สืบค้นงานวิจัย
การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกจากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น
รัตนาภรณ์ ลีสิงห์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกจากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่อง (EN): Biodiesel production from high lipid green microalgae Chlorella isolated from freshwater in Khon Kaen Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนาภรณ์ ลีสิงห์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ratanaporn Leesing
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: งามนิจ นนทโส
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Ngarmnit Nontaso
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการผลิตลิปิดจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก Chlorella sp. KKU-S2 ด้วยการเพาะเลี้ยงแบบเฮเทโรโทรฟิคเมื่อใช้กลูโคสและน้ำตาลจากการย่อยแป้งมันสำปะหลังเป็นแหล่งคาร์บอนด้วยการหมักแบบกะในฟลาสก์ขนาด 2 ลิตร ปริมาตรอาหาร 1 ลิตร ให้ปริมาณเซลล์ 7.5 g/L ปริมาณลิปิด 3.08 g/L หรือ 41.0% โดยน้ำหนักเซลล์แห้งในวันที่ 8 ของการเพาะเลี้ยง ในขณะที่เมื่อใช้น้ำตาลจากการย่อยแป้งมันสำปะหลัง (Cassava starch hydrolysis; CSH) เป็นแหล่งคาร์บอนให้ปริมาณเซลล์ 7.12 g/L ปริมาณลิปิด 2.94 g/L หรือ 37.68% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง เมื่อเพาะเลี้ยงแบบกะเปรียบเทียบกับแบบกะป้อนพบว่าการเพาะเลี้ยงแบบกะป้อนสาหร่ายให้ปริมาณมวลเซลล์สูงกว่าการเพาะเลี้ยงแบบกะในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีกลูโคส 50g/L พบว่าได้ปริมาณเซลล์ 6.32 g/L ปริมาณลิปิด 2.74 g/L หรือ 43.24% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง ในขณะที่เมื่อเพาะเลี้ยงแบบกะป้อนที่น้ำตาลเริ่มต้น 50g/L ได้ปริมาณเซลล์ 7.0 g/L ปริมาณลิปิด 4.09 g/L หรือ 58.4% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง ส่วนเมื่อเพาะเลี้ยงด้วยการหมักแบบกะป้อนที่มีน้ำตาลกลูโคสเริ่มต้นที่ 25g/L พบว่าได้ปริมาณเซลล์ 10.2g/L ปริมาณลิปิด 5.02 g/L หรือ 49.6% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง เมื่อเพาะเลี้ยงด้วยน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งมันสำปะหลังด้วยการหมักแบบกะป้อนที่มีการเติมกลูโคสระหว่างการหมักได้ปริมาณเซลล์ 10.1 g/L ปริมาณลิปิด 4.68 g/L หรือ 46.75% โดยน้ำหนักเซลล์แห้ง เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของลิปิดหรือน้ำมันที่ผลิตโดยสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก Chlorella sp. KKU-S2 พบว่าประกอบด้วยกรดไขมันหลัก คือ กรดสเตียริก กรดโอเลอิกและกรดปาล์มิติก เมื่อศึกษาการผลิตไบโอดีเซลในรูปเอสเทอร์ของกรดไขมัน (fatty acid methyl etser: FAME) โดยใช้กรดซัลฟุริคเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 30๐C อัตราส่วนโมลของเมทานอลต่อน้ำมันเท่ากับ 50:1 ได้ปริมาณผลผลิตไบโอดีเซลเท่ากับ 61.5% ของน้ำหนักของน้ำมันที่ใช้ และเมื่อผลิตไบโอดีเซลโดยตรงจากเซลล์สาหร่ายแห้งที่ไม่ผ่านการสกัดลิปิดออกพบว่าได้ปริมาณไบโอดีเซลเท่ากับ 59.2% ของปริมาณน้ำหนักเซลล์แห้งของสาหร่ายที่ใช้
บทคัดย่อ (EN): The production of microalgal lipid from Chlorella sp. KKU-S2 under heterotrophic cultivation using glucose and cassava starch hydrolysate was performed in 2.0L-Erlenmeryer flask containing 1.0L of culture medium. Biomass and lipid achieved were 7.5g/L and 3.08 g/L with lipid content of 41.1%of cellular dry weight (CDW) using 50g/L glucose as carbon substrate, while a biomass of 7.12 g/L and 2.94 g/L of lipid with lipid content of 37.68%CDW were obtained using cassava starch hydrolysis as carbon substrate. Batch and fed-batch fermentation using 50g/L initial glucose were investigated, a biomass of 6.32 g/L and lipid of 2.74g/L with lipid content of 43.24%CDW were obtained in batch fermentation. And a biomass of 7.0g/L, lipid of 4.09g/L with lipid content of 58.4%CDW were obtained in fed-batch fermentation. Fed-batch fermentation with initial glucose at 25g/L glucose, a biomass of 10.2g/L and lipid of 5.02g/L with lipid content of 49.6%CDW were obtained. Whereas, fed-batch fermentation using cassava starch hydrolysis as carbon substrate with glucose fed, a biomass of 10.1g/L and lipid of 4.68g/L with lipid content of 46.75%CDW were obtained. Gas chromatography analysis revealed that lipids from Chlorella sp. KKU-S2 contained mainly stearic acid, oleic acid and palmitic acid. Biodiesel or fatty acid methyl ester (FAME) production was produce by transesterification of microalgal lipids using sulfuric acid as catalysts, the reaction was carried out at 30๐C with with the molar ratio of methanol to oil at 50:1, base on oil weight, FAME yields are obtain at 61.5% and 59.2% using extracted lipid and whole dry cell, respectively.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 237,500.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2552
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกจากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2552
การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกได้จากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น การคัดเลือกฟักทองเพื่อความหลากหลายของทรงผลและคุณภาพผลที่ดี การคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำมันสูงเพื่อการผลิตไบโอดีเซล การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไทยที่มีประสิทธิภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารสูง (โครงการปีที่ 2) การพรีทรีตเม้นต์สาหร่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดไขมันสำหรับการผลิตไบโอดีเซล การผลิต 1, 3-propanediol โดยกระบวนการตรึงเซลล์จากกลีเซอรอล ที่เป็นผลพลอยได้ของการผลิตไบโอดีเซล ผลของสายพันธุ์และสูตรอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิตลิพิดในสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กสกุล Chlorella การคัดเลือกสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กที่ผลิตลิปิดสูงจากตัวอย่างน้ำจืดในพื้นที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี การคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์ไลเปสจากดินในเขตพื้นที่อุบลรัตน์เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตไบโอดีเซล ทางเลือกในการใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของกลีเซอรีนจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก