สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี
สำพรต จันทร์หอม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำพรต จันทร์หอม
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกพริก เพื่อศึกษาถึงสภาพการผลิตพริกของเกษตรกร และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการผลิตพริกของเกษตรกร ประชากรในการศึกษาได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกพริกในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 11,043 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตัวอย่างร้อยละ 1.8 ของจำนวนประชากรผู้ปลูกพริกได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 200 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่ศึกษาร้อยละ 76.0 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44 ปี จบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 44.0 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.8 คน มีแรงงานในครัวเรือนที่ปลูกพริกเฉลี่ย 2.9 คน จ้างแรงงานปลูกพริกเฉลี่ยครัวเรือนละ 9.5 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ยครัวเรือนละ 15.1 ไร่ อาชีพด้านการเกษตร ทำนาร้อยละ 95.7 อาชีพนอกภาคเกษตร รับจ้างร้อยละ 51.2 มีรายได้ทั้งหมดต่อปีต่อครัวเรือนเฉลี่ย 46,993.5 บาท ใช้เงินทุนตนเองในการปลูกพริกร้อยละ 62.3 เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกพริก เฉลี่ย 8.8 ปี เกษตรกรได้ความรู้เรื่องการปลูกพริกจากญาติหรือเพื่อนบ้าน คิดเป็นร้อยละ 87.0 พื้นที่ปลูกพริกปี 2544/2545 เฉลี่ยครัวเรือนละ 2.1 ไร่ เกษตรกรเริ่มปลูกพริกเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 37.0 เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 32.0 เกษตรกรปลูกพริกพันธุ์หัวเรือ ร้อยละ 89.0 เกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์เองคิดเป็นร้อยละ 94.0 อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ เฉลี่ย 1 กิโลกรัม เกษตรกรปลูกพริกโดยวิธีเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก คิดเป็นร้อยละ 97.0 โรคและแมลงที่พบมากคือเพลี้ยไฟและหนอนเจาะฝัก คิดเป็นร้อยละ 74.4 การเก็บเกี่ยวเกษตรกรดูสีของผลมีสีแดงคิดเป็นร้อยละ 52.0 เกษตรกรไม่คัดผลผลิตพริก คิดเป็นร้อยละ 49.5 ผลผลิตพริกสดต่อไร่เฉลี่ย 1,979.8 กิโลกรัม ราคาพริกสดที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9 บาท ราคาพริกแห้งที่จำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.5 บาท ส่วนมากร้อยละ 93.7 จะจำหน่ายให้พ่อค้าในท้องถิ่นสำหรับปัญหาการผลิตพริก เกษตรกรที่ศึกษามีปัญหาระดับมากได้แก่ พ่อค้ากดราคา ขาดการรวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิต ราคาผลผลิตตกต่ำ มีปัญหาระดับน้อยคือ ขาดเงินทุน ขาดความรู้ ขาดแรงงานปลูกและเก็บเกี่ยว คุณภาพพริกไม่ดี ขาดน้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ น้ำท่วม และการกลายพันธุ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/156433
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดอุบลราชธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
เอกสารแนบ 1
สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย สภาพการปลูกพริกของเกษตรกรอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ การเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรในการผลิตพริกพื้นเมืองพันธุ์หัวเรือตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกแบบผสมผสานของเกษตรกรตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย สภาพการผลิตและพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริกของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก