สืบค้นงานวิจัย
แนวทางการผลิตและการตลาดลำไยในจังหวัดเชียงราย
สวัสดิ์ สมวรรณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: แนวทางการผลิตและการตลาดลำไยในจังหวัดเชียงราย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สวัสดิ์ สมวรรณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนเป็นผลไม้ที่มีรสหวานอร่อย และมีกลิ่นหอม นอกจากจะมีการบริโภคภายในประเทศแล้วยังมีการส่งออกไปต่างประเทศ ทั้งในรูปลำไยสดและแปรรูป เป็นพืชที่ทำรายได้ให้กับประเทศปีละหลายร้อยล้านบาทอย่างไรก็ตามการผลิตลำไยก็ยังมีปัญหาในเรื่อง ปริมาณผลผลิตแต่ละปีไม่แน่นอน อีกทั้งราคาลำไยก็มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดซึ่งการศึกษาครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับเป็นแนวทางการผลิต และการตลาดลำไยให้มีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้น พื้นที่ปลูกลำไยในจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2539 มีเนื้อที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 22,626 ไร่ เป็นเนื้อที่ให้ผลแล้ว 19,831 ไร่ ยังไม่ให้ผล 2,795 ไร่ แหล่งผลิตใหญ่อยู่อำเภอพาน,เทิง,ป่าแดด และเชียงแสน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 900 กิโลกรัม สำหรับพันธุ์ที่ปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์อีดอ ปริมาณร้อยละ 60-70 สำหรับปัญหาทางด้านการผลิตนั้น คือ ผลผลิตไม่สม่ำเสมอและผลผลิตต่อไร่ต่ำ เนื่องจากไม่ได้มีการบำรุงรักษา ลำไยไม่ค่อยมีคุณภาพ โรคแมลงระบาด และการเก็บเกี่ยวที่ขาดหลักวิชาการ ทำให้กิ่งลำไยหัก และบอบช้ำ ส่วนในด้านการตลาดที่เป็นปัญหาใหญ่ คือ เกษตรกรไม่ซื่อตรงไม่ มีวินัย โดยผสมลำไยหลาย ๆ เกรดในกล่องเดียวกัน ทำให้เสียราคา อีกทั้งราคาลำไยมีความแปรผันสูง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถวางแผนที่จะขายได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาหลักๆ คือ ควรมีการส่งเสริมให้มีการผลิตเพื่อการส่งออก โดยคัดเลือกพันธุ์ดี เน้นด้านคุณภาพ และมีการอบรมแนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการปฏิบัติดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว และที่สำคัญเกษตรกรและพ่อค้าจะต้องมีคุณธรรมในการซื้อ-ขาย โดยไม่มีการผสมลำไยหลาย ๆ เกรดรวมกัน เพื่อรักษาระดับราคาและชื่อเสียงของพ่อค้าและผู้ขายลำไย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเชียงราย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางการผลิตและการตลาดลำไยในจังหวัดเชียงราย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2539
สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การทดสอบระบบการผลิตลำไยแบบพุ่มเตี้ยในแปลงเกษตรกรจังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์แนวทางการจัดระบบการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ปี 2537-2541 การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาการผลิตลำไยในเขตภาคตะวันออก การผลิตและการตลาดส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการผลิตลำไยอินทรีย์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก