สืบค้นงานวิจัย
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ควบคุมเชื้อรา Aspergillus flavus และสารพิษแอฟลาทอกซินในข้าวโพความชื้นสูง
วีระวัฒน์ นิลรัตนคุณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ควบคุมเชื้อรา Aspergillus flavus และสารพิษแอฟลาทอกซินในข้าวโพความชื้นสูง
ชื่อเรื่อง (EN): Suitable Time of Using Carbon dioxide Fumigationfor Controlling Aspergillus flavus and aflatoxin Contamination in High Moisture Maze
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระวัฒน์ นิลรัตนคุณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Werawat Nilrattanakoon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วันเพ็ญ ศรีทองชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Wamphen srithongchai
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ได้ศึกษาประสิทธิภาพและระยะเวลาที่เหมาะสม ของการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รมกองข้าวโพด ความชื้นสูง หลังจากการกะเทาะในระยะเวลาต่าง ๆ กัน เพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อราและการเกิดสารพิษแอฟลาทอกซินเป็นการชั่วคราว ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2536 และ 2537 โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อัตรา 0.5 กก./เมล็ด 1 ตัน รมกองข้าวโพดที่คลุมด้วยผืนพลาสติกหลังจากการกะเทาะ 0,24, 48 และ 72 ซม. เป็นเวลา 5 วัน ผลการทดลอง พบว่า การรมด้วยก๊าซ CO2 ภายในระยะเวลา 48 ชม. หลังการกะเทาะ สามารถป้องกันและระงับการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus และการเกิดของสารพิษแอฟลาทอกซินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณภาพของเมล็ดไม่เปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิในกองข้าวโพดจะลดลงหลังจากเริ่มรมก๊าซ ในขณะที่ข้าวโพดที่กองไว้ในสภาพบรรยากาศปกติถูกเชื้อรา A. flavus เข้าทำลายทั่วทั้งกอง ปริมาณการปนเปื้อนของสารพิษแอฟลาทอกซิน และอุณหภูมิในกองเพิ่มสูงขึ้น เมล็ดจับตัวกันเป็นก้อนและมีกลิ่นเหม็นหืน
บทคัดย่อ (EN): The experiment on starting time of carbob dioxide fumigation for controlling fungal growth and aflatoxin contamination of high moisture maize was carried out at Nakhon Sawan field Crops Research Center in 1993 and 1994. After shelling 0, 24, 48, and 72 hours, the rate of CO2 at 0.5 kg per ton was used to fumigate the grain bulks precedingly covered by plastic sheets respectively. Five days after fumigation, it was found that the fumigation performed within 48 hours gave effective controlled on Aspergillus flavus and aflatoxin contamination. The grain quality and apperance were not changed. temperatures in the bulks were reduced after the application of CO2. The non-fumigated grain bulk was severly infected by A. flavus. Aflatoxin contamination and grain temperature in the bulk significantly increased.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2542
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ควบคุมเชื้อรา Aspergillus flavus และสารพิษแอฟลาทอกซินในข้าวโพความชื้นสูง
กรมวิชาการเกษตร
2542
เอกสารแนบ 1
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว การประยุกต์ใช้วิธีพื้นผิวตอบสนองในการทำนายอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillus section Flavi ที่สร้างสารอะฟลาทอกซิน: ผลของปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การป้องกันเชื้อราและปลวกบนไม้ยางพาราโดยใช้สารธรรมชาติ การยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus และลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินโดยสารออกฤทธิ์จากกระเทียม สารอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว สารอาลีโลพาธิกจากเปลือกส้มเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก