สืบค้นงานวิจัย
โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2557
รัชนีวรรณ ตาฬุมาศสวัสดิ์ - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2557
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัชนีวรรณ ตาฬุมาศสวัสดิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีการประชุมการจัดทำแผนการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปีงบประมาณ 2557 ระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกับกองทัพอากาศ ครั้งที่ 1/2557 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการความ ร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวงกับกองทัพอากาศ ในโครงการการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้น มการปฏิบัติการฝนหลวงเมมอุ่น ปี 2557 โดยที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นผู้สนับสนุ และได้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่งกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการฝนหลวง เมมอุ่น เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่นใช้เครื่องบิน AU-23A ของกองทัพอากาศ และเพื่อนำผลงานวิจัยพลุสารดูดความชื้นไปใช้ประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาการนำพลุสารดูดความชั้นมาใช้ร่วม ในการปฏิบัติการฝนหลวง โดยตั้งฐานปฏิบัติการที่ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบดีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน - 14 กันยายน 2557 การทำฝนเมฆอุ่น คือ การใช้ผงสารดูดความชื้น (Hiygroscopic Particles) ที่มีลักษณะเป็นฝุ่นผงละเอียด ช่วยเสริมกระบวนการเกิดเมฆและฝน การดำเนินการที่ผ่านมา ทำโดยบดและอบให้เป็นฝุ่นผงแห้ง บรรจุถุง แล้วนำขึ้นโปรย จากเครื่องบินออกสู่อากาศ หรือเข้าไปในกลุ่มเมม เพื่อเสริมกระบวนการเกิดเมฆและฝนดังกล่าวข้างต้น แตในทางปฏิบัติ สารที่ผ่านการบดและอบ บางส่วนยังมีขนาดอนุภาคใหญ่เกินไป ทำให้ต้องใช้ปริมาณมากเพื่อทดแทนสารที่สูญเสียขณะโปรย และตกลงมาพันก้อนเมฆเร็วเกินไปด้วยปริมาณที่มาก จำเป็นต้องใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ในการทำฝน ดังนั้น กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงได้พยายามหาวิธีปรับปรุง โดยพบว่าปัจจุบันการทำฝนเมมอุ่นในต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐ แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ใช้พลุสารดูดความชื้น (Hygroscopic Fare) ซึ่งเป็นการเผาไหม้สารทำฝนมมอุ่น เช่น เกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ ให้อนุภาคของเกลือที่ถูกเผาไหม้ เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวของเม็ดฝน ความแตกต่างระหว่างวิธีตรทำฝนแบบโปรยสารที่บดและอบแล้ว กับวิธีการใช้พลุสารดูดความชื้น คือ วิธีการโปรยสารดูดความชื้นขนาดใหญ่ ดังเช่น ขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน จะทำให้เกิดการข้ามชั้นตอนการเปลี่ยนแปลง โดยธรรมชาติ เกิดหยดน้ำเริ่มต้น (Raindrop Embryo) ขึ้น ซึ่งจะเกิดการรวมตัวเป็นหยดน้ำขนาดโตขึ้นต่อไป ส่วนในกรณี การใช้อนุภาคที่ถูกเผาไหม้ของพลุสารดูดความชื้น อนุกาคของสารที่ถูกเผาไหม้จะมีขนาดเล็ก (ประมาณ 0.5-3.0 ไมครอน) อนุภาคขนาดนี้จะทำหน้าที่เพิ่มปริมาณแกนกลั่นตัวให้มีความแตกต่างของอนุภาดในมฆมากขึ้น เนื่องจากอนุภาคของสารที่ ถูกเผาไหม้ที่เกิดจากพลุมีขนาดใหญ่กว่าอนุกาคแกนกลั่นตัวในธรรมชาติ จึงไปเพิ่มความแตกต่างของขนาดอนุกาคให้มีมาก ขึ้น หรือเรียกว่ามีการกระจายเชิงขนาดที่กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการเสริมกระบวนการชนกัน/รวมตัวกันของหยดน้ำ (Collision-Coalescence Process) เกิดได้ดีขึ้น ดูเพิ่มในไฟล์แนบ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: http://164.115.23.116:8060/Frontend/download?DocumentID=50&fileIndex=0&originalFileName=30%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%202557.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ประจวบคีรีขันธ์
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2 มิถุนายน - 14 กันยายน 2557
เผยแพร่โดย: กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2557
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
โครงการปฏิบัติการวิจัยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวง ปี 2556 โครงการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานพลุสารดูดความชื้น สูตร “แคลเซียมคลอไรด์” เพื่อใช้เสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น การพัฒนาโครงร่างการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการประยุกต์ผลการวิจัยฝนหลวงในการปฏิบัติการฝนหลวงของศูนย์ฝนหลวงประจำภาค การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม SMMS เพื่อการปฏิบัติการฝนหลวง ของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง โครงการวิจัยและพัฒนาพลุสารดูดความชื้นเพื่อใช้เสริมการปฏิบัติการเมฆอุ่น สูตร “โซเดียมคลอไรด์” โครงการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานพลุสารดูดความชื้น สูตร “แคลเซียมคลอไรด์" และ "โซเดียมคลอไรด์" เพื่อใช้เสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น โครงการทดสอบประสิทธิภาพพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น ปี 2554

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก