สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวิธีการควบคุม หนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกอง โดยวิธีผสมผสาน
ลิขิต มีนุ่น - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิธีการควบคุม หนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกอง โดยวิธีผสมผสาน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ลิขิต มีนุ่น
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิธีการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองโดยวิธีผสมผสานในจังหวัดนราธิวาสครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองที่มีประสิทธิภาพในระยะยาวและเหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติของเกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส โดยคัดเลือกแปลงลองกองของเกษตรกรที่ต้นลองกองมีอายุระหว่าง 8-10 ปี ซึ่งเริ่มให้ผลผลิตแล้วในแปลงปลูกลองกองของ อำเภอเมือง อำเภอระแงะ อำเภอบาเจาะ และอำเภอศรีสาคร อำเภอละ 1 ตำบล ๆ ละ 1 แปลงๆละ 25 ต้น รวม 4 แปลง จำนวน 100 ต้น วางแผนการศึกษาแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) โดยให้แปลงปลูกลองกองในแต่ละพื้นที่ (ตำบล) เป็นหนึ่ง Block ทดลอง ฉะนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมี 4 Blocks ผลการศึกษาพบว่า 1 วันหลังการฉีดพ่นสารสกัดจากสะเดา ซึ่งมีชื่อการค้าว่า Neembond สามารถลดปริมาณหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกอง (Cossus chloratus) บนต้นลองกองได้มากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ Neembomd-APSA-80 (สาร Polyalkylalkoxylate)พบว่าตัวหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองเฉลี่ยเหลือเพียง 9.25 และ 10.05 ตัวต่อต้นตามลำดับขณะที่ผลการตรวจนับจำนวนหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองเมื่อ 2 วัน หลังการฉีดพ่น พบว่า การฉีดพ่นด้วยใส้เดือนฝอย Steinernema(Neoaplactana) Carpocapsae ให้ผลในการลดปริมาณหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองเหลือน้อยที่สุด คือเฉลี่ยเหลือเพียง 4.85 ตัวต่อต้น รองลงมาคือ การฉีดพ่นด้วย Neembond และ Neembond +APSA-80 ซึ่งพบว่าหนอนเฉลี่ยเหลือเพียง 8.60 และ 9.60 ตัวต่อต้นตามลำดับในส่วนผลการตรวจนับปริมาณหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองเมื่อครบ 7 วัน หลังการฉีดพ่นนั้นพบว่าปริมาณหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองบนต้นที่ฉีดพ่นด้วยไส้เดือนฝอยมีปริมาณหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกอง เหลืออยู่น้อยที่สุด คือ เฉลี่ยเหลือเพียง 0.60 ตัวต่อต้น รองลงมาคือต้นที่ฉีดพ่นด้วย Neembond ซึ่งตรวจพบตัวหนอนเฉลี่ย 8.15 ตัวต่อต้น และต้นที่ฉีดพ่นด้วย Neembond + APSA-80 และการฉีดพ่นด้วยน้ำเปล่า พบหนอน C. chloratus บนต้นลองกองเหลืออยู่เฉลี่ย 10.25 และ 11.30 ตัวต่อต้นตามลำดับ และหลังจากฉีดพ่นไปแล้ว 14 วัน พบว่า การใช้ไส้เดือนฝอย Steinemema carpocapsae ให้ผลในการลดปริมาณหนอน Cossue chloratus ลงจนถึง 0.05 ตัวต่อต้นขณะที่การฉีดพ่น Neembond นั้น ไม่สามารถลดปริมาณหนอนลงให้ต่ำกว่าเมื่อหลังฉีดพ่นผ่านไป 7 วัน คือ ยังมีปริมาณหนอนเหลือเฉลี่ยเท่ากับ 8.15 ตัวต่อต้น เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณหนอน Cossue chloratus บนต้นลองกอง ที่ทำการศึกษาพบว่าการฉีดพ่นไส้เดือนฝอยจะให้ผลในการลดปริมาณหนอนลงได้มากหลังผ่านการฉีดพ่น 2 วัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดนราธิวาส
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวิธีการควบคุม หนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกอง โดยวิธีผสมผสาน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2538
การคงอยู่ของเชื้อรา Metarhizium anisopliae PSUM04 บนต้นลองกองเพื่อการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกอง การศึกษาสภาพการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมในภาคตะวันออกโดยใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae Weiser การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกอง การศึกษาสภาพการควบคุมหนอนกินใต้ผิวเปลือกลำต้นลองกองของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมในภาคตะวันออกโดยใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae Weiser ศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลองกองกวนชนิดแผ่น ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การศึกษาประสิทธิภาพของสารเร่ง พด.7 ในการป้องกันกำจัดหนอนชอน เปลือกลองกอง การใช้เชื้อรา Metarhizium anisopliae PSUM04 ควบคุมเพลี้ยอ่อนผัก Lipaphis erysimi (Kalt.) (Homoptera: Aphididae) ในผักคะน้าระบบไฮโดรโปนิกส์ การใช้ปุ๋ยกับลองกองในภาคใต้ของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก