สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาแนวทางผลิตข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูป
เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแนวทางผลิตข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูป
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาแนวทางการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูปนี้ได้ทำการศึกษาเนื่องจากว่าข้าวโพดหวานได้เข้ามามีบทบาทในด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทยมากขึ้น แต่การผลิตของเกษตรกรนั้นยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม และเพื่อให้ทราบถึงสภาพการผลิตของเกษตรกรความต้องการของโรงงานแปรรูป และสามารถกำหนดแนวทางสำหรับการผลิตข้าวข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูป คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ขึ้น โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลสภาพการผลิตของเกษตรกรจากจังหวัดต่างๆ ที่มีขนาดพื้นที่ปลูกมากกว่า 5,000 ไร่ ทั่วประเทศโดยสุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน ซึ่งได้ตัวอย่างรวม 150 ราย และสัมภาษณ์เก็บข้อมูลด้านการผลผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณจากโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 7 ราย จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการผลิตที่ไม่ต่อเนื่องตลอดปี ใช้ปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ยังเป็นพันธุ์ผสมเปิด แหล่งปลูกยังกระจัดกระจาย วิธีการเก็บเกี่ยวแตกต่างไปจากคำแนะนำทางวิชาการ ทั้งการจำหน่ายผลผลิตยังใช้วิธีการจำหน่ายผ่านผู้รวบรวมในลักษณะคละไม่ได้คัดผลผลิต และนิยมจำหน่ายผลผลิตโดยการนับฝักมากกว่าการชั่งน้ำหนัก โรงงานมีความต้องการผลผลิตข้าวโพดหวานที่เพียงพอสม่ำเสมอตลอดปี ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตนั้น ได้แก่ ซุปข้าวโพด เมล็ดข้าวโพดหวานในน้ำเกลือ สำหรับปัญหาที่โรงงานพบได้แก่ คุณภาพของวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐาน ขาดดัชนีชี้วัดในการเก็บเกี่ยว และปริมาณวัตถุดิบที่เข้าโรงงานไม่สม่ำเสมอ จากข้อมูลทั้งภาคการผลิตของเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมแปรรูปที่กล่าวแล้ว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์แนวทางการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูป โดยมีแนวทางคือ เน้นให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มผู้ผลิตให้ได้ปริมาณที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของโรงงานมีการใช้ปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพดีและให้มีการจัดระบบการซื้อขายที่มีความสะดวก เช่นการใช้ระบบสินเชื่อ การกำหนดราคาซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนให้มีการวางแผนการผลิตการตลาดที่ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้เป็นอย่างดี สำหรับจังหวัดที่ผู้วิจัยได้พิจารณาเป็นแหล่งผลิตข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูปได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง ทั้งนี้เพราะมีที่ตั้งอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมและเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาแนวทางผลิตข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูป
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป การประยุกต์ใช้ไอโซโทปเทคนิคในการศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ปุ๋ยเพื่อการปลูกข้าวโพดหวานของประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดหวาน การใช้กากเมล็ดสบู่ดำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานฝักสด แนวโน้มการผลิตและพื้นที่เพื่อส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบส่งโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรกรณีศึกษา : ข้าวโพดหวาน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินลูกรังและเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน เทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าวโพดหวานในภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก