สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลไซโลส กลูโคส และอราบิโนสจากฟางข้าวและชานอ้อย เพื่อใช้เป็นสาร ตั้งต้นสำหรับผลิตเอทานอล
ศิริวัฒนา บัญชรเทวกุล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลไซโลส กลูโคส และอราบิโนสจากฟางข้าวและชานอ้อย เพื่อใช้เป็นสาร ตั้งต้นสำหรับผลิตเอทานอล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิริวัฒนา บัญชรเทวกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลไซโลส กลูโคส และอราบิโนส จากฟางข้าวและชานอ้อย ผลการวิเคราะห์ปริมาณกลูโคส ไซโลส อราบิโนส และฟรุตโตส ในสารละลายของน้ำตาลที่ได้จากการไฮโดรไลซ์ฟางข้าวและชานอ้อยพบว่า เมื่อใช้กรดซัลฟูริกเข้มข้นเพียงอย่างเดียว เงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับฟางข้าวคือการไฮโดรไลซ์ด้วย กรดซัลฟูริกเข้มข้น 30% ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 20 นาที โดยให้ปริมาณน้ำตาลสูงสุด 44.84 กรัมต่อ 100 กรัมตัวอย่าง คิดเป็น 59.56% ของปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในตัวอย่าง ส่วนเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับชานอ้อยคือการไฮโดรไลซ์ด้วยกรดซัลฟูริกเข้มข้น 30% ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 10 นาที ได้ปริมาณน้ำตาลสูงสุด 53.00 กรัมต่อ 100 กรัมตัวอย่าง คิดเป็น 68.60% ของปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในตัวอย่าง เมื่อใช้รังสีแกมมาร่วมกับกรดซัลฟูริกเจือจางพบว่า เงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับฟางข้าวคือการฉายรังสีแกมมา 500 kGy ก่อนไฮโดรไลซ์ด้วยกรดซัลฟูริกเข้มข้น 2% ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง จากนั้นไฮโดรไลซ์กากที่เหลืออีกสามครั้งด้วยกรดเข้มข้น 15% ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง ได้ปริมาณน้ำตาลสูงสุด 55.74 กรัมต่อ 100 กรัมตัวอย่าง คิดเป็น 74.03% ของปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในตัวอย่าง ส่วนเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับชานอ้อยคือการฉายรังสีแกมมา 700 kGy ก่อนการไฮโดรไลซ์ด้วยกรดซัลฟูริกเข้มข้น 2% ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 30 นาที จากนั้นไฮโดรไลซ์กากที่เหลืออีกสามครั้งด้วยกรดซัลฟูริกเข้มข้น 15% ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง ได้ปริมาณน้ำตาลสูงสุด 64.43 กรัมต่อ 100 กรัมตัวอย่าง คิดเป็น 83.41% ของปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในตัวอย่าง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการแยกกรดออกจากสารละลายของน้ำตาลและกรดที่ได้ด้วย ion exchange resin อีกด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13253
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลไซโลส กลูโคส และอราบิโนสจากฟางข้าวและชานอ้อย เพื่อใช้เป็นสาร ตั้งต้นสำหรับผลิตเอทานอล
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2551
เอกสารแนบ 1
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี น้ำตาล… กับเครื่องดื่มสำเร็จรูป กรรมวิธีเตรียมฟางไอโซโทป 15 N ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก