สืบค้นงานวิจัย
การป้องกันการเจริญของเชื้อราบนยางแผ่นอบแห้ง (Air Dried Sheet, ADS) โดยใช้สารต้านเชื้อราประสิทธิภาพสูงจากเชื้อแอคติโนมัยสิท
นารีลักษณ์ นาแก้ว - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การป้องกันการเจริญของเชื้อราบนยางแผ่นอบแห้ง (Air Dried Sheet, ADS) โดยใช้สารต้านเชื้อราประสิทธิภาพสูงจากเชื้อแอคติโนมัยสิท
ชื่อเรื่อง (EN): Prevention of fungal growth on para rubber air dried sheet (ADS) by high potential antifungal from actinomycetes
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นารีลักษณ์ นาแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ปรางค์ทิพย์ อินทรไพจิตร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การปนเปื้อนของเชื้อราบนยางแผ่นผึ่งแห้ง (air dried rubber sheet (ADS)) นอกจากจะท าให้คุณภาพ ของยางแผ่นด้อยลงและส่งผลถึงราคาขายแล้ว เชื้อรายังมีผลเสียต่อสุขภาพของที่ผู้เกี่ยวข้องอีกด้วย งานวิจัยครั้ง นี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะน าสารยับยั้งเชื้อราซง่ึไดจ้ากแบคทเีรยีแอคตโินมยัสทิ มาใชใ้นการป้องกนั การปนเป้ือนของ เชื้อราบนแผ่นยางเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา โดยได้น าเชื้อแอคติโนมัยสิทที่เก็บรักษาไว้ในห้องปฏิบัติการทั้งหมด 180 สายพันธุ์มาท าการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราโดยวิธี Dual culture bioassay โดยใช้เชื้อราสาย พันธุ์ที่เคยมีรายงานว่ามีการปนเปื้อนในยางแผ่นร่วมกับเชื้อที่แยกได้จากแผ่นยางที่มีการปนเปื้อน รวมทั้งสิ้น 20 สายพันธุ์เป็นเชื้อราทดสอบ ผลการทดสอบพบว่า เชื้อ Streptomyces TMR032 สามารถยับยั้งเชื้อราทดสอบได้ดี ที่สุด โดยให้ขนาดของโซนการยับยั้งมากกว่า 30 มิลลิเมตรในทุกสายพันธุ์ และเมื่อน าสารสกัดหยาบจาก Streptomyces TMR032 มาท าการเปรียบเทียบศักยภาพในการยับยั้งเชื้อรากับพาราไนโตฟีนอลโดยการหาค่า ความเข้มข้นต ่าสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ (MFC) ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดหยาบจาก Streptomyces TMR032 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราทุกสายพันธุ์ได้ดีกว่าพาราไนโตรฟีนอล โดยพบว่ามี ค่า MFC เท่ากับ 0.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อน าไปทดสอบประสิทธิภาพในแผ่นยางโดยเปรียบเทียบรูปแบบ การน าไปใช้ระหว่างการผสมลงไปในขั้นตอนการท ายางแผ่นกับการจุ่มแผ่นยางลงไป โดยใช้ความเข้มข้นสุดท้าย เท่ากับ 1 มก./มล. พบว่าทั้ง 2 วิธีสามารถป้องกนัเชอ้ืราไดน้ านถงึ 20 วนั เมื่อเทียบกับชุดควบคุมที่พบว่ามีการ ปนเปื้อนของเชื้อราตั้งแต่วันที่ 5 ของการทดลอง การจุ่มแผ่นยางในสารสกัดหยาบมีข้อดีกว่าการผสมสารสกัด หยาบลงในแผ่นยางตรงที่ไม่ท าให้คุณภาพของแผ่นยางเปลี่ยนแปลงไป จากผลการวิจัยที่ได้ครั้งนี้พบว่ามีความ เป็นไปได้ที่จะน าเอาสารสกัดหยาบจาก Streptomyces TMR032 มาใช้ป้องกนัการปนเป้ือนของเชอ้ืราบนยาง แผ่นทดแทนการใช้สารเคมีแต่จะต้องมีการศึกษาวิจัยในด้านอื่นๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต, รูปแบบการผลิต และน าไปใช้ และ ผลกระทบต่อคุณสมบัติยางต่อไป เพื่อให้มีความสะดวกและปลอดภัยในการน าไปใช้จริง
บทคัดย่อ (EN): Fungal contamination of air dried rubber sheet (ADS) is often occurred and diminishes quality and value of this product. This contamination also affects the health of workers who involve with ADS production. In this work, we aim to evaluate antifungal agents produced by actinobacteria for biological control of fungal contamination on ADS and to extend the shelf life of ADS. A total of 180 actinobacterial isolates was screened for antifungal activity against fungal contaminants by dual culture bioassay. A total of 20 fungal strains isolated from contaminated ADS was used as tested fungal contaminants in dual culture bioassay. It was found that Streptomyces TMR032 gave the highest antagonistic activity against all fungal contaminants with relatively large inhibition zone (> 30 mm). When we compared the minimal fungicidal concentration (MFC) of the crude extract derived from strain TMR032 (ethyl acetate extraction and evaporation of cell-free culture broth) and p-nitrophenol, the crude extract exhibited greater MFC value (0.5 mg mL-1 ) than p-nitrophenol (1 mg mL-1 ). When we compare the treating approaches between adding and soaking with the crude extract at the final concentration of 1 mg mL -1 , the fungal contamination was suppressed the same for 20 days. Both treating approaches for the fungal contamination also revealed greater than the control (without applying the crude extract) that appeared the contamination in 5 days. Interestingly, soaking ADS with the crude extract exhibited greater quality of ADS than the adding approach that appeared darkened color and incomplete consolidation of ADS. This may due to the reaction between latex and the solvent (methanol) that was used for dissolving the crude extract. Based on the results of this study, we propose that antifungal agents produced by strain TMR032 could be further applied effectively in production of ADS with the benefits of reduced chemical uses. Other investigations regarding to the reduced cost and the optimal conditions for production of such antifungal agents shall be studied for economically effective use in ADS production.
ชื่อแหล่งทุน: กลุ่มเรื่องยางพารา (เปิดทุนเพื่อปิดโครงการ) ปี 2556
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: RDG5650072
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:56686
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การป้องกันการเจริญของเชื้อราบนยางแผ่นอบแห้ง (Air Dried Sheet, ADS) โดยใช้สารต้านเชื้อราประสิทธิภาพสูงจากเชื้อแอคติโนมัยสิท
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2557
เอกสารแนบ 1
การป้องกันการเจริญของเชื้อราบนยางแผ่นอบแห้ง (Air Dried Sheet; ADS) โดยใช้สารต้านเชื้อราประสิทธิภาพสูงจากเชื้อแอคติโนมัยสิท ถังอบถ่านแนวตั้งประสิทธิภาพสูง การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การควบคุมโรคผลสตรอเบอรี่เน่าด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่อุณภูมิห้องและที่ 10 องศาเซลเซียส ศึกษาการแยกเชื้อจำแนกชนิดเชื้อราPhytophthora spp. และการทดสอบเชื้อต่อการเกิดโรครากเน่าของหม่อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก