สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์
ชัยพร ตรีกิ่ง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่อง (EN): Needs for Extension Services on Tilapia Cages Culture of Farmers in Surin Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัยพร ตรีกิ่ง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลในกระชังในเรื่อง 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการ 2) สภาพการเลี้ยงปลาในกระชังและปัญหาในการเลี้ยง 3) ความต้องการรับบริการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชัง และ 4)เปรียบเทียบความต้องการบริการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรที่มีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิงบางประการแตกต่างกัน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกรเลี้ยงปลานิลในกระชังที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังของสำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ปี 2555 จำนวน 97 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บช้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งดำาการเปรียบเพียบ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษามีดังนี้ เกษตรกรร้อยละ 83.51 เป็นเพศชาช อายุเฉลี่ย 50.16 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาเกษตรกรร้อยละ 52.58 มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาจากเข้าหน้าที่ส่งเสริม เกษตรกรร้อยละ 61.86 เคยมีประสบการณ์ในการฝึกอบรมเรื่องการเลี้ยงปลา เกษตรกรมีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 4.63 คนแรงานที่ใช้เลี้ยงปลาในกระชังเฉลี่ย 1.03 คน พื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 22.54 ไร่ รายได้รวมเฉลี่ยครัวเรือนละ 178,426.80 บาทต่อปี เกษตรกรเป็นหนี้เฉลี่ย 135,412.37 บาท เกษตรกรร้อยละ 6.3 1 มีสิ่งจูงใจที่ทำให้ทำการเลี้ยงปลานิลในกระชังจากเพื่อนช้าน เกษตรกรร้อยละ 73.20 มีวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ส่วนมากเลี้ยงปลานิลในกระชังในแม่น้ำ ระยะทางจากบ้านถึงสถานที่เลี้ยงปลานิลในกระชังเฉถี่ย 1.27 กิโลเมตร เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลานิลในกระชังเฉลี่ย 4.47 ปี กระชังเป็นโครงเหล็ก ใช้เนื้ออวนทำเป็นตัวกระชัง ขนาดกระชังเฉลี่ย 46.35 ตารางเมตร เกษตรกร โดยมากเลี้ยงปลานิล อัตราปล่อยเฉลี่ย 30.18 ตัวต่อตารางเมตร ขนาดลูกปลาที่เริ่มเลี้ยงเฉลี่ย 3.83 เซนติเมตร ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเฉลี่ยวันละ 2.69 ครั้ง เกษตรกรประสบปัญหาปลาเป็นโรค โคยมีเหล่งที่ให้คำแนะนำเรื่องโรคจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของเอกชน ขนาดปลาที่จับเฉลี่ย 867.21 กรัม เกษตรกรร้อยละ 94.17 จำหน่ายปลาให้กับพ่อค้ที่มารับซื้อ เกษตรมีผลผลิต เฉลี่ย 7,074.84 กิโลกรัมต่อปี ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลานิลในกระชังเฉลี่ย 345,573.00 บาทต่อปี รายได้สุทธิจาก การเลี้ยงปลานิลในกระชังเฉลี่ย 476,181.00 บาท ปัญหาในการเลี้ยงปลาที่พบในระดับมากได้แก่ ไม่ทราบสาเหตุของโรค ไม่ทราบวิธีการรักษา ไม่ทราบอัตราการใช้สารเคมีสารเคมีราคาแพง อาหารปลาราคาแพง ไม่ทราบแหล่งให้คำปรึกษา ไม่ทราบชนิคของสารเคมี น้ำขุ่น ลูกปลาราแพง ถูกกดราคาปลา สารเคมีหาซื้อยาก วัสดุหายากและราคาแพง อาหารปลาหาซื้อยาก คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม และไม่ทราบอัตราการให้อาหาร เกษตรกรต้องการความรู้ในการเลี้ยงปลาในระดับมากในเรื่องการป้องกันโรคและศัตรูปลา การรักษาโรคปลา การเลือกซื้อพันธุ์ปลา วิธีดูแลรักษากระชัง ชนิดของโรคและศัตรูปลา สารเคมีและการรักษาโรค วิรีสร้างกระชัง การเลือกวัสดุทำกระชัง รูปแบบการวางกระชัง การเลือกชนิดพันธุ์ปลา รูปแบบกระชัง ปริมาณการให้อาหาร ข้อแนะนำในการเลือกซื้อ อัตราการปล่อยปลาการเลือกสถานที่เลี้ยงปลา ชนิดของอาหาร วิธีการขนย้ายและลำเลียงลูกปลา การสุ่มวัดปลาเพื่อปรับปริมาณอาหาร การดัดขนาคปลาวิธีการจับปลา และขนาดปลาที่ควรจับ ตามลำดับ เกษตรกรมีความต้องการในระดับน้อย จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่ วิธีการให้อาหาร การลำเลียงปลาเพื่อจำหน่าย การอนุบาลลูกปลา การทำปลาส้ม แหล่งจำหน่ายอาหาร การทำปลาแดดเดียว การทำปลารมควัน และการแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบอื่นๆ รูปแบบการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการในระดับมาก คือการฝึกอบรม การส่งเสริมผ่านผู้นำหมู่บ้าน การเยี่ยมชมเกษตรกรที่กระชัง การสาธิตการดูงาน เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ การฝึกอบรมโดยเกษตรกร โทรทัศน์ หอกระจายข่าว วิทยุ หน่วยเผยแพร่เคลื่อนที่ และการเข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ รูปแบบการฝึกอบรมเกษตรกรต้องการฝึกอบรมภายในหมู่บ้านครั้งละวัน ในช่วงเช้า ต้องการนักวิชาการประมงที่จบการศึกมาระดับใดก็ได้ เป็นวิทยากรเพศชายหรือเพศหญิงก็ได้ ใช้ภาษาราชการร่วมกับภาษาท้องถิ่น เกบตรกรต้องการฝึกอบรมในลักษณะการบรรยายเกษตรกรต้องการ การสนับสนุนการผลิตในระดับมากในเรื่องการให้คำแนะนำเรื่องการรักษา การติดต่อเรื่องยนเละสารเคมี การสนับสนุนพันธุ์ปลา การตรวจสอบสุขภาพสัตว์น้ำ การสนับสนุนอาหาร การประสานงานกับสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเรื่องการจัดตั้งกลุ่ม การประสานงานกับสหกรณ์ผู้พาะเลี้ยงสัตว์น้ำเรื่องสินเชื่อเรื่องปัจจัยการผลิตด้านพันธุ์ปลาการขายผลผลิต การประสานงานกับ ธ.ก.ส.เรื่องเงินกู้ การติดต่อแหล่งอหาร การติดต่อแหล่งพันธุ์ปลา การประสานงานกับสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเรื่องปัจจัยการผลิตด้านอาหาร การประสานงานกับสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเรื่องปัจจับการผลิตค้านกระชัง การประสานงานกับกองทุนหมู่บ้านเรื่องเงินกู้ การแปรรูปผลผลิต และ การประสานงานกับสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเรื่องปัจจัยอื่นๆ ผลการเปรียบเทียบความต้องการของเกษตรกรจำแนกตามอายุ แหล่งความรู้ ประสบการณ์ในการฝึกอบรม รายได้จากการเลี้ยงปลานิลในกระชัง และประสบการณ์การเลี้ยงปลานิลในกระชัง พบว่า ความต้องการของเกษตรารจำแนกตามอายุ แหล่งความรู้ ประสบการณ์ในการฝึกอบรม ประสบการณ์การเลี้ยงปลานิลในกระชัง มีระดับความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งด้านกวามรู้ รูปแบบบริการส่งเสริมการเลี้ยงปลา และการสนับสนุนการผลิตของเกษตกร และความต้องการของเกษตรกรจำแนกตามรายได้จากการเลี้ยงปลานิลในกระชัง มีความต้องการบริการส่งเสริมการเลี้ยงปลาไม่แตกต่างกันทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): The purposes of this research were to study tilapia cage culture farmers in aspects of 1) some socio-economic backgrounds of the farmers 2) conditions and problems of cage cultures 3) farmers needs for extension services on tilapia cage cultures and 4) comparisons of levels of needs for extension service on tilapia cage culture of farmers having different socio-economic backgrounds. The study was conducted with 97 tilapia cage culture farmers in Surin province, Thailand, in 2012. Research data were collected using in-depth interview approach. The data obtained were analysed and presented in terms of frequency, percentage, standard deviation as well as mean comparisons. Research findings showed that 83.5 1 percent of farmers were males with average 50.16 years. Most farmers finished their primary school level. There were 52.58 percent of farmers had knowledge on culture from which were transferred from the extension officers. Furthermore 61.86 percent of them had experiences in culture training. Whist the household labours averagely were 4.63 persons, the labours who were responsible for cage culture was 1.03 persons per family. An average household’s farm and residence area was 22.54 rais. The total average household income was 178,426.80 baht per year and the average liability was 135,412.37 baht. The study found that 56.31 percent of famers were motivated to culture tilapia in cage from neighbor. Key purpose of fish culture was for sales. Most of famers reared fish in the rivers, of which the cages averagely were 1.27 kilometers from the residence area. The farmers had experiences in fish cultures approximately for 4.47 years. Cage structurally was made of steel rods which were covered with cage-net, having an average cage area of 46.35m2. Most farmers cultured tilapia of which stocking rate was 30.18 fishes/m2. An average size of the stocking was 3.83 cm and they were fed averagely 2.69 times per day. During the culture, farmers encountered disease problems and they obtained advice from private extension officers. 4.17 percent of farmers sold tilapia on wholesale basis to the dealers at their own farms. An average weight caught was 867.21 grams and the annual product caught averagely was 7,074.84 kilograms per year. Whilst an average production cost was 345,573.00 baht per year, the average net profit was 476,181.00 baht per year. Research findings showed that problems of culture mainly were attributed to unidentified disease and treatments, uncertain rates of chemical utilization, expensive chemicals and feeds, no knowledge upon advisable source and chemicals needed, poor and improper water quality, expensive stocking, low and unfair selling price, difficulties to find chemicals and materials needed as well as to buy feeds, and no knowledge upon feeding rate. Knowledge on fish culture was highly needed by the fanners studied. Key aspects of the knowledge were diseases and parasites, and prevention of diseases and pest, cure for diseases, fish seeds selection, guidelines for feed sources and feed selections, cage management, fish sampling for optimum feeding rate, and stock handling. In contrast, the farmers acknowledged their low needs on feeding methods, fish harvest and handling, nursery, fermented fish, food outlets, sun- dried, smoked and other processed products. Types of extensions required by the farmers were training, extensions through village leaders, cage site visits, demonstrations, study tours for successful farms, peer-level trainings (i.e. by farmers), mass communications through television, village broadcasting post, radio and mobile units, and contacting with extension officers. The farmers also needed training courses conducted in their village for I day and preferred in the morning period (09.00-12.00 am). They required the officers who had any degrees in fisheries who could be either male or fernale, but they should be able to use local language together with the official one. The farmers also required lecturing-type training. They highly acknowledge their needs regarding advices on diseases curing, medicines and chemicals, stocking supports, health inspection, feeds, incorporating with culture farmer cooperatives, for group formations and financial credits utilized for stocking and fish selling, incorporating with the Bank of Agricultural and Agricultural Cooperatives for credits and stocking, incorporating with the Village Fund for credits, product processing and other production needs. The study results show that famers needs were varied among farmers and these were significantly affected by age, knowledge sources, training backgrounds, and income earned from-and experiences in tilapia cage culture. The reeds included service types for culture extensions and production supports. In addition, farmers needs classified by income earned from tilapia raised cage were not significantly different in terms of service types for culture requirement.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2557
ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน หนังสือการเลี้ยงปลานิลในกระชัง การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจสังคมของการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ประมงในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของจังหวัดตาก การศึกษาความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง จังหวัดหนองคาย ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกร จังหวัดบึงกาฬ การศึกษาการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ การประเมินสภาวะการเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำตาปี (เปลี่ยนแปลงเป็น การประเมินสภาวะการเลี้ยงปลานิลในกระชังในแม่น้ำตาปี) ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง การศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก