สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม
ฉวีวรรณ เหลืองวุฒิวิโรจน์, จันจิรา แสงสีเหลือง, พนิดา ปรีเปรมโมทย์, สิรินภา ชินอ่อน, พิมพ์ธิดา เรืองไพศาล - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Halophilic Microorganism on KDML 105 Rice Cultivate in Saline Soil Area
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและผลของจุลินทรีย์ทนเค็มต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพโรงเรือน และแปลงทดลอง โดยการทดลองในสภาพโรงเรือนทดลอง วางแผนการทดลองแบบ CRD 11 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับควบคุม ตำรับใส่ปุ๋ยเคมี N-P-K 100% 50% และ 75% ตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับใส่ปุ๋ยเคมี N-K 50% และ 75% ตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับหินฟอสเฟต ตำรับใส่แบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ ตำรับใส่แบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ และปุ๋ยเคมี N-P-K 50% และ 75% ตามค่าวิเคราะห์ดิน และตำรับใส่แบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับ แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ ปุ๋ยเคมี N-K 50% และ 75% ตามค่าวิเคราะห์ดิน และหินฟอสเฟต ซึ่งผลการ ทดลองพบว่า การใส่แบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนอิสระ และปุ๋ยเคมี N-P-K 50% ตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (0.64 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่าตำรับอื่นๆ และมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงสุด 33.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่งผลให้จำนวนต้น จำนวนรวงต่อกอ และผลผลิตข้าวสูงสุด 5.3 ต้น 5.0 รวง และ3.4 กรัมต่อกระถาง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังส่งผลให้มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบต่ำไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมี 100% ตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่วนการศึกษาในสภาพแปลงทดลองเป็นเวลา 2 ปี วางแผนการทดลองแบบ RCBD 7 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย ตำรับควบคุม ตำรับใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับใส่ปุ๋ยหมักขยายเชื้อแบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ ตำรับใส่ปุ๋ยคอก (มูลโค) ตำรับใส่ปุ๋ยหมักขยายเชื้อแบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ และปุ๋ยเคมี 50% ตามค่าวิเคราะห์ดิน ตำรับใส่ปุ๋ยหมักขยายเชื้อแบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ และปุ๋ยคอก และตำรับใส่ปุ๋ยหมักขยายเชื้อแบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี 50% ตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยหมักขยายเชื้อแบคทีเรียชอบเค็มร่วมกับแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนอิสระ และปุ๋ยคอก ส่งผลให้ผลิตข้าวในปีที่ 1 และ 2 สูงสุดเท่ากับ 472.0 และ 521.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to study on efficacy and effect of halophilic microorganism on KDML 105 rice cultivated in greenhouse and field experiments. For greenhouse experiment, the experimental design was CRD with 11 treatments and 3 replications. They consisted of 1) control 2) 100% N-P-K chemical fertilizer (based on soil analysis) 3) 50% N-P-K chemical fertilizer 4) 75% N-P-K chemical fertilizer 5) 50% N-K chemical fertilizer with rock phosphate 6) 75% N-K chemical fertilizer with rock phosphate 7) halophilic and free living N fixing bacteria 8) halophilic and free living N fixing bacteria with 50% N-P-K chemical fertilizer 9) halophilic and free living N fixing bacteria with 75% N-P-K chemical fertilizer 10) halophilic and free living N fixing bacteria with 50% N-K chemical fertilizer and rock phosphate and 11) halophilic and free living N fixing bacteria with 75% N-K chemical fertilizer and rock phosphate. The results showed the highest organic matter and available phosphorus of 0.64% and 33.33 mg kg-1, respectively in the utilization of halophilic and free living N fixing bacteria with 50% N-P-K chemical fertilizer. This treatment resulted in the highest tiller numbers, panicle numbers and rice yield per pot of 5.3, 5.0 and 3.4 g, respectively. Moreover, this treatment decreased %undeveloped kernels not significantly difference 100% chemical fertilizer usage. The experimental design of field experiment was RCBD with 7 treatments and 3 replications. They consisted of 1) control 2) 100% chemical fertilizer (based on soil analysis) 3) halophilic and free living N fixing bacteria 4) cow manure 5) halophilic and free living N fixing bacteria with 50% chemical fertilizer 6) halophilic and free living N fixing bacteria with cow manure and 7) halophilic and free living N fixing bacteria with cow manure and 75% chemical fertilizer. The results showed that utilization of halophilic and free living N fixing bacteria with cow manure resulted in the highest rice yield in year 1 and 2 of 472.0 and 521.0 kg rai-1 respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ความก้าวหน้าการผนวกยีนความต้านทานโรคไหม้ ดินเค็ม และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสนอัฟริกันและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มน้อย การตอบสนองของความหอมและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในชุดดินบางชุดดินในทุ่งกุลาร้องไห้ การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง อิทธิพลของระดับความเค็มต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของข้าวขาวดอกมะลิ105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก