สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวคุณภาพโปรตีนสูง
ชูศักดิ์ จอมพุก - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวคุณภาพโปรตีนสูง
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of Waxy Corn for High Quality Protein
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชูศักดิ์ จอมพุก
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณทริปโตแฟนในเอนโดสเปิร์มของข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียนด้วยยีนโอเปกทู (o2o2) และใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) มาช่วยในการคัดเลือกยีนโอเปกทูในรุ่นลูกชั่วต่างๆ ได้คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวโอเปกทูสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 7 (S7) ไว้จานวน 10 สายพันธุ์ แล้วนาไปผสมพันธุ์แบบพบกันหมด (diallel cross) ได้ลูกผสมจานวน 45 คู่ผสม นาไปปลูกทดสอบผลผลิต ในแผนการทดลองแบบสุ่มในบลอคสมบูรณ์ (RCBD) จานวน 3 ซ้า เก็บเกี่ยวผลผลิตฝักสดที่อายุ 21 วันหลังการผสมเกสร พบว่า ค่าเฉลี่ยผลผลิตฝักสดอยู่ระหว่าง 419-1,225 กก./ไร่ โดยคู่ผสมระหว่าง P9 x P8 มีผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด และไม่แตกต่างจากพันธุ์มาตรฐานสวีทไวท์ 853 (1,292 กก./ไร่) โดยสายพันธุ์ P1, P2, P5, P7, P8 และ P9 มีสมรรถนะการผสมทั่วไป (GCA) เป็นบวก และพบว่าเมล็ดที่เก็บเกี่ยวมีปริมาณทริปโตแฟนในโปรตีนอยู่ระหว่าง 0.70-1.97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าข้าวโพดข้าวเหนียวทั่วไป (0.61%) มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 7.12-11.14 เปอร์เซ็นต์ (ค่าเฉลี่ย 8.60%) และปริมาณแอมิโลเปคตินอยู่ระหว่าง 96.8-98.6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สายพันธุ์พ่อแม่มีปริมาณทริปโตแฟนในโปรตีนอยู่ระหว่าง 0.93-1.32 เปอร์เซ็นต์ (เฉลี่ย 1.08%) มีโปรตีนเฉลี่ย 8.89 เปอร์เซ็นต์ และมีแอมิโลเปกตินอยู่ระหว่าง 96.3-97.6 เปอร์เซ็นต์ การพัฒนาสายพันธุ์ผสมตัวเองข้าวโพดข้าวเหนียวโอเปกทูชั่วที่ 2 (S2) จานวน 170 สายพันธุ์ จาก 5 คู่ผสม โดยเลือกสายพันธุ์ที่ดีประมาณ 12 สายพันธุ์จากแต่ละคู่ผสม และนาไปผสมพันธุ์กับตัวทดสอบ 2 สายพันธุ์ โดยการผสมพันธุ์แบบสุ่ม (random mating) ระหว่างสายพันธุ์และตัวทดสอบที่มีวันออกดอกตรงกัน ได้ลูกผสมทั้งหมด 88 คู่ผสม นาไปปลูกทดสอบผลผลิตในแผนการทดลองแบบ Augmented และสายพันธุ์พ่อแม่ผสมตัวเองเป็น S3 พบว่ามีปริมาณทริปโตแฟนสูงกว่า 0.7 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณแอมิโลเปคตินสูงกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ปลูกและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีไว้จานวน 76 สายพันธุ์ และปลูกเพื่อเพิ่มระดับความคงตัวทางพันธุกรรมโดยการผสมตัวเองเป็นสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 (S4) ประกอบกับการนาข้อมูลการทดสอบผลผลิตในฤดูก่อน จึงคัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 (S4) ไว้จานวน 50 สายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้อยู่ระหว่างการผสมพันธุ์เพื่อสร้างคู่ผสม สาหรับทดสอบสมรรถนะการผสม (combining ability) ต่อไป การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวโอเปกทูจากการผสมกลับ (backcross) เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริโภค (eating quality) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองของสายพันธุ์ผสมกลับชั่วที่ 1 (BC1S1) ที่มียีนโอเปกทู (o2o2) ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ phi057 ได้จานวน 104 สายพันธุ์ แล้วผสมตัวเองเป็น BC1S2 เก็บเกี่ยวผลผลิตและนาเมล็ดบางส่วนไปวิเคราะห์ปริมาณทริปโตแฟนและปริมาณแอมิโลเปคติน พบว่าเมล็ด BC1S2 บางสายพันธุ์มีปริมาณทริปโตแฟนลดลง จึงคัดเลือกเฉพาะสายพันธุ์ที่มีปริมาณทริปโตแฟนในโปรตีนสูงกว่า 0.8% และผสมตัวเองเป็นสายพันธุ์ผสมกลับรุ่นผสมตัวเองชั่วที่ 3 (BC1S3) จานวน 70 สายพันธุ์ จากนั้นนาสายพันธุ์เหล่านี้มาปลูกเพื่อเพิ่มความคงตัวทางพันธุกรรมโดยการผสมตัวเองอีก 1 ครั้งเป็น BC1S4
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to increase the tryptophan content in endosperm of waxy and tein corns by opaque-2 gene (o2o2) and to apply the DNA marker as marker-assisted selection for opaque-2 gene in progenies. Ten opaque-2 waxy lines (S7) were selected and 45 F1 hybrids were obtained using the diallel cross of these selected lines. Yield trial was conducted in a randomized complete block design (RCBD) with 3 replications. Ear weight with hust of F1 hybrids were harvested at 21 after pollination. The average ear weight ranged from 419-1,225 kg/rai. The cross of P9 x P8 had the highest ear weight as same as the standard variety, sweet white 853 (1,292 kg/rai). Moreover, P1, P2, P5, P7, P8 and P9 were positive general combining ability (GCA) for ear weight. The percentage of tryptophan content in protein of hybrids ranged from 0.70-1.97 % which were higher than the normal waxy corn (0.61%) while the percentage of protein content ranged from 7.12-11.14% (avg. 8.60%) and the amylopectin ranged from 96.8-98.6%. Likewise, the tryptophan content in proteinof parental lines ranged from 0.93-1.32% (avg. 1.08%). The average protein was about 8.89% and amylopectin ranged from 96.3-97.6%. One hundred and seventy of S2 lines of opaque-2 waxy corn from five crosses were used for line improvement. Twelve of S2 lines in each cross were crossed with two tester as topcross tester by random mating between lines and testers with the same flowering date and eighty eight crosses was achieved. Yield trial was conducted in augmented design. For the parental lines (S3 lines) the tryptophan content in endosperm was higher than 0.7%, the amylopectin was higher than 95% and 76 lines were selected in this generation. These lines were planted in the field and one time of selfing was done to obtain the S4 lines. With the yield trial data and its agronomic characteristics, fifty lines was selected to make new crosses for further evaluation the combining ability. To increase the eating quality of the opaque-2 waxy corn, the backcross method was applied and followed by selfing one time getting the BC1S1 progenies. The marker-assisted selection, phi057 was applied in this generation to select about 104 lines of the opaque-2 waxy corn and then sefing into BC1S2. Seventy of BC1S2 lines were selected having tryptophan content in endosperm over than 0.8% and selfed to BC1S3 generation. These lines were self-pollinated one time to be BC1S4 generation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวคุณภาพโปรตีนสูง
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2558
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก