สืบค้นงานวิจัย
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง
อำพร ศักดิ์เศรษฐ, จริยา ปลัดอิ่ม, สุวิมล สี่หิรัญวงศ์, จินตนา มหาสวัสดิ์, ประดิษฐ์ เพ็ชรจรูญ, อำพร ศักดิ์เศรษฐ, จริยา ปลัดอิ่ม, สุวิมล สี่หิรัญวงศ์, จินตนา มหาสวัสดิ์, ประดิษฐ์ เพ็ชรจรูญ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable Nursing Periods of Ompok bimaculatus (Bloch, 1794) Fry using Co-feeding of Moina and artificial diet
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูป เพื่อทดแทนไรแดง จินตนา มหาสวัสดิ์๑* จริยา ปลัดอิ่ม๒ ประดิษฐ์ เพ็ชรจรูญ๓ สุวิมล สี่หิรัญวงศ์๔ และอำพร ศักดิเศรษฐ๕ ๑ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต ๑๑ (ตรัง) ๒ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต ๑๒ (สงขลา) ๓ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา ๔ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง ๕ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเขต ๕ (สุราษฎร์ธานี) บทคัดย่อ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ดำเนินการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 12 (สงขลา) ระหว่างเดือนระหว่างเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2558 เป็นเวลา 30 วัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ ให้ไรแดง 30 วัน, ให้ไรแดง 15 วันและอาหารสำเร็จรูป15 วัน, ให้ไรแดง 10 วัน และอาหารสำเร็จรูป 20 วัน และให้ไรแดง 5 วัน และอาหารสำเร็จรูป 25 วัน ทำการอนุบาลลูกปลาในตู้กระจกขนาด 45 x 60 x40 เซนติเมตรจำนวน 12ตู้ สุ่มปล่อยลูกปลาอายุ 3 วัน จำนวน 50 ตัวต่อตู้ ลูกปลาทดลองมีความยาวเริ่มต้นเท่ากับ 6.37?0.00, 6.37?0.00, 6.37?0.00และ 6.37?0.00 มิลลิเมตรต่อตัว ตามลำดับน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยเท่ากับ 0.0022?0.0000, 0.0022?0.0000, 0.0022?0.0000และ 0.0022?0.0000 กรัมต่อตัว ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าลูกปลาชะโอนในชุดการทดลองที่ 1, 2, 3, และ 4 น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 0.8885?0.0966, 0.1678?0.0340, 0.1909?0.0649 และ0.2599?0.1396 กรัมต่อตัว ตามลำดับ พบว่า ชุดการทดลองที่ 1 มีค่าแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p0.05) ความยาวสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 48.35?1.85, 28.17?1.03, 30.28?3.33 และ 32.70?7.82 มิลลิเมตรต่อตัว ตามลำดับ พบว่า ความยาวเฉลี่ยสุดท้ายของชุดการทดลองที่ 1 มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) และอัตรารอด พบว่า ลูกปลาชะโอนทั้ง 4 ชุดการทดลองมีอัตรารอด เท่ากับ 33.66?4.61, 30.66?6.42, 4.00?2.00และ 3.33?2.30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พบว่าอัตรารอดของชุดการทดลองที่ 1 และ 2 มีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) จากผลการทดลองสรุป ได้ว่า การอนุบาลลูกปลาชะโอนที่ให้ไรแดง 30 วัน มีการเจริญเติบโตและอัตรารอดดีที่สุด ส่วนระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดงนั้น คือ ให้ไรแดง 15 วันและอาหารสำเร็จรูป 15 วัน ลูกปลามีอัตรารอดดีที่สุดแต่การเจริญเติบโตด้านความยาวและน้ำหนักไม่มีความแตกต่างกับชุดการทดลองที่ให้ไรแดง 10 วัน และ5 วัน ดังนั้น การปรับเปลี่ยนจากไรแดงเป็นอาหารสำเร็จรูปสามารถปรับในช่วงวันที่ 15 เพราะลูกปลามีอัตรารอดสูง คำสำคัญ :ลูกปลาชะโอน ไรแดง อาหารสำเร็จรูป ทดแทน *ผู้รับผิดชอบ : ๑๐ หมู่ที่ ๔ ตู้ปณ.๗๑ ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง จ.ตรัง๙๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๗๕ ๒๗๐ ๖๔๐ e-mail : jinmahasawat@yahoo.com
บทคัดย่อ (EN): Suitable Nursing Periods of Ompok bimaculatus (Bloch,1797) Fry using Co-feeding of Water Flea Moina macrocopa (Straus, 1820) and artificial diet JintanaMahasawat 1* Jariya Palad-im2 Pradit Petcharoon3 Suwimon Seehirunwong4 and Amphorn Sakset5 1Inland Aquaculture Research and Development Center Zone 11 (Trang) 2Inland Aquaculture Research and Development Center Zone 12 (Songkhla) 3Yala Inland Fisheries Research and Development Center 4Patthalung Inland Fisheries Research and Development Center 5Inland Aquaculture Research and Development Center Zone 5 (Suratthani) Suitable Nursing Periods of Ompok bimaculatus (Bloch,1797) Fry using Co-feeding Of Moina and artificial diet, fry was determined in this experiment. Moina was used as live food. From fry to nursing was studied at Inland Aquaculture Research and Development Center Zone 12 (Songkhla) Center during October – November 2015. The experiment was designed into 4 treatments. Fish were fed with water flea period 30 days, replacing artificial diet at 15, 10 and 5 days old, and fed with the artificial diet through out the culture period. Fish larvae were cultured in 45x60x40 cm. glass aquarium for 30 days. Their initial length were 6.37?0.00, 6.37?0.00, 6.37?0.00 and 6.37?0.00 mm, respectively, initial weight were 0.0022?0.0000, 0.0022?0.0000, 0.0022?0.0000 and 0.0022?0.0000 g, respectively. The result showed that the growth of fish larvae fed with water flea 30 and 15 days was higher than fish larvae fed with water flea 10 days and 5 days to artificial diet .The average final length 48.35?1.85, 28.17?1.03, 30.28?3.33 and 32.70?7.82 mm. respectively the average final weight 0.8885?0.0966, 0.1678?0.0340, 0.1909?0.0649 and 0.2599?0.1396 g, respectively. and the average survival rate were 33.66?4.61, 30.66?6.42, 4.00?2.00 and 3.33?2.30 percent, respectively. The growth, survival rate treatment 1 and 2 was significantly different (p<0.05). The result period of replacing water flea 15 days is growth rates are bester than 10 and 5 days and survival rates treatment 1 and 2 is bester than treatment 3 and 4 based on the growth and survival rates generally showed 10 and 5 days of age after which the fish were fed with artificial diet to 30 days of age. Key words : Ompok bimaculatus (Bloch,1797) artificial diet Suitable Nursing Periods *Corresponding author: 10 Moo 4, P.O. 71,Na TohHmingTumbon, Muang District, Trang Province 92000 Tel. 0 7527 0640 e-mail :jinmahasawat@yahoo.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง
กรมประมง
31 มีนาคม 2559
กรมประมง
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาแขยงนวลด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาเทพาวัยอ่อนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลปลาซิวสุมาตราด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง รูปแบบที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาหลดด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ระยะเวลาที่เหมาะสมและต้นทุนการผลิตในการอนุบาลลูกปลาพลวงชมพู (Tor douronensis Val, 1842) ด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง การอนุบาลลูกปลาตะเพียนข้างลาย, Systomus johorensis (Duncker, 1904) โดยการใช้อาหารมีชีวิตร่วมกับอาหารสำเร็จรูป (ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะเพียนข้างลายด้วยอาหารสำเร็จรูป) ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะพัดด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด เพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต อาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาจาด ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาเทโพด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดทดแทนไรแดง การเพาะและอนุบาลปลาชะโอน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก