใกล้กลับยีนที่ควบคุมลักษณะความต้านทานโรคไหม้บนโครโมโซม 1 และ 11 ได้แก่ RM212/RM319 และ RM224/RM144 การผสมกลับแต่ละครั้งคัดเลือกต้นที่มีลักษณะพันธุกรรมเป็น แบบ heterozygous และลักษณะทางการเกษตรดี จนกระทั่งมีการผสมกลับทั้งหมด 4 - 5 ครั้ง ได้เป็น BC4F1 และ BC5F1 จึงปล่อยให้ประชากรเกิดการผสมตัวเอง เพื่อให้มีการกระจายตัวทางพันธุกรรม แล้วคัดเลือกต้น BC4F2 และ BC5F2 ที่มีลักษณะพันธุกรรมเป็นแบบ homozygous และลักษณะทางการเกษตรดี แล้วปล่อยให้ผสมตัวเองจนได้เป็น BCnF3 และ BCnF4 โดยคู่ผสมของพันธุ์บางแตนและสายพันธุ์ PSL’07F6No.2 จำนวน 36 และ 22 สายพันธุ์ ตามล าดับ รวม 58 สายพันธุ์ และคู่ผสมของพันธุ์บางแตนและ PSL’07F6No.5 จำนวน 51 และ 21 สายพันธุ์ ตามล าดับ รวม 72 สายพันธุ์ รวมทั้งสิ้น 130 สายพันธุ์ หลังจากนั้นปลูก BC4F4 และ BC5F4 เพื่อศึกษาพันธุ์ ณ ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี พบว่า ข้าวทดสอบมีอายุเก็บเกี่ยว 111 - 132 วัน ความสูง 103 - 129 เซนติเมตร น้ำหนักรวง 2.8 - 4.1 กรัม เมล็ดดีร้อยละ69 - 85 และ น้ำหนัก 100 เมล็ด 2.7 - 3.2 กรัม และปลูกทดสอบความต้านทานต่อโรคไหม้ในสภาพแปลง ณ ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี พบว่า มีสายพันธุ์ที่แสดง ความต้านทานสูง (HR) จำนวน 26 สายพันธุ์ และต้านทาน (R) จำนวน 30 สายพันธุ์ รวม 56 สายพันธุ์ ต่อมาความต้านทานลดลงมีเพียง 13 สายพันธุ์ที่ยังคงแสดงความต้านทานสูง ต้านทาน และต้านทานปานกลาง
บทคัดย่อ (EN): Blast disease is a major rice disease causing significant rice yield loss over the world. It is believed that growing a resistance variety is the most effective strategy for blast disease management. Bahng Taen is one of the released Thai rice varieties primarily found to be resistance to blast disease in the Eastern region. Nowadays, the resistance has decreased drastically.The variety is a non-glutinous, non-photoperiod insensitive, short duration of maturity with high yielding characteristic. In this project, a marker-assisted backcrossing strategy was applied in order to improve blast resistance in Bahng Taen by introgression of resistant genes from donors; PSL’07F6No.2 and PSL’07F6No.5 into this variety. Flanking markers RM212/RM319 and RM224/RM144 specific to the reported- blast resistant QTLs located on chromosome 1 and 11 were used in combination with the agronomic characteristic selection to obtain the target plants in BC4 and BC5 populations. Thirty-six BC4F2 and twenty-two BC5F2 progenies from the cross of Bahng Taen and PSL’07F6No.2 together with fifty-one BC4F2 and twenty-one BC5F2 progenies from the cross of Bahng Taen and PSL’07F6No.5 were chosen for blast resistant gene analysis. These selected-BC4F2 and BC5F2 were self-pollinated resulting in BCnF3 and BCnF4. One hundred and thirty introgressed lines of BC4F4 and BC5F4 were observed at Prachinburi Rice Research Center and evaluated for the ability in blast resistance at Ratchaburi Rice Research Center. Results showed that these lines had a range of harvesting date between 111 - 132 days, plant height being 103 -129 cm. The panicle weight was 2.8 - 4.1 g,with 69 - 85% percentage of seed set and 2.7 - 3.2 g of 100 seed weight. According to blast resistance analysis, fifty-six lines showed resistant reactions to rice blast. Among these, there were 26 highly resistant lines and 30 resistant lines. However, continuous observation has revealed the non-persistent degree of resistance for most of these lines excepted for 13 lines of which the moderate to high level of blast resistance were recorded.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328732
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานโรคไหม้แบบผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
กรมการข้าว
2558
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเค็ม ทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ทนเค็ม ทนแล้ง และต้านทานโรคไหม้โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสนิวคลีโอโพลีฮีโดร (NPV) ของไหม โดยใช้ double-strand RNA interference การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว Jasmine IR57514 ให้ต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว Jasmine IR57514 ให้ต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว Jasmine IR57514 ให้ต้านทานโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก