สืบค้นงานวิจัย
สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
อ่อนจันทร์ ภูนี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อ่อนจันทร์ ภูนี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร (2) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ทำนาปี ปีเพาะปลูก 2546 ทั้งหมด จำนวน 341 ราย ในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ในตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุเฉลี่ย 48.8 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 5 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ มีพื้นที่ทำนา เฉลี่ย 8.2 ไร่ ส่วนใหญ่มีการถือครองที่นาเป็นของตนเอง จำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ช่วยทำนา เฉลี่ย 3 คน จำนวนแรงงานที่จ้างมาทำนาเฉลี่ย 12 คน ส่วนใหญ่แหล่งเงินทุนที่ใช้ทำนามาจากทุนของตนเอง ผลผลิตข้าวที่ได้ เฉลี่ย 430.5 กิโลกรัมต่อไร่ และราคาข้าวที่จำหน่ายได้ในปีเพาะปลูก 2546 เฉลี่ย 5.6 บาทต่อกิโลกรัม สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรพบว่าชนิดของดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 วิธีการทำนาส่วนใหญ่ทำนาดำ อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เฉลี่ย 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ สูตรปุ๋ยเคมีที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้สูตร 16-16-8 อัตราที่ใช้เฉลี่ย 25.6 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงเวลาที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ระยะข้าว ตั้งตัวได้หลังปักดำ แหล่งที่มาของปุ๋ยส่วนใหญ่ซื้อจากตลาดในตัวเมือง และซื้อปุ๋ยในราคาระหว่าง380-390บาทต่อกระสอบ(กระสอบละ 50 กิโลกรัม) เกษตรกรมีปัญหาในการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวโดยภาพรวมอยู่ในระดับไม่มีปัญหา แต่มีปัญหาระดับมากในประเด็น ปุ๋ยเคมีราคาแพง มีปัญหาระดับน้อยใน 2 ประเด็น คือ ไม่ทราบอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำในช่วงเวลาการใส่ปุ๋ยให้อยู่ระดับ 5- 10 เซ็นติเมตร ข้อเสนอแนะ ควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้นและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งช่วยลดปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงและการใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำก่อนการใส่ปุ๋ยเคมี และเจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพิ่มผลผลิตข้าวและแนวทางการผลิตข้าวที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีเพาะปลูก 2546 สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีเพาะปลูก 2546 สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546/2547 ตำบลไผ่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลนาคู กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546/2547 ตำบลนาจำปา กิ่งอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปี 2546 ตำบลสงเปือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก