สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
คำเภา วงศ์คำ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: คำเภา วงศ์คำ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร และปัญหาในการผลิตยางพาราของเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในตำบลเทนมีย์ทุกคน รวม 60 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการนำเสนอข้อมูล ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรร้อยละ 61.7 เป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 48.25 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัว เฉลี่ย 4.30 คน มีแรงงานในครอบครัว เฉลี่ย 2.42 คน มีรายได้จากการขายข้าว เฉลี่ย 30,790.91 บาท มีรายได้รวมในภาคการเกษตร เฉลี่ย 44,244.64 บาท และมีรายได้นอกภาคการเกษตร รวม 11,767.43 บาท เกษตรกรมีพื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 22.86 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตนเอง เกษตรกรทั้งหมดมีเครื่องมือตัดแต่งกิ่งยางพารา ส่วนใหญ่มีรถไถเดินตามเป็นของตนเอง เกษตรกรทั้งหมดใช้เงินทุนของตนเองในการผลิต รองลงมากู้เงินจาก ธกส. มีพื้นที่ปลูกยางพารา เฉลี่ย 5.95 ไร่ ส่วนใหญ่ดินเป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรเกือบทั้งหมด ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM 600 ทั้งหมดได้พันธุ์ยางพาราจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยางจังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่ปลูกยางระยะ 3.0 x 7.0 เมตร ใช้ยางชำถุง และยางตอตาปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่เตรียมหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20 - 10 - 12 รองก้นหลุมก่อนปลูก มีการใส่ปุ๋ยแปลงยางแบบหว่าน แบบหลุมและแบบโรยเป็นแถว มีการตัดแต่งกิ่งยาง เฉลี่ย 2.16 ครั้ง กำจัดวัชพืช เฉลี่ย 2.14 ครั้ง เกษตรกรบางส่วนพบโรคราแป้งและรากเน่าทำลายต้นยาง และพบปลวกและหนอนเจาะลำต้น เกษตรกรทั้งหมดใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด มีเกษตรกรจำนวน 3 ราย เปิดกรีดยางแล้ว โดยกรีดยางอายุ 6 - 7 ปี ใช้ระบบกรีดวันเว้นวัน และกรีด 2 วันเว้น 1 วัน เกษตรกรทั้ง 3 ราย ทำยางแผ่นได้ยางคุณภาพชั้น 3 จำหน่ายยางแผ่นที่ตลาดประมูลราคายาง จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 35 - 45 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในการผลิตยางพาราทุกเรื่อง ได้แก่ เรื่องพื้นที่ปลูกยาง การปลูกยางพารา การดูแลรักษาต้นยาง การกรีดยางและการทำยางแผ่น และจำหน่ายยางแผ่น ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตยางพาราให้ครอบคลุม ตั้งแต่การปลูกดูแลรักษา ไปจนถึงการจำหน่ายยางแผ่น โดยการจัดฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน เพื่อให้เกษตรกรนำความรู้ไปปฏิบัติในแปลงได้ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราที่เปิดกรีดแล้วของเกษตรกรตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรบ้านแสนกางตำบลพระแก้ว อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร: กรณีศึกษาตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ สภาพผลผลิตยางพาราของเกษตรกร ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก