สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน
ทานตะวัน วรรธนะวลัญช์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทานตะวัน วรรธนะวลัญช์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: วัชพืช เป็นศัตรูอ้อยที่สำคัญ นอกจากเป็นศัตรูอ้อยโดยตรงในการแก่งแย่งธาตุอาหาร ความชื้นและบดบังแสงแดด แล้วยังเป็นศัตรูทางอ้อมด้วยการเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของโรคแมลงหลายชนิดของต้นอ้อย ทำให้ผลผลิตอ้อยต่ำ หลักการป้องกันกำจัดวัชพืชที่ได้ผลดีคุ้มทุน ต้องใช้วิธีการหลายวิธีผสมผสานกันอย่างเป็นระบบถึงจะสามารถแก้ปัญหาวัชพืชได้ ดังนั้น การชักจูงให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการควบคุมวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสานเพื่อยกระดับผลผลิตต่อไร่ และคุณภาพของอ้อยเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ แต่จำเป็นต้องทราบพื้นฐานความรู้ ทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อวัชพืชและวิธีการป้องกันกำจัด โดยเฉพาะในเขตจังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเขตปลูกอ้อยที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดค่อนข้างมาก การศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชผสมผสาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร โดยใช้แบบสอบถามก่อนเข้ารับการอบรมวิชาการด้านวัชพืช และการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน และชมแปลงสาธิตเปรียบเทียบกับแปลงของเกษตรกร ด้านผลผลิตและรายได้/ไร่ จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรเห็นความสำคัญของวัชพืช แต่วิธีที่ใช้กำจัดวัชพืช นิยมใช้สารเคมีในการกำจัด หรือใช้วิธีไถพรวนเพียงวิธีเดียว ไม่มีเกษตรกรรายใดใช้มากกว่า 1 วิธีร่วมกัน ภายหลังการอบรมได้เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า เกษตรกรมีความรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถวินิจฉัยชนิดของวัชพืชได้มากขึ้น รู้ว่าจำเป็นต้องมีการควบคุมวัชพืช เนื่องจากวัชพืชแย่งน้ำและอาหารทำให้ให้อ้อยมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร และรู้ว่าช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชต้องเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เริ่มปลูก จนอ้อยมีอายุ 3-4 เดือน เกษตรกรมีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช โดยวิธีผสมผสาน คือมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการมากกว่า 1 วิธี ร่วมกัน ในการควบคุมวัชพืชในไร่อ้อย และมีแนวโน้มว่าจะนำไปปฏิบัติตามต่อไป เพราะเกษตรกรมีความเห็นว่าวิธีดังกล่าวมีความจำเป็น เป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีที่ปฏิบัติอยู่ และจะนำมาใช้ในแปลงอ้อยของตนรวมทั้งมีความต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมาให้คำแนะนำ และจัดทำแปลงส่งเสริมสาธิตการป้องกันกำจัดวัชพืช โดยวิธีผสมผสานในแปลงของตน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย เปรียบเทียบการใช้ชนิดและปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกอ้อยเพื่อเกษตรกรรายย่อยใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ศึกษาการปฏิบัติของเกษตรกรในการป้องกันและกำจัดหนูในไร่อ้อย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันกำจัดวัชพืชของเกษตรกรที่ร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดชัยภูมิ ความรู้และการป้องกันกำจัดศัตรูอ้อยโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดลำปาง ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย โดยวิธีผสมผสาน ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรในการป้องกันกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีผสาน การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท วิทยาการ หรือ การนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแมลงแส้ดำของเกษตรกรชาวไร่อ้อย เขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 7 เพื่อการเพิ่มผลผลิต ความรู้และทัศนคติการป้องกันและกำจัดปูนาของเกษตรกรในศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก