สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ณรงค์ ทูลสูงเนิน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณรงค์ ทูลสูงเนิน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบล- ราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ ของเกษตรกร สภาพการผลิตและการตลาด ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการผลิตยางพารา ประชากรในการศึกษาได้แก่ เกษตรกรที่ปลูกยางพาราในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 8 ตำบล จำนวนเกษตรกร 150 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2547 จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.5 ปี ระดับการศึกษา จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6 คน มีแรงงานเฉลี่ย 4 คน ไม่นิยมจ้างแรงงาน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 33.5 ไร่ มีพื้นที่สวนยางเฉลี่ย 24.5 ไร่ อาชีพหลักคือการทำนา รายได้เฉลี่ย 64,250 บาทต่อปี รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 52,500 บาทต่อปี เกษตรกรได้รับความรู้การปลูกและการดูแลรักษายางพาราจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีการยืมเงินเข้ามาลงทุน พันธุ์ยางพาราที่ปลูกคือ RRIM 600 ระยะปลูก 3 X 6 เมตร นิยมใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟตรองก้นหลุมก่อนปลูก มีการปลูกซ่อมต้นยางที่ตาย ตัดแต่งต้นยางพาราก่อนเปิดกรีด กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน ไม่นิยมปลูกพืชแซมและปลูกพืชคลุมดินในสวนยางพารา นิยมใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ทุกปี เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา และเปิดกรีดยางมาแล้ว 2 ปี จำนวนวันที่กรีดยางได้เฉลี่ย 125.5 วันต่อปี ผลิตยางแผ่นได้เฉลี่ย 4.5 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน ใช้ระบบการกรีดยางกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน เวลาที่เปิดกรีดไม่แน่นอน ไม่มีการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง มีการใช้ปุ๋ยเคมีหลังการเปิดกรีดปีละ 2 ครั้ง กำจัดวัชพืชโดยวิธีกลและใช้สารเคมี มีความรู้ในการทำยางแผ่นจากการฝึกอบรม ใช้ตะแกรงกรองน้ำยาง ใช้เครื่องจักรและน้ำบาดาลในการทำยางแผ่น มีการผสมน้ำกรดฟอร์มิกลงในน้ำยาง ทำความสะอาดแผ่นยางก่อนตากแดดและนำออกตากแดดประมาณ 1 - 2 วัน และผึ่งในร่มจนแห้ง ก่อนจำหน่ายจะคัดคุณภาพยาง นำไปจำหน่ายยังตลาดประมูลยาง โดยมีระยะทางจากบ้านถึงตลาดมากกว่า 30 กิโลเมตรและมีการรวมกลุ่มจำหน่าย มีปัญหาอุปสรรคในการผลิตยางพาราเล็กน้อยในเรื่องของเงินทุน โรคหน้ายาง และระยะทางจากบ้านถึงตลาดยางอยู่ไกล ข้อเสนอแนะ รัฐควรให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุนเนื่องจากเกษตรกรมีปัญหาด้านเงินลงทุนและควรจัดฝึกอบรมให้เกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรยังมีปัญหาโรคหน้ายาง ตลอดจนควรเปิดจุดแทรกแซงตลาดยางเพิ่มเพราะว่าตลาดจำหน่ายอยู่ไกลและเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราที่เปิดกรีดแล้วของเกษตรกรตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตยางพาราและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการปลูกและดูแลรักษายางพาราของเกษตรกรที่เปิดกรีดยางแล้วในจังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก