สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดสีโดยการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา และอิเล็กตรอนบีม
รองศาสตราจารย์พีรนุช จอมพุก - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดสีโดยการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา และอิเล็กตรอนบีม
ชื่อเรื่อง (EN): Induced Mutation by Gamma ray and Electron beam in Bromeliads
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์พีรนุช จอมพุก
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดสีโดยการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา และอิเล็กตรอนบีม” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ พีรนุช จอมพุก เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณรังสีแกมมา และรังสีอิเล็กตรอนบีมที่เหมาะสมต่อการการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์กับเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงสับปะรดสี จากการศึกษาวิจัย พบว่าการปรับปรุงพันธุ์สับปะรดสีส่วนใหญ่มาจากการผสมพันธุ์จนติดเมล็ดและนำมาเพาะขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมไปถึงการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ การผสมพันธุ์พืชต่างชนิดจะมีปัญหาเรื่องการเป็นหมันของลูกผสม จึงไม่สามารถนำมาใช้ในการผสมพันธุ์ต่อไปได้ การแก้ปัญหาอาจทำโดยการเพิ่มชุดโครโมโซม หรือทำให้เกิดพอลิพลอยดี (polyploidy) เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในโครงการผสมพันธุ์เพื่อพัฒนาพันธุ์ให้มีความหลากหลายต่อไปได้ นอกจากนี้ การเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้สิ่งก่อการกลาย (mutagen) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม สำหรับการพัฒนาพันธุ์ได้เช่นกัน ซึ่งการฉายรังสีเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรม ผลการทดลองนี้ พบว่าการนำตัวอย่างต้นอ่อนสับปะรดสีสองสายพันธุ์คือ Tillandsia cyanea และ Vriesea gigantea ‘Nova’ ในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารสูตร MS ที่เติม BA ที่อายุ 2 เดือนหลังจากย้ายเปลี่ยนอาหาร ไปฉายรังสีแกมมาแบบ acute ด้วยเครื่องฉายรังสี Mark I หลังจากฉายรังสี 60 วัน บันทึกข้อมูลจำนวนต้นที่รอดชีวิต และจำนวนหน่อที่แตกใหม่ พบว่า ปริมาณรังสีแกมมา และรังสีอิเล็กตรอนบีมที่เหมาะสมต่อการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ กับเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงสับปะรดสีจะทำให้สับปะรดสีทั้งสองสายพันธุ์ใหม่ที่ได้มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และ เปอร์เซ็นต์การเจริญเติบโตลดลงต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้ข้อมูลปริมาณรังสีแกมมา และรังสีอิเล็กตรอนบีมที่เหมาะสมต่อการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ กับเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงสับปะรดสีสายพันธุ์ใหม่ 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-06-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-06-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดสีโดยการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา และอิเล็กตรอนบีม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1 มิถุนายน 2560
การใช้รังสีแกมมาเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์ในเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงสับปะรดสี “Tillandsia cyanea” การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด ผลของรังสีแกมมาที่มีต่อการกลายพันธุ์ของหญ้ากินนีสีม่วงในลักษณะความต้านทานต่อโรคใบไหม้และค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของสับปะรดโดยการชักนำให้ เกิดการกลายพันธุ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ การฉายรังสีเมล็ดพันธุ์หม่อนเพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ ศึกษาการกลายพันธุ์ในข้าวเหนียว การปรับปรุงข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อการกลายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ผักที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ด้วยรังสีแกมมา (ระยะที่ 2) การศึกษาการปรับปรุงพันธุ์ลำไยโดยวิธีกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ II. การพัฒนาต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ดที่ได้รับรังสีแกมม่า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก